เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์...ไม่อยากพบบก็ยิ่งเจอ


เครื่องมือวิทยาศาตร์นั้นมีความละเอียดอ่อนมาก ถึงงมากที่สุด

เมื่อเปลี่ยนบทบาทตัวเองจากคนสอนมาเป็นคนเรียนก็ใช้เวลาในการปรับตัวเพียงเล็กน้อย เพราะ คิดว่าการสอนคือการเรียน การเรียนเพื่อไปสอน สอนอย่างรู้แล้วไปสอน ไม่ใช่อ่านแล้วไปสอน เพราะจะทำให้ความเข้าใจยากขึ้น

มาถึงเรื่องที่อยากจะเล่าคือเรื่องราวของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก แต่เอาใจยาก เพราะเราไม่เข้าใจเค้า เค้าเลยไม่ทำงานให้เรา

โดยตัวตนนั้นเป็นนักวิทยาศาตร์ที่ไม่ค่อยได้ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาตร์ซักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ เพราะเครื่องมือวิทยาศาตร์นั้นมีความละเอียดอ่อนมาก ถึงงมากที่สุด แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ชอบออกไปหาความรู้จากการปฏิบัติของคนในชุมชนในรูปแบบต่างๆทั้งในเมือง ชนบท กึ่งๆเมืองกับชนบท

เครื่องมือที่ต้องทำงานร่วมกันอยู่ตอนนี้เรียกว่าเครื่อง แก๊สโครมาโทรกราฟี เป็นเครื่องที่สามารถวิเคราะห์หาสารประกอบทางเคมีได้หลายชนิด แต่ก็จะมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เพราะความที่มันสามารถทำงานได้ละเอียดน่แหละที่ทำให้คนทำงานกับเครื่องต้องละเอียดเช่นกัน

โดยหลักการคร่าวๆของเครื่องนี้ก็จะใช้แก๊สเป็นตัวนำพาสารที่เราต้องการวิเคราะห์เข้าไปในส่วนของการวิเคราะห์ ผลของการวิเคราะห์ออกมาเป็นกราฟ หรือ โครมาโทรแกรมนั่นเอง เส้นกราฟที่ออกมาก็จะมีสูงต่ำไปตามสิ่งที่ตัว detector จับได้ เหมือนไม่ยากแต่ไม่ง่ายอย่างที่เขียนมาแค่นี้ เพราะตอนนี้ใช้เวลาอยู่กับเครื่องอย่างจริงจังมา ๒ เดือนกว่าแล้ว แต่ก็ยังทำความเข้าใจเครื่องได้ไม่หมด

วันนี้คงจะเล่าแค่นี้เพราะต้องไปคลุกอยู่กับเจ้าเครื่องโครมาโทรกราฟีต่อแล้วจ้า

 

หมายเลขบันทึก: 91988เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นางสาวชลาลัย เหตุหาก

ต้องการคู่มือการใช้งานของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท