เรียน...บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์...เป็นบรรณารักษ์อย่างเดียวหรือ?


บรรณารักษศาสตร์ กับ สารสนเทศศาสตร์

     บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and information science: LIS) (ที่มาวิกิพีเดีย สารนุกรมกรมเสรี) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร

     เป้าหมายหลักของ งานวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งไปที่การจัดการองค์ความรู้ เพื่อการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจรวมถึงหัวข้ออันได้แก่ การได้มา, การสร้างรายการชื่อ, การจัดหมวดหมู่, การเก็บรักษา, และ การดูแลข้อมูลและทรัพยากรห้องสมุด

     การศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องใกล้เคียงกัน แต่ได้พัฒนาไปอีกทาง คือ การศึกษาโครงสร้างของข้อมูล และ ทฤษฎีข้อมูล (Information Theory) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลสารสนเทศ

 

     วิทยาการสารสนเทศ, สารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศาสตร์ หรือ ศาสตร์สารสนเทศ (อังกฤษ: information science หรือ informatics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การเก็บ, การค้นคืน, การสื่อสาร สารสนเทศอย่างเป็นระบบ. ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศ

     วิทยาการสารสนเทศนั้นยังสนใจกระบวนความคิดและสารสนเทศในเชิงประยุกต์ด้วย เช่น เรื่องของสารสนเทศในสิ่งมีชีวิตในวิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ซึ่งศึกษากระบวนความคิดและการทำงานของสมองของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการประยุกต์สารสนเทศศาสตร์ อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศศาสตร์ ในกรณีนี้คือการศึกษาสารสนเทศทางชีววิทยา หรือ การศึกษาด้านสารสนเทศศาสตร์ที่เกี่ยวกับการส่งสารสนเทศไปยังผู้รับสารด้วย ซึ่งคือบางส่วนของนิเทศศาสตร์

     จากข้อมูลข้างต้นทำให้ทราบว่า สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ประกอบด้วยสองแขนงวิชาคือ บรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาตร์ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจมองผิวเผินเพียงว่าเรียนสาขานี้แล้ว คงทำได้แค่เป็นบรรณารักษ์เท่านั้น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว มีการปรับปรุงให้ผู้ที่ศึกษาในสาขาฯ นี้สามารถนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ดังนั้นผมจึงอยากเรียนให้ทราบว่าสำหรับผู้ที่สนใจศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยี  การจัดการความรู้  การจัดการทรัพยาการสารสนเทศ สามารถเข้ามาศึกษาในสาขาวิชานี้ได้  และจบไปไม่ใช่แค่เพียงจะเป็นบรรณารักษ์ ทำงานในห้องสมุดอย่างเดียวเท่านั้น  ท่านสามารถไปอยู่ในหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ได้อีกเยอะแยะมากมาย

หมายเลขบันทึก: 92675เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

http://projectlib.wordpress.com

ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท