ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในหน่วยงาน


ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในหน่วยงาน  หมายถึง การที่หน่วยงานสถานศึกษามีรูปแบบที่ชัดเจนของการรวบรวมฐานความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน/องค์กร ซึ่งลักษณะของความรู้ มี 2 ประเภท คือ

          ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน  (Tacit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในตัวคน  ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์  หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น  ทักษะในการทำงาน  งานฝีมือ  หรือการคิดเชิงวิเคราะห์  จึงต้องมีกระบวนการในการจัดการความรู้วิธีการต่าง ๆ ที่จะสกัดเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนออกมาเผยแพร่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

          ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่ปรากฏในเอกสาร  บันทึก  หรือรายงานต่าง ๆ  ขององค์กร  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม  ถ่ายทอดได้

          ดังนั้น  จึงต้องมีระบบการจัดการความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือในเอกสารขององค์กร  นำมาพัฒนาเป็นองคค์วามรู้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ  และมีการถ่ายทอดและเผยแพร่แบ่งปันความรู้อย่างเป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าถึงความรู้และพัฒนาหน่วยงาน/สถานศึกษา  ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization)  ที่ยั่งยืนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 96119เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท