ชุมชนที่อยู่ดี..ก็มีสุข


วันนี้ขอหยิบยกเรื่องราวจากเวที  คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช  ถือว่าเป็นจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข  เป็นงานที่รัฐบาลมอบความหวังดีต่อประชาชน  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณไปต่อยอด หรือพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างถาวร  เป็นงานที่ต่อเนื่องมาจากการลงไปเคลื่อนงานจัดการความรู้ (KM) กับชุมชนก่อนหน้านี้ เสมือนเป็นการเตรียมความพร้อม  และติดอาวุธทางความรู้เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการกลุ่ม ให้ชุมชนสามารถคิดและแก้ปัญหาในชุมชนได้ โดยรัฐบาลได้กำหนดกรอบการเสนอโครงการไว้ 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านพัฒนาและสร้างโอกาส  ด้านการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน  ด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ  และด้านการบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

                   เมื่อคณะกรรมการเริ่มพิจารณาโครงการพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานมากกว่าโครงการที่ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง  ทำให้เกิดความเป็นห่วงว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเรื่อง ผู้ใหญ่ลี เมื่อผู้ใหญ่ลีรับวาระมาจากทางการ แล้วนำมาตีความว่า สุกร คือ หมาน้อย เพราะฉะนั้นการประสานงานระหว่างผู้ประสานงานของภาครัฐกับชุมชน  จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชน
คำสำคัญ (Tags): #อยู่ดีมีสุข
หมายเลขบันทึก: 96773เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท