แนวคิดในการจัดการปัญหาการใช้ไอซีทีในสังคมไทย


ได้แต่หวังว่า เราจะมีชุดความรู้ในการจัดการปัญหา โดยใช้กฎหมาย นโยบายเป็นเครื่องมือในการทำงาน และกฎหมายนโยบายที่ว่านี้ไม่ได้มุ่งเน้นแต่การเข้าไปปราบปราม เรายังคงต้องการ "ชุดกฎหมาย" ในการปราบปราม ส่งเสริม และสร้างภูมิค้มกัน เพื่อที่จะสร้างกลไกในการจัดการที่เป็นระบบและคลอบคลุมมากที่สุด

 

           จากการหารือกับอาจารย์รุ่งรัตน์ เกี่ยวกับการจัดทำโครงการวิจัยด้านกฎหมายไอซีที ที่ทางคุณชลิดาจาก สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ที่ได้รับโจทย์มาจากกรทะรวงไอซีที ในการจัดการปัญหาการเผยแพร่สื่อที่ไม่เหมาะสมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเมื่อวันก่อน ทำให้ต้องหยิบยกผลการศึกษาปัญหาด้านสถานการณ์ของการกระทำของมนุษย์บนโลกอินเทอร์เน็ต และ สถานการณ์ปัญหาด้านการจัดการภายใต้ โครงการศึกษาวิจัยปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ภายใต้การกำกับทิศทางของ ศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย โดยมี รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ขึ้นมาตั้งบนโต๊ะอีกครั้งหนึ่ง

          ผลการศึกษาวิจัยที่ลงไปศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีหลายอย่าง ทั้ง เว็บไซต์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาออนไลน์ หรือ แช็ต การส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ เช่น บลูธูท ซึ่งการกรทำของมนุษย์เหล่านั้น นำมาซึ่งผลกระทบในทางลบพร้อมกับการสร้างผลประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์

         หลายวันที่ผานมา ความคืบหน้าของการยำร่างกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้มาถึงจุดที่พร้อมจะใช้งานในอีกไม่กี่วัน เท่ากับว่า เรามีกฎหมายที่บังคับใช้กับการแระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว

           แต่นั่นหมายถึง การเข้าไปจัดการปัญหาเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เรายังไม่มีกระบวนการลงไปจัดการปัญหาที่ต้นเหตุอย่างเป็นระบบ

            ทั้ง การสร้างความเข้มแข็งให้กับเด็กเยาวชนครอบครัว ในการใช้งานไอซีทีอย่างรู้เท่าทัน การสร้างหลักสูตรการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตปลอดภัยที่เรียนรู้พร้อมกันของคนในครอบครัว โรงเรียน สถานการศึกษา ชุมชน รวมไปถึง การสร้างหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง และ หลักสูตรด้านจริยธรรมในการใช้ไอซีทีที่ลงไปปลูกจิตสำนึกให้กับเด็ก และเยาวชนผ่านหลักสูตรการศึกษา หรือแม้แต่การสร้างการจัดการเพื่อคุ้มครองเด็กที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือที่ต่างประเทศมีกฎหมายว่าด้วยการค้มครองเด็กออนไลน์ (Child Online Protection Act)

          การสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการในรูปของการควบคุมดูแลกันเอง รวมทั้ง การสร้างประมวลจริยธรรมระหว่างผู้ประกอบการ

             การสนับสนุนหรือส่งเสริมการสร้างพื้นที่หรือแหล่งของการเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัย โดยผ่านการสร้างแรงจูงใจในการสร้างร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่สีขาว โรงเรียนสีขาว

             การสร้างระบบเตือนภัยสาธารณะในรูปแบบของเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อที่จะเป็นหูเป็นตาในการแจ้งเหตุเตือนภัยให้กับสังคม

              รวมทั้ง การสร้างกลไกในการทำงานเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาควิชาการ

            ในที่สุด ข้อสรุปเบื้องต้นของการสร้างโครงการวิจัยภายใต้ข้อเสนอของกระทรวงไอซีที จึงถูกเสนอขึ้น ภายใต้แนวคิดที่ผนวกขึ้น จาก ๔ ส่วน กล่าวคือ ทั้ง การจัดทำข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การจัดทำงานวิจัยภายใต้การมีส่วนร่วมของสังคม ในรูปของเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ และ การพัฒนาจริยธรรมในการใช้ไอซีทีของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

               ได้แต่หวังว่า เราจะมีชุดความรู้ในการจัดการปัญหา โดยใช้กฎหมาย นโยบายเป็นเครื่องมือในการทำงาน และกฎหมายนโยบายที่ว่านี้ไม่ได้มุ่งเน้นแต่การเข้าไปปราบปราม เรายังคงต้องการ "ชุดกฎหมาย" ในการปราบปราม ส่งเสริม และสร้างภูมิค้มกัน เพื่อที่จะสร้างกลไกในการจัดการที่เป็นระบบและคลอบคลุมมากที่สุด

              พรุ่งนี้ คุณชลิดา จะได้เข้าหารือกับกระทรวงไอซีที เราคงเสนอแนวคิดในการทำงานวิจัยแบบนี้ ไม่รู้ว่า ผลการหารือจะเป็นอย่างไร ทั้งหมดของข้อเสนอเพื่อเข้ไก้ปัญหาทั้งด้านสถานการณ์และด้านการจัดการที่เกือบมีประสิทธิภาพในอดีตที่ผ่านมา

            

หมายเลขบันทึก: 96689เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ต้องไปตาม คุณอนุสิษฐ์ อ.สมพงษ์ จิตระดับ  ท่านมณฑนา คุณสุดารัตน์ มาด้วย ถ้าทุกคนกลับมาได้นะ สุดยอด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท