"Brain Matters :Translating Research to Classroom Practice"


ปฏิกริยาจะสู้หรือจะถอย

วันนี้(21 เม.ย.  2550)มีเรื่องมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการได้รับมอบหมายให้ไปแทน อ.นุตอนงค์ ทัดบัวขำ ไปสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "Brain Matter : Translating Research to Classroom Practice"  โดย Dr.Patricia Wolfeจากประเทศสหัรัฐอเมริกา ณ โรงแรมนายเลิศปาร์คแรฟเฟิลอินเตอร์เนชั่นแนล บรรยากาศในการร่วมประชุมปรากฏว่าได้พบกับเพื่อนๆในหลายจังหวัด และเพื่อนในโครงการโรงเรียนในฝัน นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ เมื่อเริ่มประชุมได้มีพิธีกรมากล่าวแนะนำ 2 ท่าน เป็นชาวต่างชาติ1ท่านและคนไทย1ท่าน ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งสิ้น บอกตามตรงฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่พอจับใจความได้ว่าเป็นการแนะนำที่มาของโครงการ วิทยากร และกล่าวขอบคุณ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ที่มาร่วมงาน หลังจากนั้นวิทยากรได้เริ่มบรรยาย ในแต่ละช่วงของการบรรยายก็จะมีเสียงหัวเราะของผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นระยะๆแต่ตัวผมก็ยังนั่งเฉยไม่มีความรู้สึกตอบสนอง สาเหตุที่นั่งนิ่งไม่มีอารมณ์ร่วม ไม่ใช่ไม่อยากหัวเราะแต่เราไม่เข้าใจในภาษาที่เขาพูด นี่คือความอ่อนแอทางด้านภาษาของตัวเรา หลังจากผ่านไปหนึ่งชั่วโมงเริ่มมีอารมณ์ร่วมได้บ้างเริ่มคุ้นชินกับภาษา พอจับใจความได้บ้าง แต่ต่อมาคำศัพท์เริ่มยากขึ้นเพราะเป็นเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับสมองและอวัยวะต่างๆในร่างกาย ในขณะที่นั่งฟังก็เห็นผู้ร่วมประชุมที่เป็นคนไทยหลายคนมีที่เสียบหูฟัง ก็ลองถามเพื่อนที่นั่งอยู่ใกล้ๆนั่นคืออะไร เขาบอกว่ามีเจ้าที่มาแปลเป็นภาษาไทยให้ฟัง หลังจากพักรับประทานอาหารว่าง ช่วงนี้พอฟังรู้เรื่องและสามารถบันทึกเก็บข้อความสำคัญได้บ้าง  พอที่จะเล่าให้ฟังได้ดังนี้  การเรียนรู้ของเด็กอายุ 11-15 ปี จะเรียนรู้ได้ดีในสิ่งที่เกิดขึ้นจากความประทับใจภายในห้องเรียนซึ่งจะจดจำได้ดีมากกว่า เนื้อหาที่เรียนที่ไม่สามารถจำได้ การที่เด็กจะจำได้ดีเมื่อมีสิ่งมาเร้าที่จะทำให้เกิดความสนใจ เช่น ต้องเป็นข้อมูลสำคัญ(ไม่ใช่การท่องจำ)การโยงข้อมูลไม่กับข้อมูลเก่า การจัดกิจกรรมควรใช้วิธี สาธิต,ได้สัมผัส,ได้เห็น,ได้ยิน,ได้รู้รสชาดควรเป็นประสบการณ์ตรง การสอนควรยกตัวอย่างให้ชัดเจน ให้เด็กได้ปฏิบัติจริง เห็นภาพจริง ชัดเจน สามารถสัมผัสได้ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ นอกจากนี้ Dr.Wolfe กล่าวว่าสิ่งที่มีผลกระทบกับสมองมีอะไรบ้าง เช่น ความเครียดไม่มีอารมณ์เรียนรู้ จะเกิดปฏิกริยาจะสู้หรือจะถอย ดังนั้นถ้าเหตุการณ์ใดมีอารมณ์แทรกเข้าไปจะจำได้นานกว่า การเรียนรู้โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน หรือ เวลาที่เราหัวเราะจะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองมากขึ้นจะทำให้จดจำได้ดี ครูมีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้เด็กหลั่งสารมีความสุขจาก Motor Cortex ปฏิกริยาที่มีผลต่อคนรอบข้างเราสามารถจำได้เพียง 1 ส่วนเท่านั้น(สามารถนำสิ่งนี้มาปรับใช้ในห้องเรียนได้) ความทรงจำลักษณะเป็นกลุ่มๆจะมาสามารถจำได้ดีกว่า จำลักษณะเดี่ยวๆ การปรับปรุงความทรงจำที่เป็นอัตโนมัติโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง การให้เด็กท่องจำจะไม่เกิดประโยชน์ ที่สำคัญคือการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การฝึกทำซ้ำๆจนเกิดเป็นอัตโนมัติ เป็นลักษณะการจำอย่างหนึ่ง เด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องได้เห็นตัวอย่างที่ท่านทำให้ดู ความทรงจำในด้านความหมาย มี 2 อย่างคือ 1)จำโดยไม่ต้องใช้กระบวนการ จำลักษณะ นกแก้ว นกขุนทอง 2)จำแบบมีกระบวนการ การใช้เสียงดนตรี เสียงเพลง จะช่วยในการจำได้ดีขึ้นและการใช้ภาพประกอบเป็นสื่อเพื่อให้สมองจดจำได้ดีขึ้นเช่นกัน การให้นักเรียนได้แก้ปัญหาจริงๆในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งอยู่นอกห้องเรียน สำหรับเครื่องมือที่เป็นสิ่งช่วยจำจะไปทำลายสมองในส่วนที่เป็นความจำ การทำโครงงานมีผลต่อความจำด้วยเช่นกัน  สำหรับการเล่าเรื่องนี้อาจจะเป็นท่อนๆไม่เชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะเป็นการแปลมาจากผู้บรรยายเป็นภาษาไทยและบางส่วนมาจากการฟังวิทยากรพูดสดๆแล้วแปลทันที ภาษาที่ใช้อาจไม่สามารถสื่อความหมายของวิทยากรที่อยากจะบอก และมีบางช่วงบางตอนที่ไม่สามารถบันทึกได้ทันขอให้ท่านอ่านแล้วคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปความก็คงพอจะเห็นส่วนที่เป็น Best Practices ได้บ้าง

 

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 92570เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท