การกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยั่งยืน


       พอดีผู้เขียนได้รับหนังสือ "ทะลุมิติเศรษฐกิจการคลังไทย" แต่งโดย ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในหนังสือเล่มนี้มีเรื่องทางเศรษฐกิจที่สำคัญและนักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปควรจะได้อ่านเพื่อจะทำให้เห็นภาพรวมทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ว่ากระทรวงการคลังได้ดำเนินการและมีเครื่องมือทางเศรษฐกิจอะไรบ้างที่จะช่วยเป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจในปัจจุบันได้และภาครัฐมีมาตรการทางเศรษฐกิจอะไรที่จะช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจได้

      ขอยกตัวอย่างเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนซึ่ง ดร.สมชัย สัจจพงษ์ มีความเห็นว่า โดยปกติแล้วนักเศรษฐศาสตร์จะวัดผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง หรือ Real GDP และการที่จะทำให้ GDP โตได้นั้น เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญมี 4 เครื่อง คือ (1) เครื่องยนต์ด้านการบริโภคของเอกชน (2) เครื่องยนต์ด้านการลงทุนของเอกชน (3) เครื่องยนต์ด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล และ (4) เครื่องยนต์ด้านการค้าขายระหว่างประเทศ

       ดร.สมชัย สัจจพงษ์ มีความเห็นว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นเครื่องยนต์เศรษฐกิจทั้งสี่ข้างต้น หากทำได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ GDP ก็สามารถที่จะโตได้ แต่หากถามว่าเมื่อรัฐบาลประสบผลสำเร็จในการกระตุ้นเครื่องยนต์ทั้งสี่แล้วเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนหรือไม่ รัฐบาลต้องดำเนินการในการกระตุ้นฟากอุปทานของเศรษฐกิจด้วย โดยการกระตุ้นฟากอุปทานสามารถกระทำได้ผ่านการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและบริการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การปฏิรูประบบสาธารณสุข ระบบการศึกษา และระบบราชการ แม้ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านอุปทานเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา แต่ถ้าสำเร็จเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 

       ผู้เขียนเห็นด้วยกับความคิดเห็นของ ดร.สมชัยฯ เพราะการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจคงต้องใช้องค์ประกอบหลายๆ ด้านในการช่วยกันพลิกฟื้นปัญหาทางเศรษฐกิจให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

หนังสืออ้างอิง : ดร.สมชัย  สัจจพงษ์. ทะลุมิติเศรษฐกิจการคลังไทย.บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด : กทม., 2548.

http://learners.in.th/blog/vayupak/51004

http://learners.in.th/blog/vayupak

หมายเลขบันทึก: 95873เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท