หลักของพระพุทธศาสนา


ความจริง, คือวิธีการ (How), ในระบบชีวิตของชาวพุทธนั่นเอง จึงมีฐานะเป็น เทคโนโลยี และ ไม่ใช่ นวัตกรรม ตามความหมายที่กล่าวแล้วข้างต้น ตรงนี้คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะคนมักคิดแยกเอาธรรมะออกจากระบบทาง

 พูดไปพูดมาท่านผู้รู้ทั้งหลายทั้งไทยและเทศต่างก็ยอมรับว่าคำสอนของพระพุทธองค์ล้วนเป็น  วิทยาศาสตร์  สามารถพิสูจน์ได้ทั้งสิ้น  ฟังแล้วก็งง  แล้วไฉนธรรมะของพระพุทธองค์จึงจะเป็นยิ่งกว่าเทคโนโลยี
ลองพิจารนาเรื่องอริยสัจ  ๔  เปรียบเทียบกับ  วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ดูก็ได้ เพราะต่างก็เป็นวิธีคิดด้วยกัน  ต่างแต่ว่าอริยสัจ  ๔  เป็นของตะวันออก  วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นของตะวันตก  และดูให้ดีๆอันไหน  น่าจะเป็นหลัก  อันไหนค่อนไปทางเป็นคำอธิบาย

 อริยสัจ  ๔

 วิธีการทางวิทยาศาสตร

 ทุกข์                    ต้องกำหนดร

 ปัญหา              ต้องกำหนดให้ชัดเจน

 สมุทัย                  ต้องละ

 สมมุติฐาน       ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับปัญหา

 นิโรธ                   ต้องทำให้แจ้ง

 รวบรวมข้อมูล ต้องทำให้ครบถ้วนถูกต้องเพียงพอ

 มรรค                   ต้องเจริญ  (ทำให้เกิดขึ้น)

  วิเคราะห์ข้อมูล ต้องถี่ถ้วนเชื่อถือได้

 

 สรุป  นำผลการศึกษาไปทดลองใช้

   

ตัวอย่างในภาพวิดีโอเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องอย่าเอาอย่าง  
                                                                          
จะเห็นว่าอริยสัจ  ๔  มี  ๔  ขั้นตอนระบุชัดจากผล (ทุกข์)  -  เหตุ  (สมุทัย)    ผล  (นิโรธ)  -  เหตุ  (มรรค)  สม

กับที่กล่าวว่าผลทั้งหลายเกิดมาแต่เหตุ  จะเกิดขึ้นลอยๆไม่ได้
ด้านวิธีการวิทยาศาสตร์ก็เริ่มจากเหตุ  (ปัญหา  - ทุกข์)เหมือนกัน  แต่พอมาถึงสมมุติฐาน  (ผล)  ก็เป็นผลที่สมมุติขึ้น

เพียงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเท่านั้น  ขั้นที่สามคือ  การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนถูกต้องแลเพียงพอ  

เพื่อนำไปสู่ขั้นที่  ๔  การวิเคราะห์ข้อมูล  ซึ่งทั้งสองขั้นนี้สำคัญมาก  ถ้าได้ข้อมูลมาไม่ถูกต้อง  ไม่ครบถ้วนเพียงพอก็ดี  

ใช้วิธีการวิเคราะห์ไม่ดีพอก็ดี  การสรุปผลในขั้นที่  ๕  ก็จะเชื่อถือไม่ได้ด้วย  หรือเมื่อข้อมูลในขั้นที่  ๓  เปลี่ยนแปลงไป  

ผลการดำเนินการในขั้นที่  ๔  -  ๕  ย่อมใช้ไม่ได้ด้วย  และโดยธรรมชาติที่แท้จริงการเลื่อนไหล  คืบเคลื่อน  การ

เปลี่ยนแปลง  ของข้อมูลย่อมเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และดับไปตามกฎของไตรลักษณ์อยู่แล้ว  ฉะนั้นผลสรุปความรู้ในทางวิทยาศาสตร์  จึงมักจะถูกล้มล้างด้วยทฤษฎีใหม่ๆอยู่เสมอ

 อริยสัจ  ๔  บุคคลทั่วไปนำไปใช้ในกิจการต่างๆอย่างกว้างขวางมากมาย  ในวงการศึกษาและทางราชการใช้ในการเขียนโครงการ


ต่างๆมากที่สุด  โดยที่ผู้เขียนโครงการนั้นๆมักจะไม่รู้ว่ารูปแบบของโครงการที่ตนเขียนต้องเขียนตาม  แบบอริยสัจ  ๔  


เลยก็ได้  ฉะนั้นถ้าเอาโครงการทางการศึกษา  หรือโครงการของทางราชการมาวิเคราะห์ตามหลักอริยสัจ  ๔  จะเห็นว่ามี

ข้อที่ไม่สมเหตุ  -  ผล  อยู่มาก  เพราะผู้เขียนโครงการไม่เข้าใจว่าตนต้องเขียนโครงการนั้นตามหลักของอริยสัจ  ๔  

ประการหนึ่ง  และอีกประการหนึ่ง  ผู้เขียนโครงการเป็นเพียงเจ้าหน้าที่  ไม่ใช่ผู้บริหารเจ้าของงาน  จึงเขียนโครงการ

ตามรูปแบบ  ฝรั่งสอนมาอย่างไร  ก็ทำตามแบบเขาก็แล้วกัน  โครงการมักจะสำเร็จด้วยดีเสมอ  เพียงแค่ผู้มีอำนาจอนุมัติ

โครงการเท่านั้น  หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ใช้เพียงสามัญสำนึกในการทำงานที่คิดว่าเป็นงานของโครงการนั้นๆ

จุดที่บกพร่องมากที่สุดของโครงการของทางราชการเริ่มจากขั้นหลักการและเหตุผลเลยทีเดียว  แทนที่ขั้นนี้จะระบุ  ทุกข์  

หรือปัญหาและสมุทัย  หรือสาเหตุของทุกข์/ปัญหา  ให้ถูกต้องชัดเจน  เป็นจริง  เท่ากับความจริงแล้ว  ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่เขียนโครงการจะยกเมฆ  เพ้อฝันเอาเอง  ซึ่งไม่ใช่ความจริงที่จะต้องแก้ไขให้หมดไปแต่อย่างใด  ข้อบกพร่องข้อที่สองคือ  


การกำหนดความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์  แท้ที่จริงขั้นนี้เป็นขั้น   นิโรธ  เป็นผลที่ต้องการที่จำเป็นต้องกำหนดให้ชัดซึ่งตรงกับคำว่า  “ต้องทำให้แจ้ง”  ว่าต้องการผลอะไร  เท่าใด  มีมาตรฐานแค่ไหน  ซึ่งผลนี้ต้องเท่าๆกับ  ทุกข์หรือปัญหา

 ในขั้นหลักการและเหตุผลข้างต้นนั่นเอง  แต่โครงการของทางราชการมักจะกำหนดความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์มาก

มายหลายข้อ  จนเกินเหตุ  พูดตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า  “โม้”  เพื่อจูงใจให้ดูขลังไปอย่างนั้นเอง  โดยลืมไปว่า  ความ

มุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์  นี้คือผลที่จะต้องได้มาจาก  มรรค  หรือวิธีการที่จะให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ในข้อ  วิธี

ดำเนินการ  นั่นเอง  เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุเป็นผลที่พอดีกันอย่างเป็นลูกโซ่ตลอดสาย  พอมาถึงขั้นตอนนี้  โดยเฉพาะใน

งานวิจัยต่างๆ  วิธีการทางวิทยาศาสตร์  สามารถนำมาใช้เสริม  วิธีอริยสัจ  ๔  ให้ชัดเจนและเป็นระบบระเบียบที่เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น  แต่ไม่ค่อยใช้กันเพราะมัวแต่ไปยึดมั่นถือมั่นว่า  “วิธีใครวิธีมัน”  อย่างหนึ่ง  วิธีที่ตัวนับถือดีกว่าวิธีอื่นอย่างหนึ่ง  และสุดท้ายมักจะคิดว่าความคิดของตะวันตกเข้ากับความคิดทางตะวันออกไม่ได้  เป็นซะอย่างนี้ก็มี  อย่างไรก็ตามหลังจากขั้นตอนที่เรียกว่า  “วิธีดำเนินการ”  เช่น ใช้สถานที่ที่ไหน  ใช้เวลานานเท่าไร   ใช้งบประมาณอย่างไรเท่าใด  วัดผลสำเร็จได้โดยวิธีใด  ใครรับผิดชอบ  และผลที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นอย่างไร  ตามรูปแบบของโครงการที่เคย

เขียนกันมา  ล้วนอยู่ในขั้นตอนของ  “มรรคหรือวิธีดำเนินการ”  ทั้งนั้น  พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า  ถ้าคิดและปฎิบัติตาม  “อริยสัจ  ๔”  นี้ได้ถูกต้องจริงจัง  ก็รับประกันได้ว่าจะได้รับความสำเร็จอย่างแน่นอน  และเป็นวิธีการที่สมบูรณ์แบบที่สุด  จนไม่มีผู้ใดไม่ยอมรับ  หรือโต้แย้งได้  จึงถือได้ว่า  “อริยสัจ  ๔”  เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำค่าอยู่คู่สังคมไทยมาแล้วอย่างช้านาน...

หมายเลขบันทึก: 98720เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2007 00:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เรียนคุณวรรธนชัย ที่นับถือ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผมมีมุมมองเพิ่มเติมครับ ผมเห็นด้วยในประเด็นความเหมือนของอริยสัจจ์สี่กับวิทยาศาสตร์ว่าเป็นวิธีคิดเชิงระบบด้วยกันทั้งคู่ แต่ข้อแตกต่างระหว่างอริยสัจจ์สี่กับวิทยาศาสตร์ก็มีนะครับ คือวิธีการเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่เป้าหมายครับ วิทยาศาสตร์ ศึกษาในเรื่องของวัตถุและต้องการเอาชนะธรรมชาติ แต่อริยสัจจสี่ ศึกษาในเรื่องของจิตใจ และต้องการเอาชนะใจตนเอง ถ้าเราไม่กล่าวถึงประเด็นนี้เราอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันได้ครับ และมีอีกเรื่องครับในประเด็นที่ว่าอรัยสัจเป็นเทคโนโลยี ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ ตามความเข้าใจของผม ผมว่าเทคโนโลยี่ ใช้ในเรื่องของวัตถุครับ ผมเข้าใจว่าเทคโนโลยี คือ เราจะนำเทคนิคหรือวิธีการใดใช้ประโยชน์จากวัตถุให้มีประสิทธิภาพ โดยประหยัดแรง ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน ดังนั้นผมว่าอริยสัจไม่น่าจะใช่เทคโนโลยี เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ หรืออาจจะมีเทคโนโลยีทางจิตใจหรือเปล่า อันนี้ผมไม่แน่ใจ ขอบคุณครับ
ตัวนู๋เองก็ไม่ค่อยจะรู้อะไรมากนักเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่นู๋อยากรู้เกี่ยวกับนิโรธให้มากกว่านี้อะค่ะ เพราะว่านู๋จะต้องทำรายงานส่งอาจารย์นะคะ ยังไงก็ช่วยตอบให้หน่อยนะคะทางอีเมลล์ของนู๋ [email protected] ยังไงก็ช่วยส่งคำตอบให้นู๋ด้วยนะคะถ้าไม่เป็นการรบกวน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท