บทถอดความ ต่อกร กฎระเบียบด้วย การบริโภคความน่ารัก ตอน 2


อรรถธิบาย และบทสรุป มุมมองการศึกษาวาทกรรม และวัฒนธรรม การบริโภควัฒนธรรมความน่ารักแบบญี่ปุ่น

ต่อกร กฎระเบียบด้วย การบริโภคความน่ารัก

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ไบรอัน เจ. แมคไว Brain J. McVeigh</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถอดความจาก Brain J. McVeigh (2000) “Countering the Official Code by “Consuming Cuteness” ” in Wearing Ideology: State, Schooling and Self-Presentation in Japan, Berg: Oxford, pp.157-181.
เรียบเรียงโดย เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ
</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
 </p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ความน่ารักระดับสถาบันหรือองค์กร</p><p>
      จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าความน่ารักก็คือการต่อต้านขัดขืนระบบระเบียบชนิดหนึ่ง เพียงแต่ดำเนินหรือเป็นไปอย่างสงบ ไม่ร้ายแรงหรือเป็นอันตรายใดๆ และไม่ใช่ตัวชี้วัดสำนึกความรู้ผิดชอบ ทุกคนคาดเดาผลของพฤติกรรมได้ </p>

 

</span></strong><p></p><p>นั่นคือเป็นการขัดขืนทางการเมืองที่ได้รับการยอมรับไปโดยปริยาย      วาทกรรมความน่ารักยังปรากฏในรูปของวัตถุที่สื่อแสดงภาพลักษณ์ของบริษัทห้างร้าน องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันครอบครัวในบางกรณี และรูปลวดลายที่นิยมมากที่สุดตลอดกาลคือรูปลาย สัตว์</p><p>
      สายการบิน ANA (All Nippon Airways) เลือกลวดลายน่ารักๆ อย่างลายการ์ตูนยอดนิยมพีนัตส์ (Peanuts) มิกกี้เม้าส์ และตัวการ์ตูนเอก 5 ตัวจากเรื่องโปเกมอน (Pokemon กร่อนมาจากคำว่า Pocket Monsters) มาพิมพ์ลายบนเก้าอี้นั่งและถ้วยน้ำดื่มที่ใช้บริการลูกค้า</p>
<p>
      สายการบิน JAL (Japan Airlines) ก็เช่นกัน แต่รายนี้ดูท่าไม่สำเร็จ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงของบริกรสาวบนเครื่องที่ไม่พอใจในชุดเครื่องแบบลวดลายรูปสัตว์หน้าตาตลกๆ เสียก่อน</p>
<p> </p>


      เหตุการณ์นี้น่าสนใจตรงที่เหตุผลของบริกรสาวระบุว่า การสวมชุดเครื่องแบบลวดลายตัวการ์ตูนรูปสัตว์ต่างๆ นั้น เท่ากับเป็นการดูถูกทางเพศและความเป็นมนุษย์แบบหนึ่ง โดยเปรียบพวกเธอเป็นดั่งสัตว์ตัวน้อยที่ต้องคอยการปกป้องดูแล โอบอุ้ม ประคบประงม รวมทั้งการถูกควบคุม ซึ่งเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีสตรีอย่างพวกเธอลงไปเท่ากับสิงสาราสัตว์เหล่านั้น

</span><p>
      มีรายงานว่า โรงงานผลิตตุ๊กตาหมีสัญชาติเยอรมันยอมรับว่าได้ผลิตตุ๊กตาหมี (Teddy Bear) ประเภทจำกัดจำนวนเป็นพิเศษในญี่ปุ่นถึง 9 ประเภทด้วยกัน และเรียกชื่อใหม่ว่า Japan Teddy รวมทั้งตุ๊กตามิฟูยุ (Mifuyu แปลว่าฤดูหนาวอันสวยงาม) และตุ๊กตาหมีตัวพิเศษสำหรับเทศกาลกีฬาโอลิมปิคที่เมืองนากาโน้ในปี 1998</p>
<p>
      ถึงแม้จะมีตัวการ์ตูนรูปสัตว์มากมายที่ถูกนำมาใช้สื่อถึงความน่ารัก อาทิ ตัวหนู หนูพุ๊ก (hamsters) และหมี แต่ก็มีสัตว์บางชนิดที่ไม่เคยถูกมองว่าน่ารักเลย อย่างเช่นกวางกาโมชิกะ (kamoshika) อันเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า เพราะเหตุนี้เอง กวางกาโมชิกะจึงสูญพันธุ์ไปในท้ายที่สุด</p>
<p>
      ครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยหรือสถาบันที่เล็กที่สุดก็เช่นเดียวกัน ไบรอันกล่าวว่า ถุงมือของสาวน้อยที่มีรูปรอยลวดลายสัตว์ขนาดเล็กๆ ก็เป็นพื้นที่สื่อถึงความเป็นครอบครัวได้ อาทิ นิ้วกลางที่หมายถึงมารดา ทำเป็นรูปการ์ตูนสวมหมวก ทาลิปสติ๊ก สวมสร้อยคอไข่มุกและต่างหู ขณะที่นิ้วชี้ (หมายถึงบิดา) เป็นลายผู้ชายสวมหมวก แว่นตา และเน็คไทสีเขียว ในที่นี้ การสร้างหรือกล่อมเกลาความรู้สึกเด็กสาวให้นึกถึงครอบครัวของตนอาจยังไม่ชัดนัก แต่ที่แน่ๆ นักออกแบบถุงมือคู่นี้เจาะจงสื่อเช่นนั้น</p>
<p>
      ไบรอันยังระบุด้วยว่า ภาชนะ เสื้อผ้า และของเล่นเด็กรูปรถ เรือ และจรวดน่ารักๆ ที่เห็นกันทั่วไปในห้างสรรพสินค้าและตามโรงแรม ล้วนเป็นการใช้ ความน่ารักเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กได้เรียนรู้โลกของผู้ใหญ่ที่พวกเขาจำต้องเผชิญในโลกแห่งความเป็นจริง </p>
<p>
      อีกตัวอย่างคือ ของเล่นยอดฮิตอย่าง ทามาก็อตจิ” (tamagotchi หรือ tamagotch) สัตว์เลี้ยงเสมือนจริง (virtual pet) ผลงานการประดิษฐ์ของ อากิ มาอิตะ (Aki Maita) ถือเป็นการค้าขายความน่ารักที่เปลี่ยนจากสัตว์เลี้ยงมีชีวิตจริงๆ ไปสู่สัตว์เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้เลี้ยงสามารถพกพาติดตัวไปไหนต่อไหนก็ได้เพราะมีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่เกะกะ ไม่เป็นปัญหาต่อพื้นที่ใช้สอยในที่พักอาศัยอันคับแคบของคนเมือง และรูปทรงกลมกลึงที่คล้ายไข่ไก่แสนน่ารัก น่าสัมผัสนั้น แม้แต่ผู้ใหญ่ก็อดซื้อหามาเลี้ยงมาเล่นเองไม่ได้ </p>
<p>
      “สัญชาตญาณแห่งความเป็นแม่” (maternal instinct) ยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไบรอันยกมาสนับสนุนปรากฏการณ์ความนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงตัวนี้      ที่สำคัญ ของเล่นชนิดนี้ ยังสร้างความรู้สึกของความเป็นพวกพ้องหรือกลุ่มก้อนเดียวกันในหมู่ผู้รักและหลงใหลเจ้าทามาก็อตจ์ เป็นชุมชนคนรักเจ้าไก่ทามาก็อตจ์ ทั้งๆ ที่ของเล่นหรือสัตว์เลี้ยงชนิดนี้เล่นได้เพียงคนเดียว และสมาชิกในชุมชนนี้ก็ไม่จำเป็นต้องพบเจอกันแต่อย่างใด</p>
<p>
      ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันดังกล่าวได้ขยายความนิยมข้ามขอบเขตประเทศสู่สากล น่าทึ่งที่สิ้นปีค.ศ.1997 มีรายงานว่าของเล่นชิ้นนี้ขายในประเทศญี่ปุ่นได้ถึง 15 ล้านชิ้น และ 20 ล้านชิ้นในต่างประเทศทั่วโลก</p>
<p>
      ในโลกของการค้าและการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ความน่ารักยังถูกนำไปใช้เป็นกุศโลบายชี้ชวนให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและเชื่อตาม เช่น คู่มือแนะนำสินค้าและบริการที่พูดคุยสอนสั่งผู้ใช้อย่างทื่อๆ ไม่ต่างอะไรกับหุ่นยนตร์ คงใช้ไม่ได้ผลเมื่อเทียบเคียงกับคุณูปการของภาพนักแสดงตลกขำขัน แม่หญิงยิ้มหวานเย้ายวนใจ และความสดใสของเด็กๆ ซึ่งให้ภาพของความรู้สึกเสมือนมิได้ถูกบังคับให้ชมและรับสารในโฆษณา</p> <p>
      เรือนร่างของเรายังใช้เป็นพื้นที่แสดงความน่ารักได้อีก อาทิ ลวดลายน่ารักๆ บนเล็บมือและเล็บเท้าที่วาดเป็นรูปการ์ตูนเจ้าหมีพูห์ (Winnie the Pooh) เจ้าตูบลายจุด (101 Dalmatians) และสิงโตเจ้าป่า (Lion King)</p>
<p></p>


      ในหมู่วัยรุ่นสาว นามบัตรที่เรียกว่า เมอิชิ” (meishi) น่ารักๆ เต็มไปด้วยรายละเอียดของไลฟ์สไตล์ผู้ครอบครองบัตร ก็เป็นอีกพื้นที่ของความน่ารักที่รวบรวมและแสดง ตัวตน” (self-expression) ของผู้ถือ ทั้งชื่อโรงเรียนต้นสังกัด เบอร์โทรศัพท์มือถือ วงดนตรีที่ชื่นชอบ ฉายานาม (live name) ที่ใครๆ ต่างนิยมเรียกขาน นอกจากนี้ บัตรบางใบยังไฮเทค มีบาร์โค้ดเก็บรายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย 

</span><p>
      พูดถึงบาร์โค้ด ในสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่น ยังนิยมสักฝั่งบาร์โค้ดในร่างกาย เก็บรวมข้อมูลส่วนตัวที่ต้องอาศัยเครื่องสแกน (scanner) เท่านั้น ถึงจะอ่านข้อมูลได้ เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่เป็นระบบ (systematic live) อย่างหนึ่ง และดูเหมือนเป็นความพยายามที่จะกำกับควบคุมชีวิตของเรานั่นเอง</p>
<p>
      ที่จริง ข้อมูลที่ว่านี้ก็มิได้เป็นความลับหรือสำคัญอันใด เช่น เก็บบันทึกวันเกิดของดารานักร้องที่ตนชื่นชอบ ซึ่งการสักบาร์โค้ดถูกมองว่าน่ารักแปลกๆ และเท่สุดๆ (super cool) แม้พวกเราบางคนอาจไม่รู้สึกร่วมด้วยก็ตามที</p>
<p>
      ปรากฏการณ์ความน่ารักในหัวข้อนี้อีกอย่าง อาจสังเกตได้จากความนิยมถ่ายรูปบนสติ๊กเกอร์ด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่าปริ๊นต์คลับ” (Print Club หรือ purikura) เป็น เครื่องผลิตความทรงจำ” (memory-creating machine) และตัวตนของบุคคลที่มีราคาถูก สะดวก รวดเร็ว ไม่เกะกะ และที่สำคัญ ทันทีที่มีการแลกเปลี่ยนในหมู่เพื่อน ปริ๊นคลับก็คือสื่อสร้าง/เชื่อม/กระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ได้ผล ไม่ต่างอะไรกับการเปลี่ยนตัวตนของบุคคลให้กลายเป็นสินค้า (self-commodification) ที่แลกเปลี่ยนซื้อหากันได้ไม่ยากเย็นแต่ประการใด


ความน่ารักและความบันเทิง</p>
<p>
      ประเด็นสำคัญของการบริโภคความน่ารักที่กล่าวมาข้างต้น จึงเกี่ยวข้องกับเพศสภาพ ภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์ รวมทั้งผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างมากมายมหาศาล โดยที่มิได้คาดคิดมาก่อน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป</p>
<p>
      เช่นเดิม สัตว์ยังคงเป็นดาราเจ้าประจำเมื่อต้องการนำเสนอความน่ารัก อาทิ ตัวการ์ตูนเจ้าแมวเหมียว ชาตแรน” (Chatran) จากภาพยนตร์เรื่อง Koneko monogatari: The Adventure of Chatran ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ได้รับการตอบรับดีเยี่ยม ที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะท้องเรื่องพูดถึงการผจญภัยของเจ้าแมวเหมียว หากแต่เป็นเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ปราศจากนักแสดงที่เป็นมนุษย์ต่างหาก</p>
<p>
      รายการโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูนก็เช่นกัน ดังเช่นตัวละครดังระดับชาติที่ชื่อ ชิบิ มารุโกะจัง (Chibi Maruko-chan) ในราวต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งนำเสียงพากย์ของเด็กที่เรารับรู้กันไปทั่วแล้วว่าเป็นเสียงที่น่ารักนำมาใช้      หรืออย่างภายหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park (1993) ออกฉายได้ไม่นาน ก็มีพ่อค้าหัวใสรีบผลิตตุ๊กตาไดโนเสาร์น่ารักๆ (cute dinosaur) นาม Rex ออกมาขายทันที</p>
<p>
      และไบรอันเสนอว่า แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์สาดเสียเทเสียอย่างไรก็ขายดิบขายดี ทั้งนี้เพราะเด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบตุ๊กตาไดโนเสาร์มาก ราวกับเจ้าตุ๊กตาได้เปิดโอกาสให้พวกเธอทดลองบทบาทของผู้เป็นแม่ที่ได้สอนลูก (ในที่นี้คือไดโนเสาร์) เช่น สอน Rex กินอาหาร หรือแม้แต่สอนให้ใช้หม้อน้ำร้อน</p>
<p>
      นอกจากภาพลักษณ์ความน่ารักจะปรากฏผ่านดารานักแสดงสัตว์อย่างเจ้าแมวเหมียว ไดโนเสาร์ ดารานางแบบ และตัวละครในภาพยนตร์ดังที่กล่าวมาแล้ว อุตสาหกรรมบันเทิงอย่างดนตรีป๊อปก็ยังนิยมนำเสนอความน่ารักผ่านนักร้องวัยรุ่น โดยเฉพาะนักร้องสาววัยกระเตาะ ที่ได้รับการโปรโมทครบทุกสื่อ ไม่แพ้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เช่นกัน</p>
<p>
      ภาษาญี่ปุ่นเรียกนักร้องสาวรุ่นอายุเพียงราว 15 ปี แต่ทะเยอทะยานอยากมีชื่อเสียงว่า Burikko (pretending children) หรือ “chidols” (กร่อนมาจากคำว่า “children idols”) บางกลุ่มก็ประสบความสำเร็จได้ดั่งฝัน เช่น วงดนตรีผู้หญิงล้วนชื่อ โชเนน ไนฟ์ (Shonen Knife) และดารานักแสดงวัยรุ่นอย่าง อิโนะโมโตะ คานาโกะ (Enomoto Kanako) ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นตัวอย่างของแฟชั่นโลลิต้าที่สุดแสนจะน่ารัก” (cutesy Lolita fashion)</p>
<p> </p>


      ไบรอันสรุปจากคำบอกเล่าของนักเรียนคนหนึ่งว่า เหตุที่หญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมประพฤติตัวและแต่งตัวให้น่ารักเข้าไว้นั้นก็เพราะพวกเขาวิตกต่อโลกความจริง โลกที่พวกเขาต้องรู้ผิดรู้ชอบ รู้รับผิดชอบกับชีวิตสารพัดเรื่อง การตรึงความน่ารักไว้กับตัวไปตลอดเท่ากับการดำรงความเป็นเด็กไว้นานๆ ซึ่งเป็นวัยที่ปราศจากความรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น

</span><p>
      อุตสาหกรรมบันเทิงในญี่ปุ่นถือว่าประสบความสำเร็จในการตอบสนองความปรารถนาของเยาวชน ผู้ต้องการหยุดนิ่งความเยาว์วัยและความไร้เดียงสาของตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ตุ๊กตาบาร์บี้ (Barbie dolls) รูปร่างผอมเพรียวดั่งนาฬิกาทราย แต่ขาดความน่ารักน่าเอ็นดู จะขายไม่ค่อยดีนักในญี่ปุ่น กระทั่งเมื่อแก้ไขปรับปรุงหุ่นตุ๊กตาให้ดูเด็กลง เตี้ยลง หน้าอกเล็กลง หรูหราน้อยลง ขยายดวงตาให้กลมและโตขึ้น เพื่อให้ดูน่ารักเหมือนเด็กเล็กผู้ใสซื่อชั้นประถมมากกว่าสวยพริ้งเลิศหรูงามสง่า จึงพอขายได้ และเปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่เป็น ลิกก้า” (Licca)</p>
<p>
      นอกจากนี้ อุตสาหกรรมปั้นดารานักร้องนักแสดงหรือที่เรียกว่า Tarento (celebrity) จึงมีส่วนสำคัญต่อกระแสวัฒนธรรมตลาดในสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมประเภทนี้สามารถผลิตเนื้อหา (contents) โดยเฉพาะความน่ารักในบริบทนี้ ผ่านสื่อสารมวลชน ทรงพลังพอที่จะชี้นำความคิดอ่าน พฤติกรรม และรสนิยมของวัยรุ่น ชี้ชวนให้พวกเขาอยากเลียนแบบหรือเอาอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง การแต่งหน้าทำผม หรือสไตล์การแต่งตัว</p>
<p>
      หนึ่งในดารานักร้องดังที่ไม่สวย แต่น่ารักน่าเอ็นดู (homely หรือ cute) ใครๆ ก็อยากเจริญรอยตามคือ อามูโระ นามิเอะ (Amuro Namie) </p>



อำนาจสื่อสารของการค้า และการขายความน่ารัก

</span><p>
      ไบรอันสรุปนัยยะของ ความน่ารักในเบื้องต้นว่าเป็นมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้ในความหมายของสินค้าวัฒนธรรม และก็ยังเป็นมโนทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทการนำไปใช้ ดังที่ได้แสดงไปแล้วข้างต้น</p>
<p>
      ถึงแม้คุณสมบัติของความน่ารักจะพาตัวของมันเองแทรกซึมเข้าไปทำงานภายในวัฒนธรรมตลาดและโลกของสินค้า เสมือนเป็นแม่เหล็กดึงดูดทุนมหาศาล (รวมทั้งเงินในกระเป๋าของสาวๆ วัยทำงาน) แต่ทว่า ความน่ารักกลับบกพร่องในบทบาทหน้าที่ของการสื่อสาร เพราะเป็นสาเหตุให้เยาวชนลุ่มหลง โดยอาจมองว่าความน่ารักเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่ซื้อขายกันได้ ครอบครองกันได้ และก็มีมากมายนับไม่ถ้วน จนไม่ใช่แค่แฟชั่น</p>
<p>
      ความน่ารักจึงถูกมองว่าเป็นสไตล์มาตรฐานของสังคมญี่ปุ่นที่ผลิตสินค้าออกมามากมายไม่รู้หมด กระทั่งกลายเป็นมาตรวัดคุณค่าของสินค้าหลายรายการ เช่น เสื้อผ้าน่ารักๆ ที่ผสมรูปแบบหลากหลายสไตล์อย่างละนิดๆ เช่น ในเมืองโอซาก้าสมัยหนึ่งที่นิยมสไตล์พังค์โรแมนติค” (romantic punk) ซึ่งเลียนแบบมาจากแฟชั่นอังกฤษ ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้น      เมื่อความน่ารักแปรเปลี่ยนเป็นสไตล์มาตรฐานของสังคม สินค้าอุปโภคบริโภคนับไม่ถ้วนจึงขายดิบขายดีเพียงเพราะปรากฏรูป “Mickey and Minnie Mouse” และ “Hello Kitty” การ์ตูนรูปลูกแมว หัวโต ตาเล็กหยีที่แสนน่ารัก


แลกเปลี่ยนความน่ารัก</p>
<p>
      ในกลุ่มผู้หญิงจะนิยมแลกเปลี่ยนคุณค่าผ่านสิ่งของน่ารักๆ ระหว่างกัน ซึ่งถือว่าสำคัญมากในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นเสมือนการสื่อความรู้สึกที่ผู้มอบให้มีต่อผู้รับ</p>
<p>
      สินค้าน่ารักย่านฮาราจูกุ (Harajuku) ในกรุงโตเกียว คือพื้นที่หนึ่งที่สังเกตได้ชัดในประเด็นนี้</p>
<p>
      ไบรอันได้ยกตัวอย่างการให้ความสำคัญกับตุ๊กตา Mickey and Minnie Mouse ภายในงานเลี้ยงฉลองครบรอบสิบปี ก่อตั้งโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของมารดาครูใหญ่พอดี       งานนี้จัดขึ้นที่โรงแรมหรูหรา แต่กลับขาดบรรยากาศอันอบอุ่น ซึ่งปรากฏว่า มารดาของครูใหญ่ได้เลือกมุขเปิดตัวเองพร้อมด้วยตุ๊กตาคู่ Mickey and Minnie Mouse ขนาดเท่าคนจริง ทำเอาบริกรต้องรีบกุลีกุจอหาเก้าอี้นั่งร่วมโต๊ะให้แก่ตุ๊กตาสองตัวนี้      ที่น่าสนใจคือ ภายหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน เมื่อมารดาของครูใหญ่ได้ตายจากไป ตุ๊กตาสองตัวนี้ก็ปรากฏในพิธีศพที่โรงเรียนนี้อีกครั้ง

ฉากและพื้นที่แสดงความน่ารัก</p>
<p>
      ในหัวข้อนี้ ไบรอันได้ยกตัวอย่างชื่ออาคารที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมีเนียมในเมือง ซึ่งเจ้าของโครงการเจตนาตั้งขึ้น เพื่อสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกอันแสนอบอุ่น น่ารักๆ และเต็มไปด้วยสีสันของชีวิต อย่างเช่น “My Sweet Home”, “Fruity”, “Salad Party” และ “Ice Candy Box” ชื่อเหล่านี้ หากฟังแล้ว ไม่รู้สึกอบอุ่นก็รู้สึกน่ารัก เป็นชื่อเรียกที่น่าฟัง และได้ผลในการดึงดูดความสนใจของผู้คน       นอกจากชื่อเรียกที่บ่งบอกบรรยากาศของพื้นที่แล้ว การแต่งกายน่ารักๆ ของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ เช่น ผูกโบว์สีแดงสด สวมเสื้อเชิ้ตลายการ์ตูนน่ารักๆ และถือกระเป๋ารูปการ์ตูนดิสนี่ ก็มีส่วนเสริมสร้างเสน่ห์แห่งความน่ารักให้แก่พื้นที่ได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือจากสร้างอัตลักษณ์หรือธรรมชาติชวนชมให้แก่ตนเองแล้ว </p>


สรุป

</span><p>
      ภาพลักษณ์ของความน่ารักในสังคมญี่ปุ่นจึงเชื่อมต่อกับบรรทัดฐานทางสังคม กับความคิดความเชื่อเรื่องอำนาจ และกับนิยามของเพศสภาพ ซึ่งเด็กทุกคนจะได้รับการบ่มเพาะหรือขัดเกลาให้มีคุณสมบัติข้อนี้ในวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา</p>
<p>
      หากพิจารณาในเชิงลึก (ระดับจิตใต้สำนึก) ความน่ารักยังได้สถาปนาระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาชุดหนึ่งที่เชื่อมโยงไปสู่ระบบคุณค่าหรืออุดมการณ์ของสังคม </p>


      ถึงตรงนี้ เมื่อความน่ารักได้รับการสื่อออกไปอย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ มันจึงทรงพละกำลังยิ่ง เช่น ชื่อเรียกของที่พักอาศัย ของขวัญที่มอบให้กันและกัน สินค้าสารพัดชนิด บุคลิกภาพและการแต่งกาย รวมทั้งการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


โพสต์ครั้งแรก เดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ในเว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร www.sac.or.th
 

</span>

หมายเลขบันทึก: 94759เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2007 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณ kati

ดูๆแล้ว เป็นการต่อต้านที่ขึ้นอยู่กับเพศ วัย ด้วยหรือเปล่าคะ..ถ้าอายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงมั้ยคะ ( เบิร์ดก็เคยเล่นทามาก๊อตจิ..และตอนนี้ก็ยังเก็บไว้อยู่เพราะน่ารักดีน่ะคะ แต่ไม่ได้เล่นแล้ว )  หรืออย่างในระบบธุรกิจ  อุตสาหกรรมหรือสาธารณสุขมีการบริโภคความน่ารักอย่างนี้หรือเปล่าคะ ( เห็นว่าสายการบินเจแปน แอร์ไลน์ไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้ )

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความดีๆ

สวัสดีครับ คุณ เบิร์ด

กรอบการมอง น่าจะเป็นเรื่องการกำหนดพื้นที่ส่วนบุคคล ที่มุมมองเชิงวาทกรรม มองว่าเป็นพื้นที่พิเศษ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกส่วนบุคคล การต่อสู้ในการสร้างอัตลักษณ์ เพื่ออธิบาย กำหนด สร้างกฎเกณฑ์ให้กับสังคม และผู้คนรอบข้างเข้าใจ ว่าเขาเหล่านั้นคือใคร

ในกรอบความเป็นอัตลักษณ์ มักจะปรับเปลี่ยน เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้นะครับ

ส่วนประเด็นที่น่าสนใจ ในการเก็บสะสม รวบรวม จัดลำดับ และบริโภคการสะสมผลิตภัณฑ์ ของบุคคลที่จะเคลื่อนไหวตามวัยที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้น ก็น่าจะเป็นประเด็นที่ดีนะครับ

รู้สึกจะมีคนศึกษาเรื่องนี้ ในกรอบของการ โหยหาอดีต และการบริโภคอดีตของชีวิต และสังคม นะครับ

ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง Nostalgia - Good old day ก็เป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายเช่นเดียวกันครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ

แต่งตัวเท่ห์ดีแหะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท