ประมงพื้นบ้านเจ้าหลาว (จันทบุรี) กับปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากความเพียรพยายาม


กลุ่มประมงพื้นบ้านเจ้าหลาว  อ่าวคุ้งกระเบน  จังหวัดจันทบุรี   รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี  2546    มีการกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน   มีการทำ "ซั้ง"  หรือที่อาศัยให้สัตว์น้ำเข้ามาอาศัย   ทำมาเป็นเวลานานติดต่อกัน    จนวันนี้เกิดปรากฏการณ์บางอย่างทางธรรมชาติที่สะท้อนอะไรบางอย่างขึ้นมา    ผมเคยเขียนบันทึกเรื่องนี้ไว้ครั้งหนึ่ง  ย้อนกลับไปอ่านได้ที่  http://gotoknow.org/blog/learn-together/75637 

ผมทราบข่าวนี้จากทางพี่พูนสิน  ศรีสังคม  แม่งานใหญ่จาก  กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก/แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็ก  (GEF/SGP)  ที่ส่งข่าว  "สาส์นสัมพันธ์"  ประจำเดือนมีนาคม - เมษายน 2550  

ปรากฏการณ์ที่ว่า คืออะไร?  ลองอ่านตอนหนึ่งจากข่าวที่พี่พูนสินส่งมาให้ดูนะครับ

 "โครงการกลุ่มประมงพื้นบ้านเจ้าหลาว อ.ท่าใหมจ.จันทบุรี  ผลจากการทิ้งซั้ง (ปะการังธรรมชาติ จากใบและทางมะพร้าว)  ที่ชาวบ้านไดร่วมกันทําได้ส่งผลให้ฟื้นความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาใหม  ซึ่งระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน–4 ธันวาคม 2549 มีฝูงโลมา  100 กว่าตัวเข้ามาหากินปลาในซั้ง  ตอนเริ่มดําเนินโครงการใหมๆ ยังไม่เคยมีปลาโลมาเข้ามาแต่อย่างใด ฟังแล้วก็ชื่นใจ จนหายเหนื่อย  นอกจากนี้แล้ว กลุ่มเจ้าหลาวเอง ก็มิไดทิ้งเพื่อนบ้าน โดยไดมีการขยายเครือข่ายให้ความช่วยเหลือแกกลุ่มประมงชายฝั่งถนนสูง หมู 8 ต.ช้างข้าม อ.นายายอาม จ. จันทบุรี ด้วย  ซึ้งใจจริงๆ  โครงการนี้ถึงแมจะทําเรื่องแหล่งน้ําสากล แตก็ช่วยเรื่องโลกร้อนไดด้วย  กล่าวคือ  เมื่อสัตวน้ำกลับมาอยูมาหากินใกล้ๆ ฝั่เป็นจํานวนมาก  ก็ไม่จําเป็นต้องออกเรือไปไกลๆ ทําใหประหยัดน้ํามัน  เป็นการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนตร์เรือที่จะไปส่ผลให้โลกร้อนไดอีกโสดหนึ่ง"

สนใจศึกษาเพิ่มเติม  ได้ที่  www.undp.or.th


หมายเลขบันทึก: 94004เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท