บังเอิญ หรือ???.... ฝน..(ตอนที่ 3)


                เมื่อวานนั่งคุยกับน้องๆที่โรงเรียน(สุขสวัสดิ์) ก็เกิดคำถามชวนสงสัยขึ้นมา คือ ทำไมฝนถึงตกทุกเย็น ทั้งๆที่ตอนกลางวันฟ้าสว่างสดใส แต่พอค่ำก็จะมืดสนิทและมีฝนตามลงมาทันทีและตกหนักด้วย เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายวันแล้ว(เกือบครึ่งเดือน) ที่เป็นแบบนี้มันเกิดขึ้นโดยบังเอิญไหม ถ้าบังเอิญทำไมมันช่างบังเอิญหลายวัน พวกน้องๆก็เลยสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คือสิ่งหนึ่งที่จะยืนยันได้ว่าพระเจ้ามีจริง และลักษณะที่ฝนตกแบบนี้ต้องมีผู้จัดการอย่างแน่นอน และผู้ที่จัดการนั้นเป็นอื่นไม่ได้ คือ พระผู้เป็นเจ้า ..อัลลอฮฺ الله

 

แผนที่อากาศ จะเห็นว่าตอนเที่ยงท้องฟ้าสว่างสดใสมากแต่พอตกเย็นฝนตกชุกมากวันนี้จึงขอพูดเรื่องฝนในอัลกุรอานต่อ

                อัลลอฮฺได้ตรัสในซูเราะฮฺ อัร-รูม  อายัตที่  48 ว่า

 اللَّهُ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ فَتُثِيرُ سَحَاباً فَيَبْسُطُهُ فِي السَّمَاء كَيْفَ يَشَاءُ
وَيَجْعَلُهُ كِسَفاً فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ
فَإِذَا أَصَابَ بِهِ مَن يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ إِذَا هُمْ يَسْتَبْشِرُونَ

           ความว่า : อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ส่งลม แล้วนำพาเมฆ(ให้เคลื่อนที) แล้วพระองค์ทรงให้มันแผ่กระจายไปตามท้องฟ้า ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงทำให้มันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าจะเห็นฝนตกลงมาจากกลางเมฆนั้น เมื่อมันได้ตกลงมายังผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ เมื่อนั้นพวกเขาก็ดีใจ

                   ลมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเกิดฝน และในอายัตนี้ให้แจ้งให้เราทราบว่า อัลลอฮได้ส่งลมเพื่อผลักดันให้กลุ่มละอองน้ำ จากที่ได้ระเหยจากแหล่งน้ำต่างๆ ให้เคลื่อนที่ ช้าบ้างเร็วบ้าง กระจ่ายไปทั่วท้องฟ้า แต่มันจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกมาสู่พื้นดินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ เพราะในบางครั้งเราอาจเห็นเมฆมืดสนิทแต่ไม่มีฝน แต่บางวันสว่างสดใสอยู่ๆก็มีฝนตกลงมา


ลมจะพัดไอน้ำจากกลางทะเลเข้าสู่พื้นดิน           

               และจากอายัตนี้ทำให้เราทราบได้อีกว่าในท้องฟ้านั้นนอกจากจะมีเมฆแบบกลุ่มก้อน  (ركام) หรือที่เรียกว่า เมฆคิวมูลัส” (Cumulus)  ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ 2 ในอายัตนี้อัลลอฮฺได้ใช้คำว่า يبسطه แปลว่า ทำให้มันเรียบ นั้นหมายถึงลักษณะของเมฆที่ไม่ใช่กลุ่มก้อนเหมือนในอายัตที่แล้ว แต่เป็นเป็นเมฆที่เป็นแผ่น เรียกว่า بساطة (บะซาเตาะฮฺ) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อเมฆสเตรตัส” (Stratus)

 

เมฆ คิวมูลัส Cumulus ركام

 

เมฆ สเตรตัส Stratus بساطة

          ในตอนท้ายของอายัตเป็นการยืนยันความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของพระองค์ ด้วยการส่งน้ำมาให้ ซึ่งจำนวนน้ำที่พระองค์ส่งมาให้นั้นไม่สามารถที่จะเสาะแสวงหาได้ที่อื่น ดังนั้นทุกคนจะมีความสุขมากเมื่อได้รับน้ำฝนที่ตกมาจากฟ้ากฟ้า เว้นแต่อัลลอฮฺจะส่งมาเพื่อการลงโทษ

หมายเลขบันทึก: 98938เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท