เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (15.5)


คลินิกทุกแห่งจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพจากราชวิทยาลัยเวชปฏิบัติทั่วไปและมีการต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี แพทย์ทุกคนจะต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเอง (Continuous Medical Education)

            โรงพยาบาลบิงการา (Bingara) เป็น Community Hospital & MPS เป็นโรงพยาบาลขนาด 24 เตียง   มีแพทย์ 2 คนและแพทย์ประจำบ้าน (Registrar) 1 คน มีนักศึกษาแพทย์ปี 3-4 มาฝึกงาน 1-2 คน รับผิดชอบประชากรจำนวน 2,800 คน เป็นDistrict hospital ไม่ได้เข้าไปดูในโรงพยาบาลเพราะจะคล้ายๆกับโรงพยาบาลมะนิลลา แต่ได้ดูคลินิกเอกชนที่นั่นที่มีแพทย์ 2 คน ซึ่งเป็นแพทย์คนเดียวกับที่ดูคนไข้ในโรงพยาบาล โดยการรักษาแบบผู้ป่วยนอกซึ่งเป็นปฐมภูมิ (Primary care) จะทำในคลินิก ส่วนการดูแลคนไข้นอนซึ่งเป็นทุติยภูมิ (Secondary) จะทำในโรงพยาบาลบิงการา

          คลินิกในบิงการาเรียกว่า Bingara Medical Centre  เปิดเมื่อปี 1998 โดยนายกเทศมนตรีเมืองบิงการา เปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น เสาร์เปิด 10 โมงเช้าถึงเที่ยง ปิดวันอาทิตย์ คนไข้ที่จะมาตรวจวันเสาร์ต้องโทรมานัดก่อนในช่วง 9.30-10.00 น.  มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือจีพี 2 คน คือหมอIan Kamerman กับหมอ Edward Lee จบFACRRM ย่อมาจาก Fellow Australian College of Rural & Remote Medicine และมีแพทย์ประจำบ้านหรือ GP registrar 1 คน มาเรียนด้วยคือหมอ Louise Fisher จบปริญญาตรีแพทยศาสตร์ (Bachelor of Medicine) และที่นี่รับฝึกนักศึกษาแพทย์ 1-2 คน อาคารคลินิกเป็นอาคารชั้นเดียวแบ่งออกเป็นห้องตรวจ 4 ห้อง ส่วนต้อนรับซักประวัติ ห้องให้คำปรึกษา 1 ห้อง ห้องทำการรักษา 1 ห้อง ห้องพักเจ้าหน้าที่ ห้องน้ำ 2 ห้องและโถงพักคอยของผู้ป่วยและญาติ   คลินิกได้รับการรับรองคุณภาพ AGPALACCREDITED GNERAL PRACTICE  แพทย์ทั้งคลินิกและโรงพยาบาลจึงเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยผู้ป่วยนอกดูที่คลินิก คนไข้จ่ายเงินเองแล้วไปเบิกคืนจากระบบประกันคุณภาพจากรัฐหรือMedicare แพทย์ได้ค่าตรวจรักษา ส่วนยาให้ใบสั่งยาไปซื้อเองที่ร้านขายยา  คนไข้ไปโรงพยาบาลได้เฉพาะฉุกเฉินหรือส่งไปนอนโรงพยาบาลจากแพทย์คลินิก
             จากการศึกษาดูงานคลินิกหรือSurgeryใน 4 เมืองที่ผ่านมาจะพบว่าคลินิกทุกแห่งจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพจากราชวิทยาลัยเวชปฏิบัติทั่วไปและมีการต่ออายุใบรับรองทุก 3 ปี แพทย์ทุกคนจะต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเอง (Continuous Medical Education) เป็นที่ฝึกหัดของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชปฏิบัติทั่วไปหรือRegistrar เป็นที่ฝึกงานของนักศึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานในชนบท เป็นเอกชนแต่สามารถไปทำงานในโรงพยาบาลของรัฐได้โดยได้รับค่าตอบแทนจากการจ้างงานหรือตามปริมาณงาน ส่วนรายได้จากคลินิกได้จากการให้บริการตรวจรักษา(Consultation)โดยเป็นค่าบริการแพทย์ (Doctor fee) เป็นรายครั้งบริการโดยไม่มีการจ่ายยา เป็นการตรวจแบบบริการผู้ป่วยนอกและอาจมีการเยี่ยมบ้านซึ่งเป็นบริการปฐมภูมิ ส่วนบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินหรือบริการผู้ป่วยในเป็นบริการทุติยภูมิที่ให้บริการในโรงพยาบาล แพทย์ตรวจคนไข้นอกไม่มาก มีเวลาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มีรายได้ต่อครั้งบริการสูงและคนไข้ที่มาตรวจต้องมีการนัดหมายก่อน คนไข้จ่ายเงินไปก่อนแต่สามารถไปเบิกคืนจากรัฐบาลกลางจากกองทุนเมดิแคร์ได้ หากคนไข้ไม่ประสงค์จะจ่ายเงินก่อนสามารถใช้แบบรอเรียกเก็บได้โดยตกลงกับทางคลินิกเองเรียกว่า Bulk bill แต่คลินิกส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับแบบนี้เพราะคลินิกจะเบิกคืนได้จากรัฐบาลกลางแค่ 80 % เท่านั้น
หมายเลขบันทึก: 9416เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2005 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท