ไอทีตามวิถึพอเพียง


ความพอเพียง

              เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ

              ความพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ  ให้คนไทยทุกคนสามารถมีสิ่งต่าง ๆ เพียงพอสนองความต้องการเบื้องต้นหรือมีปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต  ถ้าทรัพยากรและความสามารถมีเพียงพอจะผลิตและบริโภคเกินบ้างนั้นก็ได้  เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า แม้บางอย่างจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข  ถ้าทำได้ควรทำ  ก็สมควรที่จะปฏิบัติ  โดยหมายถึงคนไทยทุกคนควรมีทุกอย่างครบตามที่ร่างกายต้องการก่อนบางคนหรือบางกลุ่มจะมีบางสิ่งเกินความจำเป็น  จนถึงระดับฟุ่มเฟือยและฟุ้งเฟ้อ  พยายามก่อหนี้ให้น้อยที่สุดและควรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย  และพอใจในสิ่งที่ได้รับมาโดยชอบธรรม  ไม่ฟุ้งเฟ้อ  ฟุ่มเฟือย เพื่อให้รายจ่ายไม่เกินรายรับ          

              ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย  สังคมจึงรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น  โทรทัศน์  โทรสาร  โทรศัพท์  โทรศัพท์เคลื่อนที่  ฯลฯ  เทคโนโลยีปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน  โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ท  (Internet)  ซึ่งทำให้โลกปัจจุบันไร้พรหมแดนและแคบลง  ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวอาจจะไม่เกิดผลดีต่อบางคน  หากไม่รู้จักพอประมาณ    ที่นี้จะขอยกตัวอย่างการมีโทรทัศน์ในแต่ละบ้าน  ซึ่งหาซื้อและมีใช้กันได้อย่างแพร่หลาย ทำให้คนทั่วไปได้รับประโยชน์ในด้านข่าวสารและความบันเทิง อย่างไรก็ตามยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีโทรทัศน์เกินพอดี  กล่าวคือ  มีอยู่แล้วและยังใช้งานได้ดีอยู่ก็ยังจะเปลี่ยนใหม่โดยวิ่งตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  เช่น  มีโทรทัศน์จอธรรมดาอยู่แล้วและยังใช้งานได้ดี  ก็หาเปลี่ยนใหม่เป็นจอแบน  หรือ จอ  LCD  และขนาดจาก  21 นิ้ว  เป็น  25  นิ้ว  เป็น  29  นิ้ว ฯลฯ  และบางบ้านมีโทรทัศน์ทุกห้อง  นั่นก็หมายความว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น  บางคนมีรายได้น้อยก็ยังหากู้หนี้ยืมสินไปซื้อ  หรือแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ที่มีบัตรเครดิตใช้กันเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง  เป็นการสร้างหนี้สินโดยไม่จำเป็น  ซึ่งไม่เป็นการพอเพียงและพอดี ตามความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้

              1.  ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไป  และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ             

              2.  ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

              3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

อ้างอิง 

        1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. WWW.sufficiencyeconomy.org.

        2.เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ? คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549.

       3.กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์.วรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, 2546.

 

หมายเลขบันทึก: 99065เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท