ศรช.การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สังคมฐานความรู้ ให้เป็นไปตามหลักการและอุดมการณ์ที่วางไว้


คนเป็นครูศรช.ทำได้ครบถ้วนหรือไม่ ใครเป็นผู้บริหารก็อย่าไหว้วานให้ครูศรช.ทำนอกหน้าที่มากนัก เดี๋ยวจักได้แต่เปลือกแต่กะพี้ มาช่วยกันวิพากเคาะสนิมกันดีไหม อย่างน้อย ๆ ก็จะได้ไม่ลืมบทบาทภารกิจของตน คนทำผิดก็จะได้กลับตัวกลับตนเริ่มต้นเสียใหม่ ทำงานศรช.ให้เป็นไปตามหลักการและอุดมการณ์ที่วางไว้ ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สังคมฐานความรู้ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสืบไป

บทบาทภารกิจครูศรช 

 เกณฑ์ขั้นต่ำศูนย์การเรียนชุมชน
 
การบริหารจัดการ     
             1. อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์    มีสถานที่ตั้งสำหรับใช้ในการดำเนินงานของศรช.ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าเหมาะสม, มีเครื่องเล่นวีดิทัศน์และเครื่องรับโทรทัศน์อย่างน้อย 1 ชุด, มีวิทยุเทปอย่างน้อย1 เครื่อง, มีสื่อ แบบเรียน ชุดวิชา แถบบันทึกเสียง และวีดิทัศน์ทางการศึกษาอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับกิจกรรมหรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ, มีครุภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางสื่อการเรียน ตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น
              2. การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ  มีการจัดเตรียม ควบคุม ดูแล และใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชน, มีการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน และดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอ, สื่อการเรียนการสอน ให้มีการจัดระบบหมวดหมู่และประเภทของสื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้บริการ, เผยแพร่สื่อและเอกสารประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมารับบริการจากศูนย์การเรียนชุมชนอย่างต่อเนื่อง, ประสานงานกับชุมชน องค์กรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานองค์กรและประชาชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชน, จัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในรูปแบบการจัดนิทรรศการ แผนภูมิ ป้ายนิเทศ การแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการพัฒนาอาชีพ
กิจกรรมการเรียนรู้ 
1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา และ/หรือ
 2. ส่งเสริม สนับสนุน เอื้ออำนวยความสะดวก และ/หรือประสานงานเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชนชุมชน สถานประกอบการ และประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตดังต่อไปนี้  กิจกรรมนันทนาการเป็นการพัฒนาทางด้านสุขภาพ อนามัยและจิตใจ เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การวาดรูป การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ ของชุมชน, กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสายอาชีพ/จัดกลุ่มสนใจ เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรต่าง ๆ เช่น สตรี แม่บ้าน ผู้สูงอายุเด็ก คนพิการ ฯลฯ, กิจกรรมส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ สืบทอด และเผยแพร่, กิจกรรมพัฒนาชุมชนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการรวมกลุ่ม เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน  เช่น  การส่งเสริมประชาธิปไตย  การปลูกป่า การเป็นอาสาสมัครเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เอดส์ ฯลฯ 
ภารกิจของครูศรช.ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้คือ  การประชาสัมพันธ์/การแนะแนว, การปฐมนิเทศ, การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น, การวางแผนการจัดการเรียนรู้, การจัดกระบวนการเรียนรู้(การพบกลุ่ม,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง,การทำโครงงาน,การสอนเสริม,กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต), การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
        
ภารกิจของครูศรช.ในด้านการบริหารจัดการ  มีดังนี้ คือ สำรวจความต้องของประชาชน ชุมชน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในศรช. และเก็บรวบรวมหลักฐานความต้องการการจัดกิจกรรม กศน.และกิจกรรมอื่น ๆ ของประชาชน, ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศรช., จัดทำข้อมูลชุมชนและจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมที่จะให้บริการ, จัดทำแผนงานและโครงการเพื่อเสนอเข้าแผนพัฒนาตำบลและ ศบอ., ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ งานกศน., ให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในศรช. เพื่อใช้ศึกษาด้วยตนเองของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต, จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น (ได้แก่ การส่งเสริมการรู้หนังสือให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมชุมชนปลอดยาเสพติด การจัดการแข่งขันกีฬา การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยการประสานงานอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในชุมชน นักศึกษากศน. เป็นผู้ช่วยดำเนินการ), เก็บรวบรวมหลักฐานที่เป็นกิจกรรมการศึกษาของนักศึกษากศน. ของประชาชนในชุมชน จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดจัดทำสรุปผลการดำเนินงานของศรช. รายงานต่อ ศบอ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ, ดำเนินงานธุรการในศรช. (เช่น  การรับสมัครนักศึกษา แนะนำให้คำปรึกษา ตรวจสอบหลักฐานการขึ้นทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน จัดทำแผนการเรียนการสอน การสอนเสริมและการพบกลุ่ม), สรุปและรายงานผลการปฏิบัติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ให้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชน (โดยประสานเครือข่ายชุมชนให้มีส่วนร่วม ได้แก่  ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาบันศาสนา/สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น)
         ภารกิจของครู ศรช.ในด้านการส่งเสริมสนับสนุน  มีดังนี้ คือ การประชาสัมพันธ์(จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ กระดานข่าว ป้ายนิเทศ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ใช้สื่อบุคคล เช่น นักศึกษา ประชาชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานเครือข่าย หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น), การแนะแนว(การให้คำปรึกษาและแนะแนวก่อนเรียน ระหว่างเรียน  และหลังจบการศึกษา), การกระจายและการหมุนเวียนสื่อ, การปฏิบัติงานธุรการ, การนิเทศการติดตามผลและรายงานผล  <div align="center"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background: white; border: #bbbbbb 1pt dashed; padding: 1.5pt">           ภารกิจของครูศรช.ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้คือ  การประชาสัมพันธ์/การแนะแนว, การปฐมนิเทศ, การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น, การวางแผนการจัดการเรียนรู้, การจัดกระบวนการเรียนรู้(การพบกลุ่ม,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง,การทำโครงงาน,การสอนเสริม,กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต), การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
        
ภารกิจของครูศรช.ในด้านการบริหารจัดการ  มีดังนี้ คือ สำรวจความต้องของประชาชน ชุมชน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในศรช. และเก็บรวบรวมหลักฐานความต้องการการจัดกิจกรรม กศน.และกิจกรรมอื่น ๆ ของประชาชน, ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศรช., จัดทำข้อมูลชุมชนและจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมที่จะให้บริการ, จัดทำแผนงานและโครงการเพื่อเสนอเข้าแผนพัฒนาตำบลและ ศบอ., ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ งานกศน., ให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในศรช. เพื่อใช้ศึกษาด้วยตนเองของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต, จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น (ได้แก่ การส่งเสริมการรู้หนังสือให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมชุมชนปลอดยาเสพติด การจัดการแข่งขันกีฬา การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยการประสานงานอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในชุมชน นักศึกษากศน. เป็นผู้ช่วยดำเนินการ), เก็บรวบรวมหลักฐานที่เป็นกิจกรรมการศึกษาของนักศึกษากศน. ของประชาชนในชุมชน จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดจัดทำสรุปผลการดำเนินงานของศรช. รายงานต่อ ศบอ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ, ดำเนินงานธุรการในศรช. (เช่น  การรับสมัครนักศึกษา แนะนำให้คำปรึกษา ตรวจสอบหลักฐานการขึ้นทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียน จัดทำแผนการเรียนการสอน การสอนเสริมและการพบกลุ่ม), สรุปและรายงานผลการปฏิบัติต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ให้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชน (โดยประสานเครือข่ายชุมชนให้มีส่วนร่วม ได้แก่  ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาบันศาสนา/สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น)
         ภารกิจของครู ศรช.ในด้านการส่งเสริมสนับสนุน  มีดังนี้ คือ การประชาสัมพันธ์(จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ กระดานข่าว ป้ายนิเทศ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ใช้สื่อบุคคล เช่น นักศึกษา ประชาชน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานเครือข่าย หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น), การแนะแนว(การให้คำปรึกษาและแนะแนวก่อนเรียน ระหว่างเรียน  และหลังจบการศึกษา), การกระจายและการหมุนเวียนสื่อ, การปฏิบัติงานธุรการ, การนิเทศการติดตามผลและรายงานผล 
         โดยสรุปดังที่กล่าวมานี้  ศูนย์การเรียนชุมชนที่มีอยู่ทุกตำบลโดยหลักการ  ล้วนเป็นการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่าง กศน. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น  ว่ากันมาตั้งแต่เรื่องการจัดตั้งศูนย์ฯ การคัดเลือกครู  การดูแลสนับสนุนงบประมาณ  การประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย  การดูแลให้ครูอยู่ทำงานตามบทบาทภารกิจอยู่ที่ ศรช.สัปดาห์ละ 5 วัน  ที่เน้นให้ครูนั้นจัดกระบวนการเรียนรู้  เป็นผู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษา  ทำงานที่ศรช.เต็มเวลา  จัดกิจกรรมการศึกษาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเต็มที่  จัด ศรช. ให้มีความสมบูรณ์  เพื่อเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน  บทบาทภารกิจดังกล่าวข้างต้น  คนเป็นครูศรช.ทำได้ครบถ้วนหรือไม่   ใครเป็นผู้บริหารก็อย่าไหว้วานให้ครูศรช.ทำนอกหน้าที่มากนัก  เดี๋ยวจักได้แต่เปลือกแต่กะพี้  มาช่วยกันวิพากเคาะสนิมกันดีไหม  อย่างน้อย ๆ ก็จะได้ไม่ลืมบทบาทภารกิจของตน   คนทำผิดก็จะได้กลับตัวกลับตนเริ่มต้นเสียใหม่   ทำงานศรช.ให้เป็นไปตามหลักการและอุดมการณ์ที่วางไว้  ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สังคมฐานความรู้  นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสืบไป </td></tr></tbody></table></div>  
<p align="center"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #ศรช,#ศรช.
หมายเลขบันทึก: 97934เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดูแล้วงานที่ทำมีมาก    ถ้าทุกคนทำทั้งหมดได้งานคงมีความก้าวหน้าเยอะและออกมาดีแน่  ไม่ใช่พอถึงเวลาคนมาดูงานบอกได้แต่เพียงว่า ไม่พร้อม

- เห็นด้วยอย่างยิ่ง

- งานเยอะ น่าสนุก นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท