ก่อนส่งลูกไปเรียน ไปเรียนก่อนลูก (การเอาวัฒนธรรมเป็นสินค้าส่งออก)


ภาษาจีน

ก่อนลูกสาวเข้าเรียน ไปสมัครเรียนภาษาจีนที่โรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพนี่แหละ พอได้เข้าไปเรียน จึงได้รู้ว่า ประเทศจีนได้วางแผนการค้าไว้อย่างดี เพื่อรองรับการเจริญเติบโต ในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จากการที่ประเทศจีนเน้นข้ออ้างเรื่องประชากรที่มากมาย พอที่จะเป็นตลาดที่น่าสนใจของต่างชาติ จีนกลับนำส่วนนี้มาจูงใจเพื่อขายสินค้าวัฒนธรรม นั่นคือ ภาษาจีน อันว่าภาษาจีนก็ไม่ต่างกับภาษาอื่น ๆ ของแต่ละประเทศในโลก นั่นคือมีหลายสำเนียง หลายภาษาเผ่า ภาษาพูด แต่จีนกลับนำมาประยุกต์เพื่อให้สามารถนำไปเรียนรู้ให้เป็นสากล จากตัวสะกดที่อ่านยาก จู้อิน เปลี่ยนมาเป็น พินอิน โดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ แทนคำอ่าน เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ของชาวต่างชาติ (คล้ายกับ romanji ในภาษาญี่ป่น) แน่นอนว่าภาษาจีนต่อไปจะกลายเป็นภาษาที่มีผู้ใช้เป็นชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายอันดี ที่จะทำให้ประเทศของตนเองเป็นที่รู้จัก คิดในทางวัฒนธรรม ญี่ปุ่นก็มีนโยบายชาตินิยม มานานทำให้มีลักษณะเหมือนปิดประเทศเชิงวัฒนธรรม แต่ก็ทำให้ญี่ปุ่นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเจริญขึ้นถึงขีดสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่จะติดต่อกับประเทศญี่ปุ่นต้องเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น อย่างน้อยก็พูดได้ เพื่อติดต่อทำการค้า ซึ่งระบบนี้กำลังถูกใช้ในการขายสินค้าวัฒนธรรมในจีนเช่นกัน ซึ่งอาจต่างจากเกาหลี ที่ขายสินค้าวัฒนธรรมเป็นเกมส์ออนไลน์ ภาพยนต์ ละครชุด ซึ่งทำเงินมากมายมหาศาล (เริ่มมาจาก แดจังกึม ที่จับจุดเรื่องวัฒนธรรมการกินของชาวเอเชียออกสู่ชาวโลก และ เกมส์ แรคนาร๊อคออนไลน์) แต่จีนได้พัฒนาภาษามาเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่เป็นมาตรฐาน และ สามารถกระจายสู่สากลได้ โดยมีหน่วยงานวัฒนธรรมรับผิดชอบอย่างเต็มที่ กระจายออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และ ต่อเนื่อง

มาสังเกตดูแล้ว ประเทศจีน สามารถส่งครูออกมาสอนภาษาจีน เพื่อหารายได้กลับประเทศได้มากไม่ใช่น้อย ในขณะเดียวกันประเทศจีนก็จะได้ประโยชน์จากการที่คนต่างชาติรู้ภาษาจีนมากขึ้น

เรียนไปก็อดคิดไม่ได้ว่า ประเทศไทย จะมีสินค้าวัฒนธรรมอะไรที่เป็นจุดเด่นพอที่จะส่งออกได้บ้าง ที่เห็นชัดและเป็นที่ขึ้นชื่อ ก็เห็นจะเป็น อาหารไทย นวดแผนโบราณ แต่สินค้าวัฒนธรรมเหล่านี้ จะเป็นสินค้าที่ชัดเจนได้แค่ไหน มีหน่วยงานอะไรที่จะรับผิดชอบ ปกป้องสิทธิ์ (ฤาษีดัดตน ยังเกือบถูกเอาไปเป็นของต่างชาติเลย) และส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด ให้เป็นมาตรฐาน เราได้แต่ซึ้อสินค้าจากต่างประเทศ รับวัฒนธรรมจากต่างประเทศ โดยที่ไม่ได้พัฒนาวัฒนธรรมของเราให้เป็นสินค้าส่งออกได้ เห็นเกาหลีผลิตเกมส์ออนไลน์ ขายได้เป็นสินค้าวัฒนธรรมที่มียอดขายอันดับ 1 ไทยเราก็ทำเป็นว่าจะสนับสนุนการผลิตเกมส์ออนไลน์ ไม่ได้คิดเลยว่าเราจะไปสู้เขาได้อย่างไร เขาเปิดสถาบันสอนกันมานาน วางรากฐานกันมานาน เราเห็นผลลัพธ์ก็จะเอาอย่าง แต่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน จริงอยู่ที่ว่าคนไทย ลอกเก่ง ลอกเขาแล้วเอามาดัดแปลงได้เก่ง แต่ คิดเองไม่ค่อยจะได้ เพราะระบบการศึกษาไม่ได้สอนให้รู้จักคิด รู้จักแต่ลอกแล้วดัดแปลงให้เป็นของตัวเอง (ลองดู Thesis ของนักศึกษาปริญญาโทไทย บ้างเป็นไง มากกว่าร้อยละ 50 ลอกเขามา แล้วเอามาแก้ค่าให้เป็นของตัวเอง อันนี้ที่เห็นมา และ เคยรับทำมา) แล้วจะพัฒนาได้อย่างไร

ก็ได้แต่บ่นนะ ยังไม่รู้จะเขียนอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน แต่อยากให้ทุกคนช่วยแสดงความคิดเห็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยยังไง ก็แนะนำมาก็แล้วกันครับ จบ(ดื้อ ๆ)

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาจีน
หมายเลขบันทึก: 91850เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท