พัฒนาตน


พัฒนาตน
การน้อมนำเอากระแสพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ **************** ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการคอร์รัปชั่น เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับบุคคลและครอบครัวก่อนแล้วจึงกระจายออกไปสู่สังคมส่วนรวม และปัญหาความยากจนของคนนี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ดังนั้น พวกเราควรที่จะน้อมนำเอาพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความสุขของชีวิตกันดีกว่า ซึ่งดิฉันเพิ่งจะพูดเชิญชวนข้าราชการในหน่วยน้อมนำไปปฏิบัตเมื่อเร็วๆ นี้เอง มีอยู่ ๓ ประการที่สำคัญ ๆ ดังนี้ค่ะ ๑. คุณธรรม ๔ ประการ ซึ่งได้พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ไว้ดังนี้ ประการที่ ๑ คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม ประการที่ ๒ คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสัจความดีนั้น ประการที่ ๓ คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ประการที่ ๔ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรม ๔ ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง และบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์ ๒. พอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ - ให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ประมาท มีอะไรก็ใช้อย่างนั้น รู้จักคำว่า “พอ” - ยึดหลัก 1A - 3R ได้แก่ (ได้มีโอกาสฟังคำเทศนา จากพระภิกษุวัดพระราม ๙ ฯ ) Avoid การหลีกเลี่ยงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย Reduce ลด ละ เลิก ของใช้ที่มีราคาแพง และอบายมุขต่างๆ Reused ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า Recycle นำของที่ใช้แล้ว มาซ่อมแซม ปรับปรุง ประยุกต์ เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ๓. ยึดหลักการพัฒนาจิตใจ ยอมรับสภาพความเป็นจริง มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง ยกระดับมาตรฐานจิตใจให้รู้จักว่า “มีก็ดี ไม่มีก็ได้” ใจต้องไม่ฟูแฟบไปตามสิ่งที่มากระทบ ใช้หลักธรรมะในการครองตน มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม ความสุขจะเกิดขึ้น ทั้ง ๓ ประการข้างต้น สำหรับท่านใดยังไม่ได้ปฏิบัติ ขอให้ลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ --------------------------------
คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาตน
หมายเลขบันทึก: 95636เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

ชอบมากๆเลย ประโยคนี้ ปฏิบัติอยู่ค่ะ

ทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง ยกระดับมาตรฐานจิตใจให้รู้จักว่า “มีก็ดี ไม่มีก็ได้” ใจต้องไม่ฟูแฟบไปตามสิ่งที่มากระทบ ใช้หลักธรรมะในการครองตน มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม ความสุขจะเกิดขึ้น ทั้ง ๓ ประการข้างต้น สำหรับท่านใดยังไม่ได้ปฏิบัติ ขอให้ลองนำไปปฏิบัติดูนะคะ

ผมก็พยายามพัฒนาตนเองอยู่นะครับ ผมกำลังพยายามปรับตัวเข้าหาสังคมที่ผมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักศึกษา ผมเคยพูดกับนักศึกษาของผมเสมอว่าเมื่อใดที่เราไม่ถึงจุดที่ลำบากที่สุดในขณะหนึ่งเมื่อนั้นเราจะไม่ได้พบกับสันดานที่แท้จริงของคนคนนั้น ผมจึงพยายามสร้างความลำบาก สร้างสถานการณ์ต่างๆ ให้เด็กขณะที่ออกค่าย และมันก็คุ้มค่ากับสิ่งที่ผมพยายามทุ่มเทให้กับเขา

สวัสดีค่ะ และขอบคุณค่ะที่ชอบ  ได้ปฏิบัติแล้ว         มีความสุขจริงจริง นะคะ 

P
                                                                     

*บทความอาจจะอ่านยากไปหน่อย พยายามแล้วแต่ก็ยังได้แค่นี้ค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ
P
 ขอบคุณค่ะ  คุณ นนทรีผลิดอก
ดีจังค่ะ ขอชื่นชมกับสิ่งที่คุณกำลังทุ่มเทอยู่  นอกจากมีประโยชน์กับตัวเองแล้ว ลูกศิษย์ของเราก็ได้รับประโยชน์และสิ่งดีดีนี้ด้วยเช่นกัน  เวลาดิฉันสอนลูกศิษย์ก็จะนำไปบอกกล่าวเชิญชวนให้นำไปปฏิบัติกันโดยเฉพาะในสภาวการณ์ตอนนี้ด้วย นำหลักการนี้ไปปฏิบัติจะยิ่งดีค่ะ

สว้สดีค่ะคุณจิราพร

ตามมาอ่านพระราชดำรัสค่ะ  เห็นด้วยทุกประการค่ะ

มีรูปล้นเกล้าชาวไทยอยากให้เข้าไปดูค่ะ http://gotoknow.org/blog/Ranee/96175

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณRanee ขอบคุณที่ตามมาอ่านค่ะ
  • ดิฉันบ้านอยู่สุโขทัย  เคยทำงานอยู่ที่กองบินที่พิษณุโลกเมื่อปี 44 ค่ะ ดีจังค่ะที่ได้รู้จักคนบ้านใกล้เรือนเคียง
  • มีอะไรจะแนะนำ ยินดีค่ะ
  •  


     

     

     

     

     

    ราณีไปสอนสุโขทัยทุกอาทิตย์ด้วยค่ะ

    • ดีจังค่ะที่เด็กสุโขทัยมีอาจารย์ที่น่ารัก ๆ อย่าง อ.Ranee

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท