เก็บตกการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็ก


"การทำงานด้านเด็กไม่มีใครเป็นพหูสูตรและทำงานเดี่ยวๆได้หากแต่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม"

15-17พค.ที่ผ่านมาไปอบรมทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็กซึ่งเจ้าภาพคือศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เด็กและสตรีจังหวัดนนทบุรี..เป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อนการทำงานตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546ของจังหวัด   ซึ่งผู้เข้าอบรมจำนวน50คนมีมาจากทั้งส่วนของ พมจ.,นักจิตวิทยาและนักสังคมฯทั้งที่เป็นของสถานสงเคราะห์และที่อยู่ในโรงพยาบาล,ครู,นิติกร,อาสาสมัคร,พยาบาลโรงพยาบาลเครือข่าย,ศาล(ผู้พิพากษาสมทบ),พนักงานสอบสวน(ตำรวจ),องค์กรเอกชน

หนึ่งวันครึ่งเป็นการสอนเพื่อทำความเข้าใจและรู้จักหลักการตีความและใช้พรบ.นี้ในการปฏิบัติเพื่อให้การสงเคราะห์และคุ้มครองแก่เด็กและสตรี   วิทยากรก็คือครูเขียวหรือ อาจารย์สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

ฉันไม่ได้เข้าอบรมหลักสูตรเต็ม45วัน(ซึ่งจะมีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครอง)หากแต่เลือกมาเข้าหลักสูตร3วันนี้แทนในฐานะวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกันในงานการช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กที่มีอยู่ในสถานพยาบาล (ศูนย์พึ่งได้)

ในพรบ.นี้มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการตีความและการกำหนดวิธีการทำงานของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ในระดับภาครวมลงไปจนถึงระดับท้องที่ว่าจะมีบทบาทในการช่วยเหลือและคุ้มครองแก่เด็กและครอบครัวได้อย่างไร..กำหนดเจาะจงถึงขั้นตอนของการทำงานของพนง.จนท.และขณะที่มีการให้อำนาจคุ้มครองแก่พนง.จนท.ในการดำเนินการช่วยเหลือขณะเดียวกันก็มีกรอบ/ขอบเขตในการช่วยเหลือ เช่นกรณีที่เป็นการคุ้มครองซึ่งบางกรณีอาจจะต้องแยกเด็กออกจากครอบครัวจะสามารถแยกได้ไม่นานกว่ากี่วัน/ชั่วโมงและในช่วงเวลานั้นมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องกระทำ

ส่วนหนึ่งนั้นจะต้องเป็นการทำงานที่อาศัยวิชาชีพต่างๆ(ไม่ว่าจะเป็นสายการแพทย์,ทางสังคม,ทางด้านกฏหมาย)เข้ามาร่วมกันในการช่วยเหลือและกำหนดกลวิธีการช่วยเหลือแก่เด็กและครอบครัว    ซึ่งการสอนให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงกระบวนการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพว่าเป็นอย่างไรนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรทีมสหวิชาชีพของจังหวัดปทุมธานีมาร่วมแชร์ประสบการณ์ซึ่งมีวิทยากรจากมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก(คุณจิราภา ชมชื่นจิตต์),รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์จากรพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ,คุณโอภาษ วโรภาษ(อัยการ)และจาก พมจ.ปทุมธานี(คุณสุพัฒรา ไพฑูรย์)...แม้ผู้บรรยายจะมีลูกเล่นลูกชนมีโต้แย้งหรือแสดงความคิดเห็นต่างกันบ้างแต่จุดประสงค์หลักที่ยึดเหมือนกันคือการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลักในการยุติข้อขัดแย้งในการทำงานและการใช้มติทีมวิชาชีพเป็นข้อตกลงในการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน...

เช้าวันที่17มีวิทยากรจากมูลนิธิเพื่อนหญิงมาให้ความรู้ในหัวข้อ"บทบาทหญิงชายในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง"ซึ่งวิทยากรมากัน2คนคือคุณจะเด็ด เชาว์วิไลและคุณอังคณา   ใช้วิธีการสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดเรื่อง เพศ(Sex)และบทบาทหญิงชาย (Gender)ให้ออกเสียก่อน..และจากจุดรากฐานที่เป็นอคติทางเพศหล่อหลอมกลายมาเป็นต้นไม้แห่งปัญหาได้อย่างไรซึ่งในทัศนะของคุณจะเด็ดกล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในครอบครัวว่าส่วนหนึ่งต้องปรับเปลี่ยนค่านิยมและทัศนคติและอีกด้านหนึ่งก็คือการรณรงค์เพื่อยุติ(ลด,ละ,เลิก)การดื่มเหล้า

บ่ายวันสุดท้ายมีสองเรื่องที่ได้เรียนรู้คือ

1.การจัดทำฐานข้อมูลเด็กจังหวัดนนทบุรี(ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเด็กและการดำเนินการช่วยเหลือโดยจะมีส่วนของทางโรงพยาบาลที่อาจจะต้องให้ข้อมูลบางอย่างแต่ผู้ทำรายงานภาพรวมนั้นจะเป็นงานของพมจ.และศดส.นบ.)

2.การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อฝึกหัดทำกรณีศึกษาซึ่งเป็นเหมือนการทดสอบความเข้าใจและการฝึกหัดใช้พรบ.เป็นแนวทางในการทำงานแบบทีมโดยวิทยากรจากทางมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กได้หยิบเอาเคสที่เกิดขึ้นจริงยกมาเป็นตัวอย่างให้ทดลองฝึกหัดตีความสภาพปัญหาและข้อเท็จจริง,การอ้างอิงกับข้อกฏหมายที่มีอยู่ในพรบ.,การคิดวางแผนวิธีการช่วยเหลือและประมวลข้อมูลจากทีมวิชาชีพแบ่งหน้าที่ในการช่วยเหลือแก่เด็กและครอบครัว..ซึ่งวิทยากรจะพยายามกระตุ้นให้พวกเรามองหลายแง่มุมและทบทวนการตีความโจทย์กับกฏหมายและพื้นฐานองค์ความรู้ทางวิชาชีพ...จนพวกเราได้ข้อสรุปร่วมกันอย่างหนึ่งว่า"การทำงานด้านเด็กไม่มีใครเป็นพหูสูตรและทำงานเดี่ยวๆได้หากแต่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม"

เสร็จการอบรมเมื่อเวลา17.00น.

หมายเลขบันทึก: 97065เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท