Monitoring & Evaluation (M&E) ด้วย OM ตอนที่ 12 (ตอนสุดท้ายของ OM)


การประเมินโดยใช้ OM จะไม่เห็นนักเรียนเรียนตกซ้ำชั้น หรือ ย่ำอยู่กับที่ แต่ให้ข้อสังเกตว่า จะเดินไปเส้นทางไหนดี มีเส้นทางให้สานผันต่อได้ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลลัพธ์อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนวัตกรรมได้อย่างไม่คาดคิด

OM ขั้นตอนที่  8  การจัดลำดับความสำคัญของการติดตามงาน
OM ขั้นตอนที่  9  แบบบันทึกการติดตามผลลัพธ์ (outcome journal)
OM ขั้นตอนที่ 10 แบบบันทึกการติดตามยุทธศาสตร์ (strategy journal)

OM ขั้นตอนที่ 11 แบบบันทึกการติดตามการดำเนินงาน (performance journal)

 

ตอนที่ 12 แผนการประเมินผล (Evaluation Planning)

              เป็นที่รู้กันว่า การประเมินแบบทั่วไปที่ใช้กันอยู่ เป็นแบบประเมินที่ผลลัพธ์ หรือ จุดหมายปลายทาง  ไม่ค่อยให้ความสนใจกับกระบวนการ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน

              ในขณะที่  OM  ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม  หวังเห็นการปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา  ดังนั้น ผลลัพธ์จึงไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด

               เมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลลัพธ์อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนวัตกรรมได้อย่างไม่คาดคิด

               ดังนั้น การประเมินโดยใช้  OM จะไม่เห็นนักเรียนเรียนตกซ้ำชั้น หรือ ย่ำอยู่กับที่  แต่ให้ข้อสังเกตว่า จะเดินไปเส้นทางไหนดี  มีเส้นทางให้สานผันต่อได้

               OM  น่าจะเหมาะกับโครงการที่ไม่ใช่เส้นตรง หรือ แบบตรงไปตรงมา  เหมาะกับโครงการที่มีมิติเชิงลึก  โดยเฉพาะทางด้านสังคม ที่ให้ใจในเรื่องนวัตกรรม และการปรับเปลี่ยน

               กลับมาที่ขั้นตอนสุดท้ายของการใช้ OM คือ การวางแผนประเมินผล  ต้องรู้ว่า จะประเมินเพื่อใคร  ประเมินอะไร  ประเมินตรงไหน  ประเมินอย่างไร  ประเมินโดยใคร  ประเมินเมื่อไหร่  และประเมินเท่าไหร่ คือ สิ่งที่ต้องระบุให้ชัดเจนในแผนการประเมินผล

ประเด็นสำคัญในการประเมิน
•  อะไรคือสิ่งที่แผนงานต้องการรู้เกี่ยวกับโครงการ
•  อะไรคือสิ่งที่ต้องรายงาน
•  อะไรคือข้อมูลที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่ทำอยู่
•  อะไรคือ พื้นที่ หรือ ประเด็นที่แผนงานต้องการรู้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงที่ดีขึ้น
•  อะไรคือความรู้ที่ยังขาดอยู่ของแผนงาน
•  อะไรคือความรู้ที่ยังขาดอยู่ของภาคีหุ้นส่วน
•  มีประเด็นใดบ้างที่ได้จากการติดตามการทำงาน ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมในระดับลึก
•  แผนงานจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยให้ภาคีหุ้นส่วนเกิดกระบวนการเรียนรู้และแสดงความรับผิดชอบได้มากขึ้น

                  แผนการประเมินผล จะระบุถึงประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล ได้แก่ ประเด็นที่จะประเมิน  แนวทางการใช้ผลจากการประเมิน  คำถาม  แหล่งข้อมูล  วิธีการประเมินผล  ทีมประเมินผล วันเวลาที่ทำการประเมินผล และงบประมาณ

                  แม้การประเมินผลนั้น ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของแผนงาน แต่ก็สามารถใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้  ตั้งคำถามต่อสมมุติฐาน  วางแผนงานในอนาคต  รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องในการประเมินผล

                 เครื่องมือ  OM  เป็นเครื่องมือเพื่อการติดตามและประเมินผล ตั้งแต่เริ่มจนจบ ทำให้เห็นการวางแผน - การดำเนินงาน - สภาวะแวดล้อม/ปัจจัยเอื้อ - ผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสีย/ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด  เหมือนได้ดู เรียลลิตี้ เลย

คำสำคัญ (Tags): #expression#limelight#outcome_mapping
หมายเลขบันทึก: 95383เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้อ่าน M&E กับ OM ขั้น8-12สนใจมากเลย

อยากได้ขั้น 1-7ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท