สรุปบทเรียนเยี่ยมสถานีอนามัยราชบุรี


สถานีอนามัยราชบุรี

      164 สถานีอนามัย 10 โรงพยาบาลชุมชน  โรงพยาบาลทั่วไป  10สาธารณะสุขอำเภอ  200 ร่ายผู้ป่วย  ผู้พิการ  2000  ภาชนะ  ที่ดูลูกน้ำยุงลาย  ตลอดระยะเวลา  2 เดือน  ที่ออกเยี่ยม  พักนอน  ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี  นับเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่า 

      1. ผู้ป่วยที่เป็นผู้กิการหลายรายเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทำให้เกิดกระดูกขาสันหลังแตกหัก  หลายรายเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุตกจากที่สูง  บางรายเกิดจากเส่นเลือดตีบ  แตก  ตัน  ทำให้เป็นภาระของญาติและสังคมโดยรอบ  เพราะ  ยังไม่สิ้นชีวิตในทันที  ต้องอยู่อีก 2-10 ปี  การจัดระบบเงินช่วยเหลือน่าจะเชื่อมโยงกับชุมชนในท้องถิ่น  องค์กรท้องถิ่นยังไม่เข้มแข็งพอ  ในการดำเนินการด้วยคนเอง  ควรจะประชุมหารือกับประชาสงเคราะห์เดิม  โรงพยาบาล  สาธารณะสุข  และหมู่บ้าน  โดยเฉพาะวัดในพื้นที่  ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดมากขึ้นเป็นเรื่องยากแต่ต้องพยายามทำให้ได้ 

      2.โครงการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน  จัดฐานข้อมูล  ตามเครื่องมือวิถีชุมชน  ควรจัดทำอย่างจริงจังมีการอบรมอย่างเป็นระบบ  ทั้งนี้  ต้องระวังว่าเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขกำลังเหลือน้อยและต้องพยายามเชื่อมโยงกับงานหลักการสุขภาพท่วนหน้าให้จนได้  เพราะ  บ่อยครั้งเรามักจะนำเงินไปใช้ในการรักษาแห่งความเป็นเลิศ  มากกว่าการรักษาแก้ไขปัญหาโรคพื้นฐานที่ชาวบ้านกำลังประสบอยู่  แต่ต้องระวังการใช้เครื่องมือราคาแพงที่มาจากเมืองนอก  จะทำให้ประเทศชาติอยู่ยากขึ้นไปอีก 

      3.โครงสร้างโรงพยาบาลอำเภอกับสาธารณะสุขอำเภอ  ยังมีข้อขัดแย้งโดยระบบขณะนี้เงินได้โอนให้กับบัญชีเงินบำรุงของโรงพยาบาลทำให้หลายแห่งเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ  ในการใช้เงินเพื่อลงพื้นที่  ระดับหมู่บ้านมากกว่ารักษาพยาบาล  ทางออกอาจต้องแก้ไขโครงสร้างให้มีผู้นำสูงสุดทางด้านสุขภาพคนเดียว  มีอำนาจเงิน  บุคลากร  แต่ทั้งนี้  ไม่น่าจะต้องเป็นแพทย์อย่างเดียว  ควรให่มีการประเมินค่อยทำค่อยไป  กำหมดตัวชี้วัดคุณสมบัติให้ชัดเจน  ถ้าเป็นผ๔อำนวยการโรงพยาบาลก็น่าจะเติมส่วนขาด  คือ  ต้องไปเยี่ยมให้ขวัญกำลังใจที่สถานีอนามัยอยู่เสมอ  ไม่ใช่เพียงแต่ประชุมในห้องประชุม  ถ้าเป็นสาธารณสุขอำเภอก็ต้องเติมส่วนขาด  ความรู้ด้านระบาดวิทยาการบริหารการเงินการคลังสาธารณะสุข  หลักประกันสุขภาพท่วนหน้าการบริหารโรงพยาบาล  หากได้สาธารณะสุขอำเภอเป็นผู้นำ  ผู้บริการโรงพยาบาลชุมชนก็จะเป้นรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์  หากได้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเป้นผู้นำ  สาธารณะสุขอำเภอก็จะเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายสาธารณะสุข 

      4.ทุกครั้งที่มีผู้ป่วยดเสียชีวิตในพื้นที่  งานศพทุกงานศพ  ให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไปร่วมงานด้วย  เพื่อถอดบทเรียนมาเล่าให้ที่ประชุม อสม. ฟังทุกเดือน  เพื่อหาทางป้องกัน 

      5.เงินบำรุงของสถานีอนามัยมีขึ้นเพื่อพัฒนาสถานบริการและช่วยเหลือประชาชนทางด้านสาธารณะสุขโดยถูกระเบียบ  ขณะนี้มีอย่างน้อย  34  จังหวัดที่มีปัญหาด้านการเงินการคลัง  ดังนั้นการเก็บเงินบำรุงไว้มากๆ  จึงเป็นผลเสียในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข  ประมาณคร่าวๆ  แต่ละสถานีอนามัยไม่ควรมีเงินบำรุงเกิน  1  แสนบาท  หากไม่มีที่ใช้  เงินงวดต่อไปจะโอนให้สถานีอนามัยอื่นหรืออำเภออื่นหรือจังหวัดอื่น  การใช้เงินบำรุงควรปรึกษาภาคีสุขภาพเช่น  ท้องถื่น  ปราชญ์ชาวบ้าน  วัด  ผู้นำองค์กงอื่นๆให้ถูกระเบียบด้วย

       6.ขอให้ยึดชาวบ้านเป็นศูนย์กลางแนวทางหรือคำสั่งใดของจังหวัดหรือกระทรวงที่ไม่สอดคล้องกับชาวบ้าน  ให้เสนอความเห็นได้  ทั้งนี้ให้เป้นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

      7.พื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นพื้นที่ใกล้และเจริญทุกพื้นที่  เป็นธรรมดาอยู่เองที่ทุกหน่วยงาน  จะเลือกราชบุรีเป็นพื้นที่เป้าหมาย  ในการทำงานวิจัยสุ่มตรวจเรื่องระบบการเงินการคลังระบบบัญชี  ดังนั้นขอให้เตรียมตัวให้พร้อมในความโปร่งใส  สุจริต  ตรวจสอบได้  เพราะ  เป็นหน่วยงานที่ส่วนกลางต้องการให้เป็นพื้นที่นำร่องในหลายๆเรื่อง 

      8.ขอบคุณในความขยันตั้งใจของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย  แพทย์  พยาบาล  โรงพยาบาลต่างๆ  สาธารณะสุขอำเภอท้องถิ่น  วัดต่างๆ  รุ้สึกทราบซึ้งในการที่พวกเรามอบเบอร์โทรศัพท์มือถือให้กับชาวบ้านและผู้ป่วย  เสมือนหนึ่งเป็นญาติ  ความดีเหล่านี้  จะยังผลให้พวกเราพบความสุขที่แท้  ในที่สุด 

     สวัสดี  นายแพทย์บุญเรียง  ชูชัยแสงรัตน์ 

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

โทร. 0819415586  วันที่ 22 เมษายน 2550

คำสำคัญ (Tags): #สถานีอนามัย
หมายเลขบันทึก: 91793เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน คุณหมอที่เคารพ

     ผมเป็น หนสอ.คนหนึ่งครับ  เข้ามาอ่านบทความข้อคิดเห็นของคุณหมอแล้ว เป็นแง่คิดที่ดีมากครับ 

    ณ ปัจจุบันนี้ ผมมีความรู้สึกว่าความสามัคคีในหมูคณะเริ่มลดลง  ความแตกแยกเริ่มเพิ่มเข้ามาแทนที่  ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เลย  อยากให้ทุกคนรักสามัคคีกัน  ร่วมกันสร้างสุขภาพของประชาชนให้สบูรณ์ แข็งแรง  มีสุขภาวะที่ดี  จะได้เป็นกำลังของชาติในอนาคต

     ขอบคุณคุณหมอที่ให้เสนอแง่คิดที่ดี เพื่อกระตุ้นให้มีการค้นหาวิธีการที่จะช่วยให้เกิดกระบวนการอันนำไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านงานสาธารณสุขครับ

                                  ด้วยความเคารพ

                                     แสงตะวัน

 

เป็น หน.สอ.เหมือนกัน มีเงินบำรุงอยู่ 5 แสนกว่าบาท แต่แตะต้องยาก ให้ใช้แต่ UC พอกล้อมแกล้ม ไป ก่อนย้ายมาอนามัยเดิมมีทุนน้อย ใช้เงินเหลือไม่ถึงแสน กลายเป็นผู้ผิด คนมาอยู่ใหม่ต้องเขียมต่อไป อยากเชิญคุณหมอมาบรรยายจริงๆ

ขอบคุณคุณแสงตะวันและคุณตันติราพันธ์ เรื่องการพัฒนาสถานีอนามัยในแนวใหม่ หากพึ่งผู้นำองค์กรเพียงอย่างเดียว เมื่อผู้นำองค์กรย้ายหรือเปลี่ยนนโยบาย การพัฒนาสถานีอนามัยจะสั่นคลอนเป็นอย่างมาก นพ.ประเวส  วะสี บอกว่า ขณะนี้สังคมของโลกเปราะบางเพราะชอบใช้อำนาจในแนวดิ่ง หมายความว่า รอว่านายจะสั่งอะไร พูดอะไร คิดอะไร จึงเกิดความขัดแย้งสูง ที่ถูกต้องที่ให้เกิดความสามัคคีให้เกิดความสมานฉันท์ ต้องสร้างความสัมพันธ์ในแนวราบ หมายความถึง เจ้าหน้าที่ระดับเดียวกันต่างอนามัย ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ต่างหน่วยงาน เช่น โรงเรียน วัด ต้องรู้จักกัน ต้องมีอำนาจ ความสัมพันธ์ นี่แหละจะสร้างความสามัคคีที่แท้

สวัสดี

นายแพทย์บุญเรียง  ชูชัยแสงรัตน์

วันที่ 3  พฤษภาคม  2550

โทร. 081-9415586

 

เรียน Webmaster

ได้โปรดพิมพ์เบอร์โทรศัพท์กลางและรหัสไปรษณีย์ของสถานีอนามัยด้วยครับ เพื่อคนทั้งประเทศและต่างประเทศจะได้รู้จัก

ผมอยากได้เบอร์โทรสัป ของสถานีอนามัย ทุกแห่งไนจังหวัดราชบุรี ครับจะเอาไปทำรายงาน ไครรู้ช่วยแนะนำว่าหาได้ที่ไหน

ผมพยามหามา2วันแล้วครับหาได้แค่3ที่ ช่วยแนะนำผมทีครับ ขอบคุณครับ

ติดต่อขอเบอร์โทรทุกสถานีอนามัยราชบุรีได้ที่ หัวหน้ายุทธศาตร์สสจราชบุรี คุณกุลยา(พี่แจ๋ว)โทรเข้าสสจราชบุรีนะครับ เบอร์โทรอยู่ในเครื่องมือถือคอมที่กำลังใช้อยู่นี้ มีปัญหาโทรหาผมได้นะครับ พ บุญเรียง 0819415586 12/7/53

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท