31 : ความเสี่ยงต่อโรคของผู้ทุพพลภาพ 3


ถ้าเป็นเรื่องกระเพาะปัสสาวะ ผมคงจะต่างจากผู้ทุพพลภาพท่านอื่น เพราะผมมีเชื้อแบคทีเรียเป็นเพื่อนอยู่ จึงต้องระวังมากกว่าผู้ป่วยท่านอื่น แต่ในรายละเอียด หรือวิธีการคงไม่ต่างกัน
ขอโทษครับทุกคน ไม่กล้าบอกว่าต้องกี่ตอนถึงจะจบเรื่อง ความเสี่ยงต่อโรคของผู้ทุพพลภาพ ขอเขียนไปเรื่อยๆ ละกันครับ คราวก่อนผมกล่าวถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบขับถ่าย คราวนี้ผมขอพูดเกี่ยวกับ

8. โรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ และไต

ถ้าเป็นเรื่องกระเพาะปัสสาวะ ผมคงจะต่างจากผู้ทุพพลภาพท่านอื่น เพราะผมมีเชื้อแบคทีเรียเป็นเพื่อนอยู่ จึงต้องระวังมากกว่าผู้ป่วยท่านอื่น แต่ในรายละเอียด หรือวิธีการคงไม่ต่างกัน

เกิดความเสี่ยงต่อโรคนี้เพราะว่า ผู้ป่วยไม่สามารถขับปัสสาวะได้เอง จำเป็นต้องสวนปัสสาวะด้วย 2 วิธี คือ สวนปัสสาวะแบบคาไว้ 24 ชั่วโมง และสวนเมื่อทราบว่าปวดปัสสาวะ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะในระดับที่ต้องสวนออก

เท่าที่ผมพอมีความรู้ คือกระเพาะปัสสาวะคนปกติ จะจุได้ 500-1,000 ซีซี (C.C.) คือเกือบลิตร ปวดมากๆ แต่สำหรับผู้ป่วยแล้ว ไม่สามารถขับได้เอง ความยืดหยุ่น หรือการขยายขนาดของกระเพาะคงไม่เท่าคนปกติ ส่วนมากผู้ป่วยก็จะสังเกตุจากอาการร่วม เช่น รู้สึกขนลุก หรือสังเกตุจากการกดที่บริเวณกระเพาะ จะเต่งๆ ความจุก็คง 500-700ซีซี ก็ขนลุกซู่แล้วครับ

ดังนั้นผู้ป่วยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ เมื่อมีสัญญาณใดๆ ก็ตามที่บ่งบอกว่า ต้องสวนปัสสาวะแบบชั่วคราวแล้ว ก็ต้องรีบทำทันที อีกทางหนึ่งคือก็ต้องควบคุมปริมาณน้ำเข้าด้วย เช่นถ้าเรารู้ว่าต้องเข้าประชุม หรือทำธุระที่อาจจะปลีกตัวลำบาก หรือในสถานที่นั้นสวนลำบาก ก็ดื่มน้ำน้อยหน่อย เวมื่อสะดวกก็ดื่มมากๆ เพื่อชดเชย

ส่วนผมแก้ปัญหาที่กล่าวทั้งหมดด้วยการสวนสายคาไว้ 24 ชั่วโมง และเหตุผลหลักผมกลัวเรื่องติดเชื้อ แต่โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยทุพพลภาพ ถ้าละเลยเรื่องนี้อาจเกิดภาวะ น้ำปัสสาวะเต็มและล้น " ท่อนำปัสสาวะ " จนไปถึงกรวยไต จนอาจเกิดภาวะกรวยกรวยไตบวม และอักเสบได้ ส่วนการคาสายแบบผมก็ต้องดู฿แลไม่ให้ถุงเก็บปัสสาวะเต็ม จนเกิดผลกระทบเหมือนที่ผมอธิบาย

ในข้อนี้ดูจะใกล้เคียงกับการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเกิดได้กับทุกคนที่อั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิง จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ชาย แต่ที่ผมแยกเรื่องออกมาเพราะถ้าเป็นคนปกติจะเกิดความเสี่ยงที่จะมีปัญหาที่ไตน้อยกว่าคนทุพพลภาพ ในขณะที่การติดเชื้อก็เป็นได้พอๆ กันถ้าองค์ประกอบของการอั้นปัสสาวะใกล้เคียงกัน เพียงแต่ผู้ทุพพลภาพอาจจะรุนแรงกว่า

ถึงตรงนี้ขอย้ำอีกทีว่า เป็นประสบการณ์ และความรู้ ความคิดของผมคนเดียว ผมยังคงต้องการ " ผู้รู้ " ในการ comment เพื่อความถูกต้องเชิงวิชาการครับ ขอบคุณไว้ล่วงหน้าก่อนเลยครับ

9. ผมคิดว่าคงไม่พ้น ภาวะทางจิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความเป็นจริงถึง 2 ภาวะการณ์ ภาวะแรกเป็นตอนที่ทราบใหม่ๆ ว่าต้องเป็น "ผู้ทุพพลภาพ" ต่อมาคือการต้องต่อสู้กับตัวเอง และสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยทุกคนจะต้องประสบต่างๆ กัน แต่ผมถือว่ามีภาพรวมอย่างหนึ่งที่ไม่ต่างกัน ก็คือ การต่อสู้กับตัวเอง อยู่ที่ว่าใครจะชนะตัวเอง และมองไปข้างหน้า

ดังนั้นผู้ป่วยทุกคนต้องผ่านด่านสำคัญ ด่านนี้ ไปให้ได้ เพื่อที่จะไม่ต้องเสี่ยงต่ออาการป่วยทางจิต อาจเลยไปถึงความเครียด ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งแม้แต่คนปกติก็ยังเลี่ยงไม่พ้น ถ้าต้องสู้กับความดครียด

10. โรคหูน้ำหนวก

ผมเคยดูรายการ "ถึงลูก ถึงคน" ครับ มีพี่ผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นผู้ทุพพลภาพแบบครึ่งตัว คือมือใช้ได้ แต่เห็นแกพูดถึงว่าเป็นหูน้ำหนวก เพราะน้ำเข้าหูเวลาสระผม ตรงนี้ผมพอจะช่วยอธิบายให้เห็นภาพได้บ้าง เพราะเป็นประสบการณ์ตรงอย่างหนึ่งเช่นกัน

คือคุณแม่ผม ไว้ผมยาวถึงหลัง (คุณผู้หญิงในรายการ ก็ไว้ผมยาวเหมือนกัน) เวลาสระผม ก็ต้องสระนาน น้ำจึงเข้าหู ทำให้หูอักเสบ มีน้ำหนวกออกบางครั้ง ผมจึงคิดเอาเองว่า คงไม่เกี่ยวกับการเป็นผู้ทุพพลภาพ ซึ่งในความเป็นจริงผมจะขอให้ตัดผมตลอด เพราะอายุมากแล้ว ไว้ผมสั้นดีกว่า ดูแลง่าย ปัจจุบันนี้ ท่านก็ตัดผมแล้ว ทำให้หลายๆ อย่างดีขึ้น การดูแลก็ง่ายขึ้น

ดังนั้นแล้ว ผมคิดว่าผู้ทุพพลภาพ ควรจะทำตัวเองให้ง่ายต่อการดูแล เช่นตัดผมสั้น ทานง่ายๆ ลดขั้นตอนบางอย่างที่ไม่มีผลกระทบมาก เช่นการอาบน้ำ อาจจะสลับกับการเช็ดตัวได้ เป็นต้น

ตอนนี้ผมขอแค่นี้ก่อนนะครับ

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 089-6910225
Tel. & Fax.: 02-9232724
email : [email protected]
คำสำคัญ (Tags): #ผู้ทุพพลภาพ
หมายเลขบันทึก: 95435เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท