การศึกษาแบบเรียนรวม


การศึกษารายวิชาแบบเรียนรวมกันของโปรแกรมวิชาภษาไทย
 
 
 
       การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาที่เน้นผู้เรียนพิเศษได้เรียนร่วมกับคนปกติได้และได้รับการยอมรับจากคนในชั้นเรียนหรือในสังคมเสมือนกับบุคคลทั่ว ๆไป  ดังนั้นการศึกษาแบบเรียนรวมมีความสำคัญมากผู้ปกครองและครูจะต้องให้การสนับสนุนร่วมกันในการจัดการศึกษา ดูข้อมล
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9655เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2005 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อาจารย์ประไพ สิทธิเลิศ

อนุรักษ์ ปรับข้อความหน้าเว็บใหม่ แบบนี้ยังใช้ไม่ได้  ภาพเจ้าของบล็อกให้อัพโหลดรูปของอนุรักษ์มาแทน  ไฟล์ข้อมูลยังไม่มี ให้เร่งจัดการให้แล้วเสร็จ ขอให้ใส่ใจและรับผิดชอบกับงานที่ได้รับมอบหมาย และควรฝึกใช้เว็บนี้บ่อยๆ ให้ชำนาญมากกว่านี้ อาจารย์ยังไม่ให้คะแนนจนกว่าจะเรียบร้อย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม
 ระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
- การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
- การเรียนร่วม
- บทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งชาติ (ฉบับร่าง)
- บทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการเขตการศึกษา (ฉบับร่าง)
การจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
หน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
วิวัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 ในระบบการจัดการศึกษาแต่เดิมจะจัดรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีคนคำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมามีกลุ่มเด็กพิการที่นักการศึกษาเห็นว่าสามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านั้น จึงได้มีกำเนิดการศึกษาพิเศษ (Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการศึกษาพอเศษให้เป็นระยะเวลาหนึ่ง มีกลุ่มนักการศึกษาได้พิจารณาเห็นว่า เด็กพิการกลุ่มหนึ่งสามารถพัฒนาได้มาก ได้มีการทดลองให้เด็กพิการเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป และเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
    จากคำจำกัดความของการเรียนร่วมและแนวทางการจัดการเรียนร่วมนี้ มีประเด็นสาระสำคัญอยู่ 2 ประเด็ก คือ
ข้อที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ หมายถึง เด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมโดยทางโรงเรียนจะมองว่า เด็กมีปัญหาจึงต้องปรับและเตรียมที่เด็ก
ข้อที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ โรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม ฉะนั้นหากเด็กได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริการและครูเข้าใจก็๗ะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากเด็กไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริหารและครูไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะไดรับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูง
 การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
         และยังให้คำจำกัดคามเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับประเทศต่างๆ ไว้ดังนี้
   "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยมีความเป็นมาตามลำดับ ดังนี้
        พ.ศ. 2478 การตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาภาคบังคับ ประกายยกเว้นให้เด็ก พิการไม่ต้อง เข้าเรียน
 พ.ศ. 2482 นางสาวเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (พ.ศ. 2431 - 2515) สตรีตาบอดชาวอเมริกันเริ่มก่อตั้ง โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้มีคณะบุคคลร่วมจัดตั้งมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการเรียนการสอนให้แก่เด็กพิการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เรียนช้า ตาบอด หูหนวก ร่างกายพิการ และเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยทดลองเปิดโครงการ และโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ โดยกรมสามัญศึกษาจัดตั้งหน่วยทดลองสอนเยาวชนหูหนวก 1 ห้อง เรียนในโรงเรียนเทศบาล 17 วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2495 มีการจัดตั้ง มูลนิธิเศรษฐเสถียร ขึ้นเพื่อร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเปิดเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวกในปีต่อมา และเปลี่ยนชื่อมูลนิธิเดิมเป็น มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก แทน โดยใช้ที่ดินพร้อมอาคารตึกของคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ บริจาคเป็นสถานที่เรียน ปัจจุบันโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเศรษฐเสถียร และในปี พ.ศ. 2507 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถได้โปรดเกล้าฯ ทรงรับมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิจึงมีชื่อใหม่เป็น มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์
 พ.ศ. 2499 นักเรียนพิการตาบอดได้เข้าเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีการทดลองนำเด็กเรียนช้าเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนปกติระดับประถมศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก 7 แห่ง คือ โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนวัดพญายัง โรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนสามเสนนอก และโรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม
พ.ศ. 2501 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้กองการศึกษาพิเศษจัดทำโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคโปลิโอ หรือโรคไขสันหลังอักเสบ ในโรงพยาบาลศิริราช มีการก่อตั้งมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือในการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธีอนุเคราะห์คนพิการ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และจัดตั้ง ศูนย์บริการเด็กพิการ ขึ้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อช่วยเหลือเด็กพิการที่ยากจน และมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดหรือไกลจากโรงพยาบาลศิริราชในกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2504-2508 มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ ร่วมกับกองการศึกษาพิเศษ จัดตั้งโรงเรียนสอนเด็กพิเศษ ขึ้น โดยมีบุคลากรฝ่ายบริหารและทำการสอนจากองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งต่อมากระทรวงศึกษาธิการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานชื่อให้ว่า โรงเรียนศรีสังวาลย์ ในปี พ.ศ. 2508
พ.ศ. 2504 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนสอนคนหูหนวกขึ้นอีกแห่งหนึ่งในเขตทุ่งมหาเมฆ
        พ.ศ. 2505 - 2509 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิทยาการ จากมูลนิธิอเมริกันเพื่อคนตาบอดโพ้นทะเล (American Foundation Overseas for the Blind)
พ.ศ. 2505-2507 มีการจัดตั้งมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขึ้นใน พ.ศ. 2505 และชั้นเรียนพิเศษในโรงพยาบาลปัญญาอ่อน เมื่อ พ.ศ. 2506 เพื่อสอนเด็กปัญญาอ่อน อายุระหว่าง 7-15 ปี โดยจัดตามระดับความสามารถเป็น 3 กลุ่ม คือระดับเรียนได้ ระดับฝึกได้ และระดับปัญญาอ่อนรุนแรง
พ.ศ. 2507 กรมสามัญศึกษาขยายการเปิดชั้นเรยนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินประเภทหูตึงขึ้นในโรงเรียนพยาไท ซึ่งเป็นชั้นเรียนพิเศษคู่ขนานกับชั้นประถมศึกษาปกติมีครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้สอนและฝึกแก้ไขการพูดให้นักเรียน
พ.ศ. 2512 - 2516 กรมการฝึกหัดครูอนุมัติการจัดตั้ง ศูนย์ทดลองสอนเด็กหูพิการชั้นเด็กเล็ก ขึ้นในวิทยาลัยครูสวนดุสิต พร้อมทั้งเปิดสอนวิชาการศึกษาพิเศษในระดับปริญญา เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2513
พ.ศ. 2531 กรมการฝึกหัดครูได้มอบให้สถาบันราชภัฎสวนดุสิตจัดให้มีการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิเศษ และครอบครัวโดยมีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำพ่อแม่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กพิการซึ่งมีอายุระหว่าง 0 -7 ปี เพื่อให้ได้พัฒนาการไปตามขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กปกติ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาได้ขยายโครงการสอนเด็กนักเรียนช้าและเด็กหูตึงเรียนร่วมในระดับประถมศึกษาออกไปอีกหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง โรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนประถมบางแค โรงเรียนประถมนนทรี โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกรมสามัญศึกษา
พ.ศ. 2520 - 2531 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กและบุคคลปัญญาอ่อน
ในปี พ.ศ. 2531 มูลนิธิฯ ได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพแบบโรงงานในอารักษ์ พร้อมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพแก่บุคคลปัญญาอ่อนวัยผู้ใหญ่ และได้รับพระราชทานชื่อว่า ศูนย์ฝึกอาชีพปัญญาคาร ตั้งอยู่ที่ซอยพระมหาการุณย์ จังหวัดนนทบุรี
        พ.ศ. 2523 - 2530 กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา ได้ขยายการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยรับโอนโรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2523) เดิมชื่อโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์กาวิละวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนขึ้นกับค่ายกาวิละและจัดตั้งโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2530)
        พ.ศ. 2529 สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ดำเนินงานจัดการเรียนร่วมภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการประถมศึกษาสำหรับเด็กพิการร่วมกับเด็กปกติ โดยมอบให้นักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ดำเนินงานทดลองจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการ 2 ประเภท คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

ในปี พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายปีการศึกษาเพื่อคนพิการขึ้นโดยมีคำขวัญว่า ""คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน"" รวมทั้งได้มีการจัดระบบโครงสร้างการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เพื่อขยายโอกาสให้กับคนพิการทุกกลุ่ม ทุกประเภท และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้
        1. การจัดให้มีคณะกรรมการระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
        2. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารจัดการการศึกษาเพื่อคนพิการ
        3. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา จำนวน 13 เขต ทำหน้าที่นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการดูแลงานวิชาการศึกษาพิเศษ
        4. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ทำหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม(EI) แก่เด็กพิการและครอบครัว และเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ รวมทั้งการดำเนินการคัดแยก ฟื้นฟูและส่งต่อคนพิการไปยังสถานศึกษา
        5. การจัดให้มีการเรียนร่วมในทุกสังกัดและทุกระดับการศึกษาทั้งในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชน
        6. การจัดโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
        7. การจัดการศึกษานอกระบบ
        8. การจัดการศึกษาโดยองค์กรเอกชน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        9. การจัดการสนับสนุนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย
        10. การสนับสนุนให้คนพิการได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา
การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
คนพิการสามารถรับการศึกษาได้ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีการจัดที่สำคัญอย่างน้อย 6 แบบหลัก ดังนี้
        1. การเรียนร่วม
        2. โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
        3. การจัดในครอบครัว
        4. การจัดโดยชุมชน
        5. การจัดในสถานพยาบาล
        6. การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ
        7. การจัดการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
การเรียนร่วม
การเรียนร่วม หมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
        การเรียนร่วม ในแนวคิดใหม่ เป็นความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration) ระหว่างครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนและบริการต่าง ๆ ให้กับนักเรียนในความดูแล
การเรียนร่วม อาจจัดได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
                1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน
                2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ
                3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน
                4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
                5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ
                6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
โรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ
เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนศึกษาพิเศษ เฉพาะประเภทความพิการแต่ละประเภทโดยจัดในทุกระดับตั้งแต่ชั้นเรียนเตรียมความพร้อมก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีทั้งการศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพ มีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะประเภทความพิการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละกลุ่ม มีการจัดทำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล การมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่เพียงพอและมีคุณภาพ
        1. การจัดในครอบครัว
        2. การจัดโดยชุมชน
        3. การจัดในสถานพยาบาล
        4. การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ
บทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งชาติ (ฉบับร่าง) มีดังนี้
1. วางแผน จัดทำงบประมาณ และกำกับดูแลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                2. เป็นศูนย์กลางข้อมูล รวมทั้งจัดระบบขอมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อคนพิการ
                 3. วิจัย และพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการศึกษา สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์สำหรับคนพิการ
                4. พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                 5. จัดระบบส่งต่อคนพิการ ประสานงานการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                 6. จัดระบบเทียบโอนการศึกษาสำหรับคนพิการ
                 7. จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพการศึกษาสำหรับคนพิการ
                 8. กำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ (เพื่อคนพิการ) ประจำจังหวัด โรงเรียนเฉพาะความพิการและหน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ
บทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการเขตการศึกษา (ฉบับร่าง)
1. วางแผน กำหนดนโยบายแผนงานการจัดการศึกษาพิเศษ ให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการแห่งชาติ
                2. เป็นศูนย์ข้อมูล รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อคนพิการ ระดับเขตการศึกษา
                3. วิจัยและพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการศึกษา สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์สำหรับคนพิการทุกประเภท
                 4. พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                 5. จัดระบบส่งต่อคนพิการ ประสานงานและกำกับดูแลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการในเขตพื้นที่
                6. นิเทศ ติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                7. ทำหนาที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ (เพื่อคนพิการ) ประจำจังหวัดในจังหวัดที่ตั้ง
นโยบายหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการประจำจังหวัด (ฉบับร่าง)
1. นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
                2. จัดทำและจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
                3. เป็นศูนย์ข้อมูล รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อคนพิการในพื้นที่
                4. ประสานงานด้านการศึกษาเพื่อคนพิการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                5. ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการเตรียมความพร้อมคนพิการ
                6. จัดระบบส่งต่อคนพิการและสร้างเครือข่ายการทำงานกับสถานศึกษา โรงเรียนและชุมชนในพื้นที่
                7. จัดระบบสนับสนุนการเรียนการสอน จัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก
                8. ส่งเสริม ประสานและร่วมจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลให้แก่คนพิการ
                 9. จัดทำรายงานการจัดการศึกษาคนพิการในจังหวัด
ศูนย์การศึกษาพิเศษของสถาบันราชภัฎ ซึ่งในปัจจุบันมี 6 แห่ง (www.rajabhatsped.com) คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร สถาบันราชภัฎเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎมหาสารคาม สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก สถาบันราชภัฎสงขลา และ สถาบันราชภัฎนครราชสีมา ทำหน้าที่ดังนี้
                1. ผลิตครูการศึกษาพิเศษ
                2. งานวิจัยและพัฒนา
                3. ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
                4. การให้บริการแก่นักศึกษาพิการเรียนร่วมระดับอุดมศึกษา
                5. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และสนับสนุนการเรียนร่วม
                6. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
การจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อคนพิการ เป็นการศึกษาที่จัดให้คนพิการได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ หรือตามศักยภาพ ความพร้อม และโอกาสของคนพิการเอง หรือคนพิการที่ไม่อาจเรียนรู้หรือได้รับประโยชน์จากวิธีการเรียนด้วยระบบอื่นใด โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งความรู้ต่าง ๆ การจัดทั้ง 2 รูปแบบนั้น มีหลักการร่วมกันคือ
                1. ไม่กำหนดอายุ
                2. หลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายเหมาะสมกับความแตกต่าง ของคนพิการ
                3. ส่งเสริมระบบเครือข่ายในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ (www.rajabhatsped.com)
การจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย มีวัตถุประสงค์ คือ
                1. เพื่อให้คนพิการได้รับโอกาสทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
                2. เพื่อให้คนพิการสามารถปรับตัวให้เข้ากับชุมชนและท้องถิ่น
                3. เพื่อให้ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน และสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
        โดยแยกการจัดเป็น 3 กลุ่ม คือ
                1. หน่วยงาน/องค์กรเอกชน
                2. ครอบครัว/ชุมชน
                3. ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
        สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนของคนพิการได้ เมื่อผ่านการประเมินจากคณะกรรมการประเมินแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) จากการประสานงานระหว่าง
                1. ศูนย์การศึกษาพิเศษ
                2. หน่วยงาน/องค์กร ครอบครัว/ชุมชน ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ที่จะจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
                3. หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกโรงเรียน (กรมการศึกษานอกโรงเรียน)
หน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
การพัฒนาคนพิการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และทำประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติได้เต็มศักยภาพนั้น ต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของคนพิการแต่ละวัย แต่ละประเภท และแต่ละบุคคล โดยจะต้องพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้านหลักแบบองค์รวม คือ การบำบัดฟื้นฟูด้านการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ สวัสดิการและสังคม การดำเนินงานเพื่อพัฒนาแบบองค์รวมดังกล่าว จึงมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องบริหารจัดการในลักษณะเครือข่ายเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
        กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ จึงได้กำหนดนโยบายและมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลาง และภูมิภาครวมกันรับผิดชอบ จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละกรม ดังนี้
                1. ทุกกรมที่มีสถานศึกษารับผิดชอบจัดการเรียนร่วม ตามระดับการศึกษาที่แต่ละกรมรับผิดชอบ
                2. ให้จัดการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการในโรงเรียนการศึกษาเฉพาะความพิการเท่าที่จำเป็น และส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
                3. กรมการศึกษานอกโรงเรียน ทำหน้าที่จัดการศึกษาให้คนพิการนอกระบบโรงเรียน ในหลักสูตรที่หลากหลายทั้งสายสามัญ และสายอาชีพตามความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละบุคคล
                4. กรมที่ไม่มีสถานศึกษา ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการสามารถจัดได้อย่างดี มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ตามนโยบายและภารกิจที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
                5. ให้ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตและจังหวัด ประสานงานทั้งกับครอบครัว ชุมชน สถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เพื่อให้คนพิการได้รับการพัฒนาแบบองค์กรวมตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ
ปรัชญา
คนพิการเป็นทรัพยากรบุคคลของสังคม หากไดรับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง ย่อมมีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพที่จะประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้งการช่วยสร้างสรรค์สังคมได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การส่งเสริมพัฒนาคนพิการให้เต็มศักยภาพ ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การค้นพบความพิการ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การให้การศึกษา การพัฒนาทักษะสังคม การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
         การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถคนพิการให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention Services) ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ ให้การศึกษาอบรมให้รู้จักสิทธิ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี มีอาชีพ มีงานทำ สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม ช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
         ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะจัดการศึกษาให้กับคนพิการในลักษณะการเรียนร่วม (Integrated Education or Mainstreaming) และการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ แต่ก็ถือว่าประเทศไทยนั้นได้พยายามจัดการศึกษาให้เด็กโดยสนับสนุนสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลือทาการศึกษา
         การเรียนร่วม หมายถึง การจัดเตรียมความพร้อมให้กับเด็กพิการจนถึงระดับหนึ่ง แล้วส่งเด็กพิการไปเรียนร่วมในระบบโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดได้หลายรูปแบบและมีลักษณะการจัดที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเลื่อนไหลได้ตามตามต้องการพิเศษของเด็กแต่ละบุคคล
         การศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ หมายถึง การศึกษาที่จัดในโรงเรียนการศึกษาพิเศษให้กับเด็กพิการแต่ละประเภทความความพิการ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส
นั่นย่อมหมายถึงคนพิการทุกประเภทมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ร่วมทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้
กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยการจดทะเบียนคนพิการ พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2542)
กฎหมาย นโยบาย และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
พระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
         จากพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ได้กล่าวไว้ในมาตราต่าง ๆ เช่น

                มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติ นี้
         "คนพิการ" หมายความว่า คนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแบ่งประเภทของความพิการออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
         1. คนพิการทางการมองเห็น
         2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย
         3. คนพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
         4. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
         5. คนพิการสติปัญญาหรือการเรียนรู้
                มาตรา 14 ได้กล่าวว่าให้คนพิการซึ่งประสงค์จะได้รับสิทธิในการส่งเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการหรือต่อนายทะเบียนจังหวัด ณ ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
                มาตรา 15 คนพิการที่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 14 ให้ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพดังต่อไปนี้
                  (1) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                  2) การศึกษาตามกฎว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับหรือการศึกษาสายอาชีพ หรืออุดมศึกษาตามความเหมาะสม ซึ่งให้ได้รับโดยการจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะหรือจัดในสถานศึกษาธรรมดาก็ได้
                  (3) คำแนะนำชี้แจงและปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และการฝึกอาชีพที่เหมะสมกับสภาพของร่างกายและสมรรถภาพที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้
                  (4) การยอมรับและส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับคนพิการ
                  (5) บริการจากรัฐในการเป็นคดีความ และในการติดต่อกับทางราชการโดยมีกฎกระทรวงออกตามมาและกล่าวว่า เมื่อคนพิการได้จดทะเบียนแล้วจะได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
                           1. การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่น ๆ
                           2. การให้คำแนะนำปรึกษา
                           3. การให้ยา
                           4. การศัลยกรรม
                           5. การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู
                           6. กายภาพบำบัด
                           7. กิจกรรมบำบัด (อาชีวบำบัด)
                           8. พฤติกรรมบำบัด
                           9. จิตบำบัด
                           10.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท