ธรรมชาติเรียกร้องให้ดูแลกัน


ธรรมชาติเรียกร้องให้ดูแลกัน


 

นพพร  นิลณรงค์

                คนมีปัญญานั้นใคร ๆ ก็นับถือ  คนล้านนาเรียกคนมีปัญญาว่า “มีผญา” ยิ่งคนมีปัญญาท่องเที่ยวไปเรียนรู้ไป  เป็นที่ยอมรับว่า  ฉลาดหลักแหลม ก็เรียกกันว่าเป็นคน “ตาแหลวเมือง” รู้ทุกอย่าง  ความเป็นจริงศาสนาพุทธก็ยกย่องคนมีปัญญาไว้ว่า “นตถิ  ปัญญา  สมาอาภา – แสงสว่างใดเสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญาไม่มี” ……………สาธุ

                ปัจจุบัน “ปัญญา”  สามารถไปแสวงหาได้ที่ “โรงเรียน” เพราะว่ามีครูสอนอยู่จึงเรียกว่า “ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา”  แต่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้อธิบายไม่ได้เสียแล้ว  เพราะว่าขณะนี้ความรู้ต้องไปแสวงหาเอาที่ “สำนักกวดวิชา”  สิ่งที่สอนในโรงเรียนไม่เพียงพอต่อการ “เข้ามหาวิทยาลัย” เสียแล้ว  แม้จะต้องแบกรับภาระหนี้สินเพียงใด พ่อ แม่ก็ต้องยอมรับสภาพ เพราะอยากให้ลูกได้มี “ผญาปัญญา” จะได้เอาตัวให้รอด  แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีอีกหลายคนที่ “ความรู้ท่วมหัว  เอาตัวไม่รอด  ท่านผู้รู้ก็พึงสดับว่า “จะจัดการศึกษากันอย่างไร?
                ลำปางมีแม่น้ำอยู่ 1 สาย ชื่อแม่น้ำวัง เป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงคนลำปางตั้งแต่เหนือจรดใต้  จากอำเภอวังเหนือสู่อำเภอแม่พริก  ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา  ทุกวันนี้เราไม่รู้ว่าแม่น้ำวังเสียแค่ไหน คนต้นน้ำยังอาศัยแม่น้ำวังทำอะไร?    คนกลางน้ำ  ปลายน้ำได้รับความเอื้ออาทรหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างไร?  แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งมีว่า แม่น้ำวังตอนกลาง ๆ มิได้ใสสะอาดดังที่คิดไว้  แม้แต่คนตกปลา  ทอดแห  เอาปลามากินก็บอกกันว่า  ปลาเหล่านั้นมีแต่กลิ่นเหม็นของน้ำมัน  แสดงให้เห็นว่าสังขารของแม่น้ำวังถูกรังแก  เอาเปรียบจนน่าสงสาร  หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจไม่เป็นคุณ  ทุกชีวิตอยากเห็นแม่น้ำวังใสสะอาด  ไหลเย็น  เห็นตัวปลา  หน้าน้ำจะได้ใช้รดต้นไม้ในเลือกสวนไร่นา  เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ……..หรือจะปล่อยให้เหม็นอยู่อย่างนี้?
          คงมีความจำเป็นที่จะต้องระดมคนที่มี “ผญาปัญญา”  มาช่วยกันคิด  เพราะธรรมชาติเรียกร้องให้ดูแลกัน  “ถ้าไม้ก็หมด  แม่น้ำก็เน่า  น่าคิดว่า “เราจะโทษใคร”  กระแสของคนดูแลแม่น้ำวังจะเกิดขึ้นวันที่ 6 กันยายน  2546 โดยมีกลุ่ม “รักษ์แม่น้ำวัง” ชุมชนบ้านปงสนุก   และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  จะศึกษาวิจัยแม่น้ำวังอย่างเป็นระบบเสียที  พร้อมกับจะรณรงค์ให้คนหยุดรังแกแม่น้ำวัง โดยกระบวนการวิจัยแบบชาวบ้าน  มีเทศบาลช่วยสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อเขียนป้ายรณรงค์   อาจารย์ทิพยา  ……. จากโรงเรียนลำปางกัลยาณีก็จะนำลูกศิษย์มาช่วย รวมทั้งสถานศึกษาอื่น ๆ ที่จะมาร่วมด้วย  นอกจากนั้นชุมชนปงสนุกและชุมชนเจริญประเทศ เช่น ดาบตำรวจบุญธรรม  บุตรธุระ   ดาบตำรวจประทุม  ไหวมา    อาจารย์ประมวลศรี……………  ก็จะลุกขึ้นมาดูแลแม่น้ำวัง  ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) จ.ลำปาง ก็จะเข้าร่วมขบวนการนี้ด้วย 
          ครับถ้าจะหันหน้า มาช่วยกัน  สร้างผญาปัญญาให้กันและกัน โดยจิตสำนึกท้องถิ่น  ธรรมชาติก็จะได้ไม่เกี้ยวกลาด  ท่วมหัวท่วมหูจนเป็นปัญหามาก็หลายแห่ง  ….เรามาสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำวังกันเถิดด้วยการทำวิจัยแบบชาวบ้าน …..ก่อนที่จะไม่มีแม่น้ำวังให้ลูกหลานได้ว่ายเล่น…….

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9776เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2005 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตอนนี้ดิฉันกำลังเสนอหัวข้อการทำวิจัย แต่ยังคิดหัวข้อยังไม่ออก ชาติกำเนิดเป็นคนลำปาง ก็อยากทำประโยชน์ให้บ้านเกิดตนเอง ตอนแรกดิฉันจะเอาเรื่องชุมชนเข้มแข็งในต.บ่อแฮ้ว อ.เมือง แต่พอมาเห็นแม่น้ำวังเกิดปัญหาก็อยากทำวิจัยเกี่ยวกับแม่น้ำวัง ยังไงหากมีข้อมูล ช่วยเสนอแนะด้วยนะคะ ต้องการด่วนมาก

ศูนย์ประสานงานวิจัยฯ

เชิญมาเที่ยวที่สำนักงาน ยินดีต้อนรับค่ะ หากอยากเรียนรู้งานวิจัยท้องถิ่น เชิญร่วมเวทีเสวนาทุกวันที่ 10 ของเดือนค่ะ ติดต่อได้ที่สำนักงานโทรศัพท์ 054-320198 ทางช่องทางของผู้ที่สนใจทำวิจัยปนะนำค่ะ

ศูนย์ประสานงานวิจัยฯ

เยี่ยมชมได้ที่ www. vijai2lampang.org นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท