๖ ยุทธศาสตร์การทำงานเพื่อการปราบปรามสื่อลามกอนาจาร


การจัดการปัญหาสื่อลามกอนาจารด้วยมาตรในการปราบปรามนั้น คงต้องจัดทำทั้งการนิยามและการจัดระดับความรุนแรงของเนื้อหาสื่อ การการปราบปรามตัวบุคคล การติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ การปิดกั้นช่องทางการเข้าถึง การตัดวงจรการประกอบการ รวมถึง การส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการกลั่นกรอง และการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ
  

           ประเด็นปัญหาเรื่องการจัดการปัญหาในสื่อที่ไม่ปลอดภัยในสังคมไทย มาตรการในการปราบปรามเป็นหนึ่งในมาตรการในการทำงานที่จะเป็นกลไกหนึ่งในการทำให้สื่อร้ายเหล่านั้นลดจำนวนลง ดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้ถูกจัดทำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาในหลายยุคสมัย แต่ทว่า สื่อเหล่านี้ก็ยังคงมีให้เห็นอย่างหนาตาไม่ว่าจะเป็นสื่อกระดาษ และได้พัฒนามาสู่สื่ออิเล็กทรอนิกส์

          ซึ่งในปัจจุบันจากตัวเลขในเชิงสถิติก็พบว่ามีเว็บไซต์ประเภทสื่อลามกอนาจารว่า ๑.๒ ล้านเว็บไซต์จากเว็บไซต์ทั่วโลกกว่า ๓๕ ล้านเว็บไซต์ ประกอบกับ รูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถเป็นผู้ส่งสื่อได้เอง เช่น การส่งรูปภาพการโชว์ของตัวเองไปยังเว็บไซต์หรือกระดานข่าว หรือแม้แต่กระทั่ง รูปแบบการบริการแบบเซ็กซ์โฟน

             อีกทั้งการผสมผสานเนื้อหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น มีความดิบมากขึ้น เช่น เพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับคนในครอบครัว การรุมโทรม ข่มขืน ทำให้เราคงต้องหันกลับมาพิจารณามาตรการในการปราบปรามที่มีประสิทธิภาพขั้นสูงสุด

มาตรการในการปราบปรามถูกเลือกเป็นมาตรการในลำดับต้น และเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน การจัดทำมาตรการที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่เป้าหมายหลัก และเพื่อจะเดินให้ถึงเป้าหมายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณากระบวนการในการจัดการด้านการปราบปรามใน ๖ ยุทธศาสตร์ กล่าวคือ

       

          ยุทธศาสตร์ ที่ ๑ การสร้างความชัดเจนของการนิยามคำว่า “สื่อลามก” และ “สื่ออนาจาร” ประเด็นนี้มีความน่าสนใจและมีความยากไม่น้อย ความพยายามในการสร้างคำนยามของคำว่าสื่อลามกอนาจารนั้นมีมาเป็นเวลาช้านาน ทังนี้ ปัจจัยในการให้ความหมายดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องยึดโยงกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม จิตวิทยา ประกอบกับ การตีความตามบทบัญญัติห่งกฎหมาย มาตรา ๒๘๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น ข้อเสนอในการคิดนิยามนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างนิยามบนพื้นฐานของคำว่า สื่อทางเพศ ซึ่งสามารถพิจารณาได้เป็น ๓ ประเภท ใหญ่ กล่าวคือ สื่อทางเพศในเชิงไม่สร้างสรรค์ที่สังคมไทยยอมรับไม่ได้อย่างเด็ดขาด สื่อทางเพศในเชิงไม่สร้างสรรค์ และสื่อทางเพศในเชิงสร้างสรรค์ การสร้างนิยามในลักษณะนี้ จะทำให้ปัญหาเรื่องการตีความคำว่าสื่อลามกอนาจารนั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแต่บริบทที่ว่า “ยั่วยุทางกามารมณ์” เพียงอย่างเดียว แต่คงต้องมองบริบทและปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม จิตวิทยา ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ ที่ ๒  การปราบปรามผู้กระทำความผิด ซึ่งคงต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมายมาตรา ๒๘๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญาในการทำงาน โยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายแต่ทว่า ในกรณีที่เป็นสื่อทางเพศในเชิงไม่สร้างสรรค์ที่สังคมไทยไม่อาจยอมรับได้ เช่น สื่อลามกอนาจารเด็ก สื่อเพศสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การแอบถ่าย รุมโทรม ข่มขืน มีผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างมาก ยังมีโทษเท่ากับสื่อทางเพศในเชิงไม่สร้างสรรค์ ดังนั้น การเพิ่มฐานความผิด และการเพิ่มโทษในลักษณะของเหตุฉกรรจ์ เพื่อทำให้ผู้กระทำความผิดเกิดความหลาบจำ นอกจากนั้นแล้วในกรณีของเว็บไซต์ลามกอนาจาร การสร้างความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ดูเหมือนว่า เป็นมาตรการที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว กล่าวคือ ทำการเพิกถอนใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอำนาจตามข้อ ๑๓ แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับให้บริการอินเตอร์เน็ต ทำการเพิกถอนใบอนุญาตที่ให้บริการที่ให้บริการเว็บไซต์หรือเว็บเพจตามกรณีที่ร้องเรียนมานี้ ใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่ที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแจ้งผู้รับใบอนุญาตทราบแล้วไม่มีการแก้ไขให้เรียบร้อย อีกทั้ง การกำหนดมาตรการทางสังคมให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอำนาจตามข้อ ๑๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับเดียวกัน ขอให้ทางคณะกรรมการฯ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการฯ ทำการติดตั้งโปรแกรมซอฟท์แวร์ ค้นหา และสกัดกั้น หรือลบหน้าเว็บเพจ ที่มีเนื้อหาลามกอนาจารหรือเนื้อหาที่มีความรุนแรงอันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ ไม่เพียงเท่านั้น มาตรการในการขึ้นบัญชีผู้เคยถูกระงับ ยกเลิก หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการรับใบอนุญาต โดยอาศัยอำนาจตามข้อ ๗ แห่งแห่งประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับเดียวกัน ขึ้นบัญชีผู้เคยถูกระงับ  ยกเลิก  หรือเพิกถอนใบอนุญาต  โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพื่อถือเป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามตามประกาศฯทั้งหมดคงต้องรีบดำเนินการให้เกิดผลในทางรูปธรรม

       

         ยุทธศาสตร์ ที่ ๓  การปราบปรามที่พื้นที่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของสื่อลามกอนาจารมีทั้งบนดินและบนอินเทอร์เน็ต ดังนั้น การติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ต่างๆบนดินเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการลดน้อยถอยลงของจำนวนสื่อลามกอนาจารบนดิน และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและการเฝ้าติดตามพื้นที่ต่างๆจากภาคประชาชนเป็นกลไกที่สำคัญที่จะทำให้การทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการเข้าติดตามพื้นที่เฝ้าระวังเกิดประสิทธิภาพ

           

           ยุทธศาสตร์ ที่ ๔  การปิดกั้น กลั่นกรองเว็บไซต์ลามกอนาจาร ช่องทางของการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารบนระบบอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางที่มีความสะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือ เข้าถึงได้ง่ายกว่าการเดินไปซื้อหาสื่อลามกอนาจารบนดิน ดังนั้น การสร้างระบบซอฟท์แวร์เพื่อการปิดกั้นกลั่นกรองเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรมที่มีโปรแกรมสวิง เนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์ และจากเครือข่ายนักศึกษาที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงศึกษาธิการในพัฒนาซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการส่งเสริมการสื่อสารให้สังคมใช้โปรแกรมเหล่านี้ โดยกรมประชาสัมพันธ์ เป็นอีกหนึ่งกลไกที่จำเป็นที่จ้องลงไม้ลงมืออย่างจริงจัง

           

           ยุทธศาสตร์ ที่ ๕  การตัดวงจรของการประกอบการ แน่นอนอย่างยิ่งว่า กว่าร้อยละ ๙๐  ของการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ช่องทางในการประกอบการนั้นขึ้นอยู่กับระบบการติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์ และการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางธนาคาร และหากการประกอบการนั้น ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะทำให้การประกอบการนั้นลดน้อยถอยลง การสร้างมาตรการในการปิดกั้นช่องทางของการประกอบการทั้งจากทางไรษณีย์ในการทำการโฆษณาและสั่งซื้อสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ประกอบกับ การปิดช่องทางธุรกรรมทางการเงินโดยธนาคารและสมาคมธนาคารไทย จะช่วยให้มาตรการในปราบปรามบรรลุถึงเป้าหมาย

           

            ยุทธศาสตร์ ที่ ๖ การสร้างความรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคมของผู้ประกอบการ นอกจากมาตรการทางกฎหมายแล้ว การสร้างความรับผิดชอบร่วมกันของคนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้ง เจ้าของพื้นที่ ในการดูแลพื้นที่ให้เป็นเขตปลอดสื่อที่เป็นภัย รวมถึง กลุ่มเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ที่จะสร้างระบบการควบคุมดูแลกันเองภายใต้หลักจริยธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยที่ภาครัฐและภาคสังคมให้รางวัลทางสังคมทั้งในเรื่องของการลดหย่อนทางภาษี อีกทั้ง การยกย่องในทางสังคม เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยให้เกิดการจัดการปัญหาสื่อลามกอนาจารที่ยั่งยืนต่อไป

           

          ความพยายามในการปราบปรามปัญหาสื่อลามกอนาจารนั้น ไม่สามารถเน้นเพียงแต่มาตรการในการจับกุม ลงโทษ เท่านั้น การใช้มาตรการเชิงส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์เคียงคู่ไปด้วย อีกทั้งมาตรการในการสร้างภูมิค้มกัน ก็จะทำให้การปราบปรามนั้นไม่ได้เป็นแต่เพียงไฟที่ไหม้ฟางเท่านั้น และโดยที่ยุทธศาสตร์ทั้ง ๖ ไม่ใช่มาตรการระยะสั้น แต่พยายามวางโครงการในการทำงานระยะยาวเอาไว้ การจัดการปัญหาสื่อลามกอนาจารก็จะเกิดผลทางปฏิบัติระยะยาว
หมายเลขบันทึก: 92084เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับ อ. อิทธิพล
  • เข้าใจและเห็นใจว่าเดี๋ยวนี้ป้องกันกันยากจริง ๆ ครับ คงต้องช่วยกันโดยเฉพาะครอบครัวของเยาวชนที่จะแนะนำชี้แนะว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด (เพราะคิดว่าจะทำอย่างไรเด็กก็คงเข้าถึงสื่อได้อยู่ดี ไม่ว่าจะ blog หรือป้องกันอย่างไรก็ตาม)
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ มาตรการในการปราบปรามเป้นเพียงหนึ่งในอีกหลายมากตรการครับ

เรายังต้

การมาตรการด้านการส่งเสริมสื่อทางเพศในเชิงสร้างสรรค์ใหมีจำนวนมากขึ้น

อีกทั้งมาตรการในการสร้างภูมิค้มกัน

แล้วจะทยอยเขียนให้เห็นภาพครับ

ขอบคุณมากค่ะ หนูได้นำข้อมูลไปประกอบรายงานด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท