ความโปร่งใส


เทคโนโลยีนามธรรม

ความจริงคำนี้เพิ่งได้ยิน  หรือเพิ่งนำมาใช้กับการทำงานสาธารณะเมื่อเร็วนี้เอง  เพราะก่อนนี้จะใช้คำว่า  “ความซื่อสัตย์  สุจริต  หรือ  ความซื่อตรง”  เป็นการทั่วไป  เมื่อมีการคดโกง  คอรัปชั่น  ความไม่ซื่อตรงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย  เพื่อให้มีการตรวจสอบได้  ก็มีการเรียกร้องให้ทำงานสาธารณะที่มี  “ความโปร่งใส”  ขึ้น  จำได้ว่า  คำว่า  โปร่งใสนี้  มีใช้ในความหมายที่รับรู้กันในปัจจุบัน  เมื่อสมัยรัฐบาล  ฯพณฯ  นายกรัฐมนตรี  อนันต์  ปันยารชุน  นี่เอง


ที่จริง  “ความโปร่งใส”  อาจจะถือว่าเนื่องหรือเป็นขั้นตอนต่อจาก  “วิสัยทัศน์”  ก็ได้  เพราะวิสัยทัศน์  คือผลที่เป็นเป้าหมายที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น  “ความโปร่งใส”  เป็นกระบวนการในการทำงานให้เกิดผลตาม  “วิสัยทัศน์”  นั้น  เพราะฉะนั้น  คนทำงานที่ดีจะให้สาธารณะชนรู้แค่  “วิสัยทัศน์  ว่าจะทำอะไรไม่ได้”  ยังต้องให้รู้ว่าในทุกขั้นตอนที่จะทำให้วิสัยทัศน์นั้นให้สำเร็จต้องทำอะไรบ้าง  เมื่อไร  ใครทำ  ใช้เวลานานเท่าใด  ใช้เงินหรือทรัพยากรเท่าใด  ผลงานแต่ละขั้นตอนสำเร็จออกมามีมาตรฐานเท่าใด  มีความทนทาน  หรือรองรับการใช้งานตามหน้าที่ของสิ่งนั้นได้เท่าใด  นานเท่าใด  ฯลฯ  เป็นต้น  ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ต้องเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง  ใครสนใจสงสัยก็ให้ตรวจสอบได้ 

อย่างนี้คำว่า  “ความโปร่งใส”  จึงจะเป็นเทคโนโลยี  เพราะกว่าจะทำงานแต่ละอย่างให้สำเร็จได้ต้องใช้วิชาการคำนวณด้วยความรอบคอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน  และประชาสัมพันธ์ให้รับรู้โดยทั่วกันด้วย

หมายเลขบันทึก: 96554เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เห็นด้วยค่ะ
  • บอกว่าโปร่งใส แต่ใครขอดูไม่ได้ ถามอะไรก็ไม่ได้  ก็ไม่ถือว่าโปร่งใสใช่ไหมค่ะ
  • โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ทำไม่ค่อยได้  เพราะไม่อยากทำ เพราะว่าถ้ามันโปร่งใสมันจะก้าวไปสู่คำว่า "มาตรฐาน" ซึ่งจะเกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท