ในแต่ละปีเราได้ทำโครงการต่างๆมากมาย แต่โครงการเหล่านั้น เราไม่ได้เขียนออกมาเป็นรายงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ บางโครงการเพียงสรุปผล 2-3 หน้า เสนอรายงาน ซึ่งในรายงานสรุปว่าได้ผลดีอยู่ในระดับมาก ดีมาก กันทั้งนั้น ที่จริงอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ บางโครงการคาดเดาได้เลยว่าต้องมีผลออกมาเช่นนั้น องค์วามรู้ที่ได้จากโครงการไม่ปรากฏ จึงน่าเสียดายโอกาส และเวลา งบประมาณที่ศูนย์ไป โครงการที่เราทำมันเป็น research ได้ ทำไปเก็บข้อมูลไป เป็นขั้นตอน แม้แต่โครงการสัมมนาต่างๆ หากมี กิจกรรมต่อเนื่องจากการสัมมนา(การทำความเข้าใจและจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมาย) ขอให้ทีมวิจัยวางแผนการทำกิจกรรมวิจัย (สัมภาษณ์ จัดประชุม ดูงาน เก็บข้อมูลจากเอกสาร สังเกตการณ์ในพื้นที่ ฯลฯ) และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ขอให้สรุปกระบวนการ เนื้อหาที่ได้ รวมทั้งข้อค้นพบอื่น ๆจัดแฟ้มไว้อย่างเป็นระบบทั้ง รายชื่อผู้เข้าประชุม รูปภาพประกอบ เป็นต้น การวางแผนจัดระบบข้อมูลทั้งข้อมูลดิบและการวิเคราะห์ที่ได้จากกิจกรรมวิจัยทุกขั้นตอน จะช่วยให้ผู้บริหารโครงการเขียนรายงานผลการดำเนินงานในเชิงวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ สร้างองค์การความรู้ให้เกิดขึ้นในองค์การ เป็นแนวทางในการศึกษา ขยายผลต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย นิธิธัช กิตติวิสาร ใน วิจัยและพัฒนา
เห็นด้วยกับแนวคิดอาจารย์ องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยของแต่ละคนแต่ละโครงการวิจัยหนึ่งน่าจะได้มีการ share และ learn ไปยังบุคคลอื่นในโครงการวิจัยเดียวกันหรือโครงการวิจัยอื่น คนอื่นก็จะได้เรียนรู้จากโครงการวิจัยต่างๆโดยไม่ต้องทำวิจัยเอง
เรียนอาจารย์ว่า มีชุดโครงการวิจัยและพัฒนาครูของเครือข่ายราชภัฏ ปี 48 กำลังจะทดลองทำตามแนวคิดที่อาจารย์เสนออยู่ครับ