โรงพยาบาลบ้านหมี่
โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

การคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชไม่ยากอย่างที่คิด


Psychosis

ปัจจุบันผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่จำนวนบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้นบุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลจึงเป็นส่วนสำคัญในการคัดกรองประเมินผู้ใช้บริการซึ่งทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด

                        โรคจิต

1. นิสัยเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก เช่น  ชีวิตประจำวัน  การงาน  สังคม  ความคิด  เหตุผล ความรู้สึก

2. ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง  เช่น  แยกโลกภายในใจ    เช่น  ความคิด  ความฝัน  กับโลกภายนอกออกจาก               กันไม่ได้   เกิดอาการหูแว่ว  ประสาทหลอน           

3. ไม่รู้ตัวว่าเป็นอะไร  เช่น  ไม่รู้ว่าตนเองทำอะไร  รู้สึก     อย่างไร  เพราะอะไรจึงทำ  พูด คิด รู้สึกอย่างนั้น              ไม่ยอมรับว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม

การซักประวัติ

1. Bio เช่น  การเจ็บป่วยทางกาย  สารเสพติด  พันธุกรรม

2. Psycho เช่น อาการเจ็บป่วยครั้งนี้  เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ  การเลี้ยงดูในวัยเด็ก  การศึกษา    พัฒนาการ  อาชีพ

3. Social เช่น  ความสัมพันธ์กับพี่น้อง  เพื่อน  พ่อแม่ นิสัยใจคอ  การแสดงออกของอารมณ์

พันธุกรรม

- พ่อแม่                                           4.2 -  4.4  เท่า                                                                

- พี่น้อง(พ่อแม่ไม่ป่วย)                  6.7 -  8.2  เท่า                                              

- พี่น้อง(พ่อหรือแม่ป่วย)              12.5 -13.8   เท่า                                

- พี่น้อง(ร่วมบิดาหรือมารดา)                 3.2   เท่า

- ลูก(พ่อหรือแม่ป่วย)                    9.7-12.3   เท่า                             

- ลูก(พ่อและแม่ป่วย)                   35.0-46.3   เท่า

- หลาน(ลูกของลูก)                         2.6-2.8   เท่า

การดำเนินโรค

1. หายขาด                                                                       

2. หายแล้วกลับเป็นใหม่                                                   

3. ทำหน้าที่ได้บ้าง  ทำงาน เข้าสังคมได้                     

4. อยู่ติดบ้าน  เป็นภาระของญาติ                                                     

5. อยู่ติดโรงพยาบาล  ต้องดูแลโดยเจ้าหน้าที่

การป้องกัน

1.  ได้บางส่วน

2.  ให้คำปรึกษาในเรื่องการมีบุตรและโอกาสเสี่ยง

3.  ในกลุ่มเสี่ยงสูง  อาการไม่ดี 

โรคอารมณ์แปรปรวน

อาการต่างๆของภาวะซึมเศร้า

อารมณ์       เศร้า  รู้สึกผิด  กังวลเรื้อรัง  ไม่มีความสุขเคลื่อนไหว   อ่อนเพลีย  ช้า  กระสับกระส่ายการกิน        เบื่ออาหาร  กินจุ   น้ำหนักลด/เพิ่มการนอน     นอนไมหลับ  หลับๆตื่นๆ  ตื่นเร็วกว่าปกติสิ่งแวดล้อม  ไม่สนใจ  แยกตัว  แม้ถูกชักชวนสมาธิ         สั้น  หลงลืมง่าย  คิดและโต้ตอบช้าความคิด      ย้ำคิด  ห่วงสุขภาพ  มองตนเองในแง่ลบเพศ            ความรู้สึกและต้องการลดลง 

โรควิตกกังวล

ลักษณะทางคลินิก                ขณะ Attack มีอาการ อย่างน้อย  4  อย่าง ในอาการต่อไปนี้  ได้แก่  หายใจตื้น  หอบเหนื่อย  รู้สึกว่าหายใจไม่ออก  วิงเวียน  โคลงเคลง  เป็นลม  ตัวสั่น  เหงื่อแตก  ชา  หนาวเย็น  กลัวว่าจะตาย  ควบคุมตนเองไม่ได้

ลักษณะทางคลินิก

1. Anxiety  กระจายหลายเรื่อง  ไม่ทราบสาเหตุ     เกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา  ความรุนแรงอาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในช่วงวัน  ตึงเครียด  กลัว  หวาดหวั่น  คาดการณ์ไปในทางร้ายว่าจะเกิดกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด  รู้ว่าไม่ร้ายแรงอย่างที่กลัว  แต่ห้ามใจไม่ได้

2. กล้ามเนื้อตึง  สั่น  กระตุก  ปวดตึง  ปวดศีรษะแบบตื้อๆบริเวณ  ขมับ  หน้าผาก  หัวคิ้ว  ท้ายทอย

3. ระบบANS ทำงานมากขึ้น  ใจสั่น  หายใจขัดไม่อิ่มหรือไม่พอ  อึดอัดหน้าอก  เหงื่อออกง่าย ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย

4. ระแวดระวัง  ตกใจง่าย  เวลามีเสียงดัง  ขาดสมาธิ  ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้  หลับยาก  หลับไม่สนิท  นอนคิดวนเวียน

ลองไปคัดกรองดูนะคะ  คนไข้ทุคนมีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชได้ค่ะ

  
หมายเลขบันทึก: 98281เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท