โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

การดูแลผู้ติดสารเสพติด


drug abuse

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น  วัยเรียนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต  การบำบัดและดูแลรักษาที่ถูกต้อง  รวมทั้งทัศนคติในกรดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือผู้ติดยาเหล่านี้

ประเภทสารเสพติด

ประเภทของสารเสพติด แบ่งเป็น  2  กลุ่ม ตามความจำเป็นในการให้การดูแลช่วยเหลือ

1. กลุ่มที่ไม่มีสมองติดยา การช่วยเหลือเน้นที่ความสมัครใจ  และการมีส่วนร่วมของครอบครัว

2. กลุ่มที่มีสมองติดยาเน้นการป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาจากภาวะสมองติดยา 

ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาการเสพติด

1. สร้างความร่วมมือกับผู้ป่วยและญาติ

2. การถอนพิษยา

3. ลดอาการถอนยาให้เหลือน้อยที่สุด

4. พัฒนาทักษะการเผชิญปัญหา/แก้ปัญหา

5. การป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย6. การป้องกันการเสพซ้ำ 

ความเป็นไปได้ในการเลิกยา

1. มั่นใจว่าเลิกได้  ในเวลานานเท่าใด

2. มีวิธีจัดการเมื่อเกิดอาการอยาก/ความกลุ้มใจ  โดยไม่พึ่งยา

3. ถ้าพ่อแม่/ครูไม่ทราบว่าเสพยา สารภาพความจริงได้    พิสูจน์ตนเองได้ ถ้าพ่อแม่/ครูสงสัย ไม่เชื่อเรื่องหยุดเสพ

4. หลีกเลี่ยงเพื่อนที่เสพยาได้ ปฏิเสธได้เมื่อถูกชวน   รักษา    สัมพันธภาพได้โดยไม่เสพยาอีก 

ความเป็นไปได้ในการเลิกยา

1. มั่นใจว่าเลิกได้  ในเวลานานเท่าใด

2. มีวิธีจัดการเมื่อเกิดอาการอยาก/ความกลุ้มใจ  โดยไม่พึ่งยา

3. ถ้าพ่อแม่/ครูไม่ทราบว่าเสพยา สารภาพความจริงได้    พิสูจน์ตนเองได้ ถ้าพ่อแม่/ครูสงสัย ไม่เชื่อเรื่องหยุดเสพ

4. หลีกเลี่ยงเพื่อนที่เสพยาได้ ปฏิเสธได้เมื่อถูกชวน   รักษา    สัมพันธภาพได้โดยไม่เสพยาอีก 

สาเหตุสมองติดยา

1. เสพยาบ้าเป็นเวลานานหรือเสพปริมาณมาก

2. เสพยาเสพติดหลายชนิดที่มีผลต่อสมองได้แก่  กาว      สุรา  ยาบ้า กัญชา

3. มีปัญหาทางสมองอยู่ก่อนเสพยา  เช่น สมาธิสั้น  สมอง    เคยกระทบกระเทือนรุนแรงมาก่อน โรคทางสมอง      Bipolar disorder

การหาข้อเท็จจริง

1. ซักถามเกี่ยวกับกิจกรรมนอกสายตาที่เราไม่ได้ร่วมตรงๆ    น้ำเสียงปกติ ไม่โกรธและไม่จับผิด

2. สังเกตท่าที ปิดบังหรือ  ไม่สบายใจ     - “ปิดบังเช่น  ไม่สบตา  ไม่โต้ตอบ ไม่มีรายละเอียด         มองคนอื่นว่าเจตนาร้าย          - “ไม่สบายใจ  เช่น  น้ำตาไหล  หน้านิ่วคิ้วขมวด  ไม่พูด

3. ท่าทีปิดบังให้ยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข  ไม่ตำหนิหรือโกรธ

4. ท่าทีไม่สบายใจให้ความเห็นใจถามถึงความรู้สึกไม่สบายใจ

ารต่อรองต่อการเรียกร้อง

1. ไม่ห้ามเพราะกลัว  ไม่ใช้ตนเองเป็นมาตรฐาน  สอดคล้อง    พฤติกรรมส่วนใหญ่ของวัย/กลุ่ม

2. ควบคุมขอบเขต  กำหนดชัดเจน  ตรวจสอบได้

3. ยอมรับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย

4. ฝึกให้รอคอย  ไม่ควรอนุญาตทันทีที่ขอ  ควรต่อรองให้   เลื่อนไป  หรือหยุดความต้องการได้ยิ่งดี

วงจรซ้ำเติม

1. ติดยา  ใช้ยาเสพติดหลายชนิด  รักษายากขึ้น

2. สูญเสียการเรียน  การงาน  ระบบเฝ้าระวังอ่อนแอลง

3. โกหก  ไม่ร่วมมือในการแก้ไข  สูญเสียความรัก  กำลังใจ

4. ลักขโมย  ทำความผิดทากฎหมาย  เกินกำลังระบบรักษา

5. เพศสัมพันธ์  การตั้งครรภ์  การทำแท้ง  การทอดทิ้งบุตร

6. ขายบริการทางเพศ/เอดส์

7. สร้างเครือข่ายจากการบำบัด ถูกขู่เอาชีวิตจากแม่ข่าย

ปัจจัยที่ทำให้บำบัดล้มเหลว

ผู้ป่วยชาย

1. การคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยา

2. มีความรู้สึกว่าพ่อไม่ฟัง  ไม่เข้าใจ  

3. มีแหล่งขายยาในชุมชน

ผู้ป่วยหญิง

1. การคบแฟนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยา  สุรา

2. มีความรู้สึกว่าแม่ไม่รัก   ไม่เข้าใจ

3. มีแหล่งขายยาในชุมชน

สมองติดยา

1. การนอน  ง่วงนอนกลางวัน  กลางคืนนอนไม่หลับ

2. อารมณ์   รุนแรงขึ้นทั้งเบื่อง่าย กังวล หงุดหงิด เศร้า

3. ความต้องการ ใจร้อน/วู่วาม ต้องตอบสนองทันที  ไม่รู้จัก                 รอ ก้าวร้าวถ้าไม่ตอบสนอง

4. ความจำ   หลงลืมง่าย  จำได้ไม่นาน  สมาธิสั้น

5. การตัดสินใจ ตามอารมณ์/ความต้องการเฉพาะหน้า6. การเคลื่อนไหว  ซุ่มซ่าม  เดินชนสิ่งของ

เมื่อสมองติดยา

1. ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการทางสมองที่หลงเหลือ

2. ฝึกรอคอย  ก่อนการตอบสนองตามความรู้สึก/ต้องการ

3. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอารมณ์/ความต้องการที่ไม่เหมาะสม    

4. ตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข  ถ้าไม่อาจขัดขืนหรือขัดใจได้    ต่อรองเรื่องปริมาณ  ความถี่  เวลา  สถานที่  บุคคล

การใช้ยาจิตเวช

1. ยาบำรุงสมอง   เช่น  วิตามินบี

2. ยาทางจิตเพื่อช่วยฟื้นสมองให้ควบคุมอารมณ์ดีขึ้น

3. การรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า  6 เดือนหรือจนกว่า    จะหยุดยาแล้วไม่มีอาการทางสมอง

4. พักผ่อน/รับประทานอาหารให้เพียงพอ   

คำสำคัญ (Tags): #drug abuse#ยาเสพติด
หมายเลขบันทึก: 98349เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เพิ่งรู้ว่าการบำบัดยาเสพติดต้องดูว่าสมองติดยาหรือเปล่า แล้วที่บำบัดไปแล้วละจะทำยังงัย

การประเมินสมองติดยาจะช่วยทำให้ผู้บำบัดสามารถดูแลผู้ติดยามีประสิทธิภาพมากขึ้น  ในรายที่สมองติดยาผู้บำบัดต้องติดตามอย่างต่อเนื่องเพราะหลังการบำบัดแล้วมีโอกาสกลับมาเสพซ้ำได้สูง  ผู้ที่บำบัดผ่านไปแล้วสิ่งที่ทำได้ดีคือการติดต่มอย่างต่อเนื่อง  และอาจต้องได้รับยาเพิ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท