UM


การบริหารทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
UM                ขณะนี้โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ได้มีนโยบายด้านการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยหลักการของ  Utilization  Management   โดยตั้งงบประมาณรองรับไว้จำนวนหนึ่ง  พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งในการดำเนินงานได้แบ่งกลุ่มบริหารจัดการออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่  คือ  กลุ่มรักษาพยาบาล (Clinic)   และกลุ่มสำนักงาน (Back  office)  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงได้กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ  เขียนโครงการและเสนอของบประมาณในการดำเนินงานด้าน  Utilization  Management  ในหน่วยงานของตนเอง  ดังนั้นทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์จึงได้มีการจัดอบรมปฏิบัติการ  เรื่อง หลักการและวิธีการเขียนโครงการ การบริหารทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยหัวหน้างานเวชกรรมสังคม เป็นวิทยากร   ซึ่งจัดขึ้นในวันที่  12  มีนาคม  2550  มีตัวแทนของหน่วยงานต่าง ๆ  เข้าอบรม จำนวน 160 คน  คาดว่าจะมีโครงการต่าง ๆ  เกิดขึ้นนับร้อยโครงการ  อาจจะเป็นโครงการเล็กหรือโครงการใหญ่ก็ได้ตามความสามารถ                ความรู้ที่ควรทราบโดยย่อเกี่ยวกับ UMUtilization  Management  (การบริหารทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ)         หมายถึง        กระบวนการทบทวน (Reviewing)  และส่งเสริม (Promotion)                                  ให้มีการใช้ทรัพยากรอยางเหมาะสม(Appropriately) + อย่างคุ้มค่า           *โดยที่ยังคงคุณภาพ(Quality)+ประสิทธิภาพ(Effectiveness) และมีความคุ้มค่า(Efficiency)*UM   เป็นการบริหารเชิงรุก   เน้นการแก้ปัญหา  ในการจัดการทรัพยากรที่ใช้  รู้ต้นทุน  มุ่งสร้างการบริการและคุณภาพในราคาที่เหมาะสม เหตุผลที่ต้องจัดทำโครงการ  การบริหารทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ                1.  ทรัพยากรมีจำกัด                                            2.  ความต้องการใช้มีมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำกัด                3.  การตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร จึงอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิผลและค่าใช้จ่าย การจัดการเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าความเสี่ยงที่อาจพบได้จากการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่ ไม่คุ้มค่าในอดีตที่ผ่านมา เช่น*  การรักษาที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีข้อบ่งชี้                                                                                                 *  การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยที่ไม่จำเป็นหรือมีราคาแพง                                                          *  ระยะเวลานอนโรงพยาบาลที่นานกว่าปกติ                                                                                                               *  การผ่าตัดที่ไม่มีข้อบ่งชี้ที่เพียงพอ                                                                                                             *  การใช้ยาราคาแพง                                                                                                                          *  การใช้วิธีการรักษาซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองและยังไม่เป็นที่ยอมรับ เป็นต้นสถานการณ์ปัจจุบัน
ผลกระทบต่อระบบบริการด้านสุขภาพ
1.       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี2.       ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสูงขึ้น แต่ทรัพยากรจำกัด3.       มีการจ่ายค่าบริการแบบเฉลี่ยความเสี่ยงไปยังผู้ให้บริการ  (Provider risk sharing)   เช่น  แบบเหมาจ่ายต่อคน  และแบบกำหนดล่วงหน้า หรือ DRG4.       การดูแลผู้ป่วยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบบริการด้านสุขภาพ

หารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในเวลาเดียวกัน

Utilization  Management (UM) ควบคู่กับ 
Quality  Management (QM)

เพื่อให้การบริหารโรงพยาบาลประสบความสำเร็จ  ทั้งในด้านคุณภาพ
การดูแลรักษา ประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร 
และประสิทธิผลเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย
 ขั้นตอนง่ายๆ  ในการจัดทำกิจกรรมทบทวนการใช้ทรัพยากร อาจทำได้ดังนี้          ฝ่ายบริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์          กำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำกิจกรรทบทวนการใช้ทรัพยากร ซึ่งอาจอยู่                                ในรูปคณะกรรมการทบทวนการใช้ทรัพยากร ( Utilization  review  committee )                         ซึ่งประกอบด้วยแพทย์  พยาบาล  เภสัชกร และวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับ                     ความเหมาะสมของแต่ละองค์กร             คณะกรรมการชุดดังกล่าวกำหนดเขตโครงสร้างการทำงาน แนวทางการประสานงาน   และการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          คณะกรรมการกำหนดระบบในการจัดทำกิจกรรมทบทวนการใช้ทรัพยากร เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าในทุกขั้นตอน          คณะกรรมการร่วมกับองค์กรแพทย์หรือองค์กรพยาบาล    กำหนดนโยบาย                       ด้านการรักษา (Clinical policy) เกณฑ์ต่างๆ  (Clinical criteria) หรือแนวทาง           การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานต่างๆ  เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการทบทวน              การใช้ทรัพยากร          จัดอบรม ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับระบบการทบทวน              การใช้ทรัพยากรที่จัดทำขึ้น และถือปฏิบัติ          ทำการเฝ้าระวังปัญหา และอุปสรรค ตลอดจนความจำเป็นในการทบทวนกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้น          วัดผลและประเมินผลงานของระบบเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น          รายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงทราบHigh  Quality – Cost  Less
คุณภาพคือทำตามข้อบ่งชี้ ทำให้สม่ำเสมอ
การบริการที่มีคุณภาพจะช่วยลด  :                                   1.  ข้อบกพร่อง  2.  ความผิดพลาด  3.  การสูญเปล่า  4.  ความแปรปรวน  5.  การทำงานซ้ำซ้อน  6.  ความไม่พอใจ               ผลลัพธ์หลักคือลดค่าใช้จ่ายโดยคงคุณภาพการพัฒนาคุณภาพที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ          ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันความบกพร่อง/ปัญหา          ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมตามหลักฐานวิชาการ                -  ลดการใช้  intervention  ที่มีข้อพิสูจน์ว่าไม่ได้ผล                -  ทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นเนื่องจากใช้  intervention  ที่ได้ผล          การ  innovation  มาใช้ในการทำงาน          มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงาน                -  ลดระยะเวลาที่ใช้ในการลองผิดลองถูก
คำสำคัญ (Tags): #งานพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 91980เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท