ความขัดแย้ง หนีไม่พ้น แต่จัดการให้ดีได้ Managing Conflict with the Enneagram


ป้องกันความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดขึ้น จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแล้ว รู้วิธีเข้าหาคู่กรณีที่เราขัดแย้ง และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งหมดทำได้ด้วย เอ็นเนียแกรม

ต่อจาก ฟีดแบ็ค ให้อย่างไรจึงได้ผล . . .

ความขัดแย้ง

การใช้เอ็นเนียแกรมผสมผสานกับหลักการให้ฟีดแบ็คยังช่วยในการจัดการความขัดแย้งได้ด้วย  ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในการทำงาน และก็เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความเครียดมากที่สุดในการทำงาน  คนส่วนมากไม่ชอบความขัดแย้งและไม่รู้ว่าจะจัดการกับมันให้ดีได้อย่างไร พวกเขาจึงมักหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้า หรือค่อยหันมาจัดการเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น   นั่นอาจหมายความว่า ความขัดแย้งจะได้รับการเหลี่ยวแลก็ต่อเมื่อคนที่เกี่ยวข้องรู้สึกเดือดร้อนแล้วเท่านั้น

          แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยในองค์กรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมา แต่บุคลิกภาพมักจะมีส่วนสำคัญในการเกิดความขัดแย้งนี้และการแก้ไข  ความเข้าใจในเรื่องเอ็นเนียแกรมสามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่อไปนี้

  • รับผิดชอบที่ตนมีส่วนในความขัดแย้งนั้น
  • จัดการกับตนเองระหว่างที่เกิดความขัดแย้ง
  • รู้วิธีที่จะเข้าหาผู้อื่นเป็นอย่างดี
  • ใช้ความโกรธของตนมาพัฒนาตนเอง

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center">โมเดลความขัดแย้ง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center">จากความเคืองสู่ความเดือด (Pinch-Crunch Conflict Model, Sherwood & Glidwell, 1973) </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center">แสดงให้เห็นลำดับขั้นของการเกิดความขัดแย้ง</p><p>     </p><div style="text-align: center">pinch</div><p>          ในขั้นเริ่มต้น ถ้าทุกฝ่ายได้พูดคุยกันถึงความคาดหวังที่มีต่อกันและเรื่องที่ทำให้แต่ละฝ่ายรู้สึกเคือง (ซึ่งเป็นไปตามสไตล์เอ็นเนียแกรมของแต่ละคน) ก็จะช่วยป้องกันความขัดแย้งได้  อย่างไรก็ตาม เรามักไม่ค่อยได้ทำสิ่งนี้  </p><p>          ในระหว่างช่วงผ่อนผัน เรามักแสดงพฤติกรรมที่ดีออกมา ความขัดแย้งจึงมักไม่ค่อยเกิดขึ้น  แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มักจะมีเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกเคือง  คนส่วนใหญ่มักรู้สึกไม่สบายใจที่จะบอกว่าตนรู้สึกเคือง แต่การพูดอะไรออกมาหลังจากที่มีเรื่องที่ทำให้เราเคืองตั้งแต่แรกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ถ้าไม่พูดอะไรออกมาเลย ความเคืองนั้นก็จะสะสมและก่อตัวเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่หรือเรียกว่าความเดือด  </p><p>           เมื่อเราเดือดดาลแล้ว เรายิ่งต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด  มิฉะนั้นอาจเกิดผลเสียร้ายแรงได้ เช่น เกิดการหลบหน้ากัน มีคนลาออก  เกิดความอึดอัดในบรรยากาศการทำงานและส่งผลเสียต่องาน  และเมื่อถึงเวลาที่เพิกเฉยต่อไปไม่ได้แล้ว แต่ละฝ่ายก็จะเต็มไปด้วยความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ซึ่งจะทำให้ยากต่อการแก้ไขความขัดแย้งนั้น</p>           กรณีศึกษาต่อไปนี้แสดงให้เห็นวิธีประยุกต์ใช้เอ็นเนียแกรมกับโมเดลความขัดแย้ง จากความเคืองสู่ความเดือด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกกับคู่กรณีของความขัดแย้งทั้งสองฝ่าย  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">คาร์ล คนสไตล์สี่ ได้พยายามติดต่อกับเพื่อนร่วมทำโครงการที่ชื่อบาร์ทเพื่อจะพูดคุยความคืบหน้าของงาน  เขาเขียนอีเมล์ 3 ครั้งและฝากข้อความทางโทรศัพธ์ 2 ครั้ง  แต่ก็ไม่ได้การติดต่อกลับมาเลย  หลังจาก 3 สัปดาห์ผ่านไป เขาก็ได้รับอีเมล์ฉบับนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"><hr>คาร์ล</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ขอโทษที่ตอบช้า แต่งานผมยุ่งมากจริงๆ  แล้วจะติดต่อมาใหม่อาทิตย์หน้า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">บาร์ท <hr></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">คาร์ลเดือดขึ้นมาทันที แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีปฏิกิริยาเช่นนี้  บางคนอาจแค่รู้สึกหงุดหงิดที่บาร์ทตอบกลับมาช้ามาก  บางคนอาจไม่ได้รู้สึกถึงความล่าช้านี้เลย  และคงมีบางคนอาจรู้สึกกังวลว่าเกิดอะไรขึ้นกับบาร์ทและโทรหาคนอื่นเพื่อสอบถามว่าเขาเป็นอะไรหรือเปล่า </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">แต่ความรู้สึกของคาร์ลมากกว่าเคือง เขารู้สึกเดือดทันทีเพราะความอ่อนไหวแบบสไตล์สี่ของเขาปะทุขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว  เรื่องเคืองใจสำหรับคนสไตล์สี่ทั้ง 3 เรื่องต่อไปนี้ จะอธิบายว่าทำไมคาร์ลจึงรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวกับพฤติกรรมของบาร์ท และทำไมมันถึงแปรเปลี่ยนเป็นความเดือดโดยทันที <hr></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เรื่องที่มักทำให้คนสไตล์สี่เคือง</p><ul><li><h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ถูกมองข้ามหรือสบประมาท</h4></li></ul><blockquote><blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เมื่อบาร์ทไม่ได้ติดต่อกลับมาเลย  คาร์ลรู้สึกถูกปฏิเสธ ถูกมองข้าม เขาจึงรู้สึกว่าบาร์ทจงใจไม่ตอบกลับมาเพราะไม่ชอบเขา</p></blockquote></blockquote><ul><ul><li><h5>   ต้องทำอะไรที่ขัดกับคุณค่าที่ตนยึดถือ </h5></li></ul></ul><blockquote><blockquote>

การที่บาร์ทไม่ติดต่อกลับมาโดยเร็วทำให้คาร์ลสรุปว่า บาร์ทเอาตัวเองเป็นใหญ่และเห็นแก่ตัว   บาร์ทไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขาคิดถึงและให้ความเคารพผู้อื่น  คาร์ลจึงตัดสินว่า บาร์ทเป็นคนใช้ไม่ได้เลย

</blockquote></blockquote><ul><li><h5 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> มีเรื่องที่ทำให้รู้สึกอิจฉา </h5></li></ul><blockquote><blockquote><blockquote> คาร์ลทึกทักเองว่า บาร์ทเห็นเขาเป็นคู่แข่ง  บาร์ทเพิ่งจะได้รับการยกย่องจากบริษัทจากการทำโครงการชิ้นหนึ่ง แต่เขาไม่ได้พูดให้เครดิตกับคนที่ช่วยเหลือในโครงการนั้นอย่างเป็นทางการ  คาร์ลจึงตัดสินบาร์ทว่า มีความทะเยอทะยานและหยิ่งยโส </blockquote></blockquote></blockquote>           ความที่เป็นคนสไตล์สี่ คาร์ลจึงต้องการที่จะเชื่อมโยงกับผู้อื่น พยายามค้นหาสิ่งที่มีความหมาย  จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ขาดหายไป และมักมองเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว  คนสไตล์สี่มักคิดไปเองว่า หลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเขา เขาจึงแสดงปฎิกิริยาอย่างรวดเร็วกับเรื่องที่เขารู้สึกว่าถูกสบประมาทหรือมองข้าม <hr><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การแสดงออกของคนสไตล์สี่เมื่อรู้สึกเคือง</p>            แม้บาร์ทจะรู้สึกงงเมื่อรู้ถึงเรื่องที่ทำให้คาร์ลโกรธอย่างมาก แต่คนสไตล์สี่เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วก็มักจะเห็นได้อย่างชัดเจน  เพราะ เขามักจะพูดโผงผางออกมาเลย หรือไม่ก็อาจจะเงียบอย่างมาก  คาร์ลจมดิ่งอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของตัวเองซี่งเต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆ ผุดขึ้นสลับไปมา เช่น เศร้า โกรธ เจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ใจ และกลัว   คาร์ลพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า และบอกเล่าความรู้สึกของเขากับผู้อื่นเพื่อให้ได้ความเห็นใจ เพื่อหาคำอธิบายอื่นๆ ต่อเรื่องที่เกิดขึ้น และดูว่าจะทำอะไรได้บ้าง <hr><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วิธีเข้าหาคนสไตล์สี่ที่เคือง</p>            บาร์ทต้องการที่จะพูดคุยถึงปัญหาความขัดแย้งกับคาร์ลโดยตรง ซึ่งคาร์ลก็ตกลง เพราะในที่สุดแล้ว คนสไตล์สี่จะรู้สึกทนไม่ได้จนต้องแสดงความรู้สึกของเขาออกมา  บาร์ทควรจะใช้แนวทางดังต่อไปนี้ <ul>

  • ให้คาร์ลได้แสดงความรู้สึกทั้งหมดที่มีออกมา
  • รับฟังจนกว่าเขาจะรู้สึกว่าคุณเข้าใจเขาอย่างครบถ้วน
  • อย่าพูดว่า เขาอ่อนไหวมากเกินไป
  • อย่าทำให้เขารู้สึกถูกตำหนิหรือกล่าวหา
  • ทำใจให้ได้ว่า คาร์ลยังจะอยู่กับความรู้สึกของเขาเป็นเวลานาน แต่ในที่เขาจะดีขึ้นเอง
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วิธีที่คาร์ลควรจัดการกับความเคืองของตน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ที่จริง คาร์ลสามารถแก้ไขเรื่องราวเหล่านี้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปพูดกับบาร์ทเลย  ตัวอย่างเช่น เขาสามารถคิดทบทวนเรื่องที่จะต้องรู้สึกเป็นคนพิเศษ และความอิจฉาเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความสำเร็จ  คาร์ลยังควรเรียนรู้ที่จะไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว แทนที่จะตีความว่า ที่บาร์ทไม่ตอบกลับมานั้นเป็นการปฏิเสธตัวเขาเป็นการส่วนตัว  เขาควรถามบาร์ทถึงเหตผลที่ตอบกลับมาช้า</p>  <h5 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            คาร์ลสามารถสร้างความตระหนักรู้ในตนเองและรู้จักบริหารตนเองให้ดีขึ้นด้วยการถามตัวเองว่า </h5><h5 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ปฏิกิริยาของเราต่อเหตุการณ์นี้ หรือต่อพฤติกรรมของผู้อื่นนั้น บอกอะไรเกี่ยวกับความเป็นคนสไตล์สี่ของเรา  และบ่งบอกว่ามีจุดใดหรือไม่ที่เราสามารถปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นได้บ้าง"    </h5><h4>              เมื่อเกิดปฏิกิริยาของความโกรธขึ้น  เราทุกคนสามารถใช้คำถามคล้ายคลึงกันนี้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง  <hr>

    แปลและเรียบเรียงจากบทความ Bringing Out the Best in Your OD Practice - How to Use the Enneagram System for Success,OD Practitioner – Journal of the Organization Development Network  Vol. 37, No.2 2005 โดยได้รับอนุญาต 

    </span> </h4>Full article in English is available at the Articles page on www.enneagram.co.th <hr>

    อ่านเนื้อหาเหล่านี้อย่างละเอียดครบถ้วน ของคนทุกสไตล์เอ็นเนียแกรม ได้ในหนังสือ ปั้นคนให้เก่งคน

    </font></span><hr></span><p>ติดตามเรื่อง การสร้างทีมงานสมรรถสูงด้วยเอ็นเนียแกรมในบันทึกถัดไป </p><p>
     </p>

    หมายเลขบันทึก: 94033เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    ติดตามรับฟังเรื่อง ความขัดแย้งที่มักเกิดกับคนแต่ละสไตล์ตามความรู้เอ็นเนียแกรม ได้ในรายการ คืนนี้ที่ 100. 5 คืนวันอาทิตย์ที่ 6 พค  เวลา 22.10 เป็นต้นไป

    ได้ที่คลื่น FM 100.5 หรือ http://radio.mcot.net/1005.htm  ดำเนินรายการโดยคุณอุ๊ ช่อผกา

     

     

    เรื่องบางเรื่องมักทำให้คนเรารู้สึกเคืองหรือโกรธเหมือนๆ กัน เช่น ใครมาโกหกกับเรา ลักขโมยของเรา ฯลฯ  แต่ก็จะมีเรื่องบางเรื่องที่ทำให้เราโกรธ แต่คนอื่นไม่โกรธ  บางเรื่องทำให้บางคนโมโหเป็นไฟ แต่เรากลับรู้สึกเฉยๆ

     

    แนวทางหนึ่งในการจัดการความขัดแย้งด้วยเอ็นเนียแกรมคือ ค้นหาว่า เรื่องอะไรบ้างที่มักทำให้คนแต่ละสไตล์เอ็นเนียแกรมรู้สึกเคืองหรือโกรธ

     

    ตัวอย่างที่แสดงในบันทึกข้างต้นนี้ เป็นของคนสไตล์สี่หรือที่มีฉายาว่า คนโศกซึ้ง คนโรแมนติค ศิลปิน เป็นต้น  พูดสั้นๆ คนสไตล์นี้คือคนที่มีโลกอารมณ์ส่วนตัวที่เข้มข้น ลุ่มลึก ละเอียดอ่อน เต็มอารมณ์หลายเฉด หลายสีสัน ทั้งสุข ทุกข์ สนุก โกรธ กล้า บ้าบิ่น อิจฉา แต่ที่อาจจะมีเยอะหน่อยคือความหม่นหมองหรือความเศร้านั่นเอง

     

    เอ็นเนียแกรมอธิบายว่า คนโศกซึ้งมักรู้สึกอยู่ลึกๆ ว่า ข้างในตัวเองมีบางสิ่งผิดพลาดบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แบบ หรือน่าตำหนิ  บางคนรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต เขาไม่ได้มี ไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่คนอื่นมีหรือเป็น  แล้วเขาก็เพียรหาสิ่งนั้น พยายามให้เป็นสิ่งนั้น แต่เมื่อพบแล้วกลับรู้สึกว่าไม่ใช่ และต้องแสวงหาต่อไปเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด

     

    ด้วยพื้นฐานบุคลิกแบบนี้ เรื่องที่มักทำให้คนสไตล์นี้เคืองก็จะเป็นเรื่องที่ตอกย้ำบาดแผลในใจเหล่านี้ เช่น ถูกมองข้าม ถูกละเลย ต่อมอิจฉาถูกกระตุ้น เป็นต้น

     

    แนวทางการจัดการกับความขัดแย้งด้วยความรู้เอ็นเนียแกรม จึงเป็นคำตอบที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคนแต่ละสไตล์ จึงนำไปใช้ได้ผลอย่างมาก

     

    เช่น ประเด็นเรื่องที่ทำให้เราโกรธนี้ ทำให้เราคิดได้ว่า ที่จริงมันเป็นเรื่องของเราแท้ๆ ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น คือ เรื่องนี้ถ้าเกิดกับคนอื่น ไม่เห็นเขาโมโหเลย แล้วทำไมเราต้องโมโหด้วย  ดังนั้น จะดีกว่าไหม ถ้าเรากล้าหันมารับผิดชอบตัวเอง คือ จัดการกับตัวเองแทนที่จะไปห้ามคนอื่นไม่ให้ทำเรื่องเหล่านั้น ซึ่งยากที่จะทำได้กับทุกคนได้ตลอดเวลา

     เพื่อให้มองเห็นภาพของคนสไตล์สี่ได้ชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างคนดังในต่างประเทศที่เป็นคนสไตล์สี่ได้แก่ อีลิค แคพตัน  จิม มอร์ริสัน เจมส์ ดีน  แวนโกะ  มาร์ธา แกรแฮม  Mary Chapin Carpenter  บ็อบ ดีแลน  กวีเอกชาวเยอรมัน ริเก  ดนตรีแบบ Pink Floyd  อียอร์ ลาในเรื่องหมีพูที่หน้าตาเศร้าหมองอยู่เสมอ เป็นต้น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท