เรื่องเล่า KM ในสถาบันธัญญารักษ์


แผนที่จะดำเนินการต่อไป ก็จะพยายามบูรณาการกิจกรรมคุณภาพที่ทำอยู่เดิม ที่เข้าขอบข่ายของ KM มาเสริมกิจกรรมให้ครบกระบวนการ KM มากขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสับสน สำหรับผู้ปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 17 พค 50 ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ได้จัดประชุม KM ขึ้น  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน KM ในหน่วยงานในกรม  ผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่อง KM ของธัญญารักษ์ที่ดำเนินงานมา 2 ปี   เลยอยากเก็บเอาสิ่งที่เล่ามาเขียนไว้ดังนี้

เรื่องเล่า การดำเนินงาน KM ในสถาบันธัญญารักษ์

 

จุดเริ่ม

      ได้เรียนรู้เรื่อง KM จากอจ ประพนธ์  เมื่อ 2 ปีก่อน (ปลายปี 48)   ประทับใจกับ 3 Slide  คือ วงจร KM และ Model ปลาทู  และ Slide บอกเล่าเรื่อง Weblog    และใด้ใช้ 3 slide นี้เป็น หลัก ในการดำเนินกิจกรรมตลอดมา

          เมื่อกลับมาถึง โรงพยาบาล    ก็ เริ่ม  การดำเนินงาน KM ประจำปี 49 ดังนี้
  • เตรียมคน  เตรียมการ
    • เรียนรู้การใช้Weblog
    •   โดย เริ่มถ่ายทอดความรู้เรื่อง KM   ให้กับหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานต่างๆ ก่อน    แต่ครั้งเดียวก็คงไม่พอ   ได้เชิญ อจ.ชำนิ  มาช่วยให้ความรู้ซ้ำอีกครั้ง  
    • แจ้งผู้บริหาร
    • ส่วน KV ก็ตั้งกว้างๆ ว่าเพื่อพัฒนางานประจำ     นำความรู้ที่พบจากการทำงานประจำ มาเผยแพร่ให้คนอื่นนำไปใช้พัฒนางานประจำของแต่ละ
  •   กระบวนการ และเครื่องมือ
    • เริ่ม  Launch Project    Knowledge sharing ผ่าน Weblog  โดย ใช้หลักบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ  การสื่อสาร  ประชุมหัวหน้าหน่วยงานเพื่อ  ทำความเข้าใจ 
    • ใช้เครื่องมือ   Gotoknow.org
    • การให้รางวัลยกย่องชมเชย  โดย การกำหนดให้เป็น KPI ประจำหน่วยงาน    และการขอเงินรางวัลจากผอ  สำหรับผู้ที่เขียนบันทึกความรู้มากที่สุดใน ไตรมาสที่
  • การเรียนรู้
    • ผลระยะสั้น   เริ่มรู้จักกับคำว่า KM   KA   เกิดบรรยากาศตื่นตัว   มีสีสันในองค์กร   คนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ก็มีความพยายามที่จะเรียนรู้การเขียน Weblog   จนมีการเขียน บันทึก  ในทุกหน่วยงาน     อย่างน้อยก็ 5 บันทึก ตามเป้าหมาย KPI     หน่วยงานที่บันทึกมากที่สุดคือ  33 เรื่อง  จำนวน     บันทึกทั้งหมดคือ   280 เรื่อง     ด้วยเงินลงทุน  12000 บาท
    • ผลระยะยาว   มีการเขียนบันทึกต่อเนื่อง บางส่วน  (     6 blogs จาก 36 blogs     )   แต่ส่วนใหญ่ ไม่ได้เขียนต่ออีกเลย 
    • สิ่งที่ได้เรียนรู้ ...................
      • การให้รางวัล  และ กำหนดเป็นภาระงาน  ได้ผล  แต่ยังไม่ยั่งยืน
      • มี KA เกิดขึ้นจริง   แต่  มีคนเอาไปใช้น้อย
                    พอมาปี 50  ได้มีการดำเนินงาน KM ที่เริ่มกำหนด KV ที่ชัดขึ้น  และเน้นการแลกเปลี่ยน Tacit ในตัวคนจริงๆ มากขึ้น  โดยมีกำหนดหัวข้อความรู้ที่ต้องจัดการ(KV)โดยคณะกรรมการ KM ดังนี้
    • Neuropsychological assessment
      • เน้นการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญในองค์กร
      • ใช้การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • การตรวจสารเสพติด พิเศษ
      • เน้นการแสวงหาและสร้างความรู้
      • ตรวจสารเสพติดทั่วไปจากเส้นผม
      • ตรวจการเสพกระท่อม จากปัสสาวะ
    • การบำบัดรักษาผู้ป่วยสุรา
      • ใช้ทีม QIT ผู้ป่วยสุรา
      • ทบทวนผลการรักษา  พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย
        • กำหนดและติดตามเตรื่องชี้วัด
        • CQI , Innovation
        • ทบทวนทางวิชาการและพัฒนา CPG
        • สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติย
    • การลดอันตรายในผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดอยู่ (บ้านอุ่นไอรัก)
      • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและครอบครัว
      • ให้ความรู้เพิ่มเติมโดยทีมสหวิชาชีพ
    • การใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น
      • แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
      • ทุกวันศุกร์ ตอนกลางวัน
  • โครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Weblog   ปี 2 
    • ให้รางวัล  Blog ที่มีความรู้ถูกนำไปใช้
    • ให้รางวัล คนที่นำความรู้ใน  Weblog ไปใช้
               
  • นำ KM บูรณาการกับกิจกรรมทางวิชาการที่มีอยู่เดิม
    • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วย  โดยการนำของวิชาชีพพยาบาล
      •  มีตารางการ Sharing   ชัดเจน
      •  Case study  9 ครั้ง
      •  Grand round  4  ครั้ง
      •  Case conference    3  ครั้ง
      • Knowledge sharing   5 ครั้ง
      • เพิ่ม  การดับจับประเด็นความรู้ที่สำคัญ 
      • ปรับเนื้อหาให้ตรงกับ KV
 
    • วิเคราะห์ explicit knowledge 
      • รวบรวมและวิเคราะห์ผลงานวิจัยของสถาบันทั้งหมด(กำลังดำเนินการ)
      • สกัดประเด็นความรู้ที่สำคัญ
      • Policy Advocacy  for Practitioners

ส่วนแผนที่จะดำเนินการต่อไป  ก็จะพยายามบูรณาการกิจกรรมคุณภาพที่ทำอยู่เดิม  ที่เข้าขอบข่ายของ KM มาเสริมกิจกรรมให้ครบกระบวนการ KM มากขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสับสน สำหรับผู้ปฏิบัติ ท่านสามารถ load file ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายได้ที่นี่ครับ http://www.esnips.com/doc/d6775ce6-6a6a-4c59-99c4-0b292d2adcac/การดำเนินงาน-KM-ในสถาบันธัญญารักษ์

และ http://www.esnips.com/doc/34c54121-81a6-40e1-a007-e384ac293200/การดำเนินงาน-KM-49-โดยใช้--Change-Management-Process

หมายเลขบันทึก: 97106เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท