นิสิตแพทย์ฝึกปฏิบัติงานที่บ้านกร่าง


พี่เลี้ยงแพทย์ เป็นหน้าที่ที่สำคัญสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่อยู่ในชุมชนอย่างพวกเรา เพราะการให้น้องๆแพทย์มีความเข้าใจชาวบ้าน เข้าใจชุมชนอย่างแท้จริง มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ในการบริการ

เดือนเมษายนชุมชนคนบ้านกร่างได้รับความไว้วางใจมอบหมายให้ดูแลนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทย์ ม.นเรศวร จำนวน 8 คน การมาครั้งนี้เพื่อฝึกภาคปฏิบัติการซักประวัติ ตรวจร่างกาย  การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน โดยใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์   มีแพทย์พี่เลี้ยง จากกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ร.พ พุทธชินราช คือ    .นพ นิพัธ  กิตติมานนท์ และ.นพ ดนัย  สังข์ทรัพย์    พี่เลี้ยงจาก ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านกร่างทุกคน  ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนชาวบ้านหมู่ 12  ร่วมให้การดูแล <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">   พี่เลี้ยงแพทย์ เป็นหน้าที่ที่สำคัญสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่อยู่ในชุมชนอย่างพวกเรา เพราะการให้น้องๆแพทย์มีความเข้าใจชาวบ้าน เข้าใจชุมชนอย่างแท้จริง มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ในการบริการ ในระยะเวลาอันจำกัด ทีมงานของเราจึงต้องมีการวางแผนและเตรียมสิ่งต่างๆมากมายไว้ต้อนรับ เช่นเตรียมสถานที่ เตรียมอุปกรณ์  เตรียมชุมชน และเตรียมตัวของพี่เลี้ยง มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานกับชุมชน เพื่อให้การฝึกภาคสนามครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน จะได้มีแพทย์ที่ดีมีคุณภาพ  รักและเข้าใจชาวบ้านด้วยหัวใจไม่ใช่ทำเพื่อหน้าที่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">    การฝึกครั้งนี้ เวลา 9.00 – 12.00 .ตรวจรักษาที่ pcu เวลา 13.00-15.00 น ร่วมวางแผนและออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาและครอบครัว   ฝึกการวินิจฉัยชุมชน  รวมเวลา 6 วัน ตลอดระยะเวลาที่ร่วมงานกัน  ชุมชนบ้านกร่างมีบรรยากาศการทำงานคึกคักสนุกสนาน   มีรอยยิ้มใสๆจากน้องๆแพทย์  มีเสียงหัวเราะของคุณตา คุณยาย ถึงแม้จะรอนานหน่อยแต่ก็มีความสุขดี  ขอบอกว่าน้องๆนิสิตแพทย์กลุ่มนี้สอบผ่านการใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน </p>

นพ.ดนัย สังข์ทรัพย์ สอนและสาธิตการตรวจร่างกาย 

 พานิสิตเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน สร้างกำลังใจและความสุขมาสู่ผู้ป่วยอย่างมาก

 การพูดคุยอย่างเป็นกันเองของนิสิตแพทย์กับผู้ป่วย

สิ่งที่ได้รับจากการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (ของนู๋รัตน์)

1.    ประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับน้องๆนิสิต ซึ่งเป็นกำไรชีวิตในการทำงาน

2.    ได้ความรู้และทักษะการตรวจร่างกายเพิ่มขึ้นจากอาจารย์แพทย์

3.    ได้พัฒนาความคิด การตัดสินใจ กระบวนการทำงานในชุมชน

4.    ความสุข ความภาคภูมิใจ การมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ดีแก่องค์กรทางด้านสาธารณสุข

 ก่อนกลับก็ฝากของที่ระลึกไว้คิดถึงกัน

 

 

ไม่ลืมที่จะขอบคุณ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12 ที่ใหการต้อนรับอย่างอบอุ่น

 

</span>

หมายเลขบันทึก: 91749เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีจ๊ะอาจารย์นู๋รัตน์
  • หายไปนานเห็นบันทึกนู๋รัตน์ต้องรีบเข้ามาอ่านเชียวหล่ะ
  • ดีใจค่ะที่เห็นคุณหมอในอนาคตได้ลงมาสัมผัสในชุมชนเพื่อเรียนรู้พื้นฐานของชุมชนเข้าใจบริบทของชุมชนมากขึ้น คาดหวังว่าจะได้มีแพทย์ที่ดีมีคุณภาพ รักและเข้าใจชาวบ้านด้วยหัวใจ ไม่ใช่ทำเพื่อหน้าที่เท่านั้นอย่างที่น้องรัตน์กล่าวค่ะ
  • อย่างน้อยเราก็เห็นแล้วว่าทีมงานบ้านกร่าง ใส่หัวใจในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชุมชนอย่างแท้จริง...เป็นกำลังใจให้เสมอ
     ดีนะนู๋รัตน์ ถึงจะมีเวลาไม่มากนักในการถ่ายทอดความรู้สึกดีๆให้กับหมอน้อยเหล่านี้ แต่เราก็หวังไว้นะว่าเค้าจะจำได้บ้าง อาจจะมีบางคนได้เติบโตเป็นหมอของชาวบ้านจริงๆก็เป็นได้นิ
ดีใจจังค่ะทีพี่
P
คิดถึงและคอยเป็นกำลังใจนู๋รัตน์ ชอบรับฟังคำแนะนำจากพี่หนูมากๆเพราะทำให้น้องรัตน์มีความสุขและมีแรงลุกขึ้นมาทำงาน  คิดผลงานใหม่ขึ้นมาได้อีก ขอบคุณ อีกครั้งค่ะ
ขอบอกว่าน้อง ๆ ของอาจารย์ ต้องมีหัวใจของความเป็นมนุษย์ในการให้บริการอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ 50%  ที่เฝ้าสังเกตและติดตามผลงานของน้องๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท