ปกหนังสือก็มีพิพิธภัณฑ์ด้วย....นะจ๊ะ....จะบอกให้


พิพิธภัณฑ์ปกหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่เคยได้ยินหรือไม่อยู่ในความคิดเลยว่าจะมีพิพิธภัณท์ประเภทนี้อยู่ในโลกด้วย แต่ก็มีแล้ว พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมปกหนังสือแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งปกหนังสือเก่าโบราณและปกหนังสือใหม่ ศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเจ้าของพิพิธภัณท์อ้างว่าการสร้างสรรค์ศิลปะปกหนังสือนี้นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเทียบเท่างานสถาปัตยกรรมหรือปฎิมากรรมเลยทีเดียว

                                                                        

บรัสเซลส์ เมืองหลวงแห่งยุโรปที่เต็มไปด้วยเสน่ห์อันซ่อนเร้น  แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ มีพลเมืองเพียง 1 ล้านคน แต่มีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย หาดูไม่ได้ที่ไหนในโลก ตั้งแต่ รูปปั้นเด็กฉี่เมนเกนปิสเลื่องชื่อ ที่ทุกวันสงกรานต์ (13 เมษายน) ของทุกปีจะแต่งชุดราชประแตนของไทยยืนอวดสายตานักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมา อะโตเมี่ยม สถาปัตยกรรมโครงสร้างอะตอมที่ตั้งตระหง่านคงทนมาตั้งแต่งานมหกรรมโลกปี ค.. 1958 มินิยุโรป เมืองย่อรวมสถาปัตยกรรมและอาคารสำคัญๆของยุโรปมาไว้ ณ ที่แห่งเดียว พาเลส เดอ    จัสติส อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมอลังการและถือว่าเป็นอาคารศาลใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่ง มีตำนานเล่ากันว่าหากรื้อถอนอิฐของอาคารดังกล่าวมาเรียงต่อกันทีละก้อน ก็จะเรียงต่อได้จากบรัสเซลส์ไปเป็นระยะทางยาวไปจนถึงกรุงมอสโคว์ของรัสเซียทีเดียว จัตุรัสกรองพลาสกลางกรุงบรัสเซลส์ที่สวยงามที่สุดในยุโรป สถานที่ที่ในทุกๆ สองปี จะมีการจัดพรมดอกไม้ประดับด้วยดอกไม้กว่าเจ็ดแสนดอกเต็มจัตุรัส เพื่อให้คนได้ชื่นชมเพียง สามวัน พิพิธภัณฑ์การ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในยุโรป ………….และนอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์ปกหนังสือ Wittockania

                พิพิธภัณท์นี้สำคัญอย่างไร มีเอกลักษณ์อะไรที่ทำให้น่าสนใจและไม่เหมือนใคร ซึ่งตามปรกติ เมื่อเอ่ยถึงพิพิธภัณฑ์ คนส่วนมากจะเข้าใจว่าหมายถึงพิพิธภัณฑ์ภาพเขียนศิลปะหรือวัตถุโบราณต่างๆ แต่พิพิธภัณฑ์ปกหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่เคยได้ยินหรือไม่อยู่ในความคิดเลยว่าจะมีพิพิธภัณท์ประเภทนี้อยู่ในโลกด้วย แต่ก็มีแล้ว พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมปกหนังสือแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งปกหนังสือเก่าโบราณและปกหนังสือใหม่ ศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเจ้าของพิพิธภัณท์อ้างว่าการสร้างสรรค์ศิลปะปกหนังสือนี้นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเทียบเท่างานสถาปัตยกรรมหรือปฎิมากรรมเลยทีเดียว

                 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชื่อว่า พิพิธภัณฑ์ Wittockania ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 21 ถนน เบเมล (Rue du Bemel) ย่านสะแควร์มอนโกเมอรรี่ ชานกรุงบรัสเซลส์ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของคือนาย Micheal Wittock ชาวเบลเยี่ยมเชื้อสายอิตาเลี่ยน นาย Wittock นี้เป็นลูกชายคนเล็กของ Valere Gille กวีชาวอิตาเลียน ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อตั้งสถาบันภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสของเบลเยี่ยม (L’Academie royal de langue et de litterature francaises de Belgique)                                เส้นทางชีวิตที่นำ Wittock ให้เข้ามาสู่โลกของการสะสมปกหนังสือเริ่มจากการที่เขาได้รับมรดกเป็นหนังสือเก่าเขียนด้วยลายมือ และจดหมายเก่าของนักเขียน ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมหลายคนจากปู่ของเขา ซึ่งเป็น ผอ. ของวารสารทางวรรณคดี La Jeune Belgique ถึง 8 ปี ตั้งแต่ปลายปี ค.. 1889                                 ความหลงใหลของ Wittock ในการสะสมหนังสือเก่า  เริ่มจากหนังสือเก่าประเภท genealogied’ heraldique และ ภาพวาดแผนที่เก่า topographie ของเบลเยี่ยม ในเวลาไม่นานนักเขาก็มีหนังสือเก่าและเอกสารเก่า                เหล่านี้ประมาณ 300 ชิ้น  และด้วยความเชี่ยวชาญในด้านนี้เองทำให้เขาได้เป็นกำลังสำคัญของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเก่าของเบลเยี่ยมในเวลาต่อมา                                Wittock ได้เป็นสมาชิก Societe Royale des bibliophiles และ Iconophiles ของเบลเยี่ยม และต่อมาได้เป็นถึงรองประธานของสมาคม                                ในช่วงปี ค.. 1970 เขาได้มีโอกาสชมงานเกี่ยวกับการทำปกหนังสือที่งดงามในพิพิธภัณฑ์ต่างๆทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างห้องสมุดเฉพาะในด้านประวัติศาสตร์การจัดทำปกหนังสือ  ซึ่งในปัจจุบันมีสะสมอยู่หลายพันเล่ม เขาได้เริ่มสะสมปกหนังสือที่สวยงาม รวมทั้งซื้อหามาจากการประมูล   ทั่วไปตามห้องสมุดต่างๆ โดยเฉพาะจากห้องสมุดของ Sir Robert Abdy ที่ได้เลิกกิจการบางส่วนไปในปี ค.. 1975                                ความสนใจของ Wittock  มุ่งเน้นไปยังปกหนังสือเก่าโบราณที่ประดับด้วยลวดลายทอง โดยเฉพาะหนังสือเก่าสมัยศตวรรษที่ 16 ซึ่งในอิตาลีและในฝรั่งเศสในสมัยนั้น มีการทำปกหนังสือที่สวยงามมาก รวมทั้งในเบลเยี่ยมเองก็มีการพัฒนาในเรื่องนี้เช่นกัน                                จากการที่สะสมหนังสือเก่าต่างๆ เอกสารเก่าต่าง ๆ เป็นเวลานานทำให้ Wittock ตัดสินใจที่จะก่อตั้งสถานที่เก็บของสะสมเหล่านี้เป็นการเฉพาะ ซึ่งก็คือที่มาของห้องสมุด Wittockiana ที่เปิดดำเนินการเมื่อเดือน ก.. ..1983 นี้เอง                                ในขณะที่สนใจหนังสือเก่าโบราณ Wittock ก็เริ่มสนใจในงานศิลปะสมัยใหม่ด้วยเช่น Art nouveau Art deco Art Figuratif และ Art abstrait                                 Wittock ได้คิดไปไกลกว่านักสะสมหนังสือเก่าทั่วไปในยุคเดียวกัน โดยพิจารณาทำปกหนังสือ ให้สัมพันธ์กับข้อเขียน เพื่อความสวยงามและความงามของภาพเขียนประกอบด้วย ซึ่งทุกอย่างนี้เขาเชื่อว่าสามารถจะมีอยู่พร้อมกันได้ และถือว่าเป็นแนวความคิดใหม่                                การทำปกหนังสือไม่เพียงแต่ทำปกให้มีค่าอย่างเดียว แต่ Wittock ต้องการความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้ที่มีจินตนาการด้วย โดยเขาจะเป็นผู้เลือกหนังสือ จากนั้นศิลปินมีหน้าที่คิดทำปกหนังสือให้มีภาพพจน์ที่เหมาะสมต่อไป                                Wittock ได้กล่าวไว้ว่า.....                               ในเรื่องของงานศิลปะ การเก็บหนังสือหรือของในห้องสมุดเอกชนส่วนตัวนั้นต่างจากการเก็บของพิพิธภัณฑ์ในแง่ของการมอง ระหว่างความชื่นชม ในความงดงามกับกฎระเบียบทางวิทยาศาสตร์ (การเก็บของเก่า) ที่เคร่งครัด                               การสะสมหนังสือที่ข้าพเจ้าทำมากว่า 20 ปีไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแสดงประวัติศาสตร์ของการตกแต่งและทำปกหนังสือในอดีตกาลที่ผ่านมากหรือของโลกแต่อย่างใด และด้วยความที่สนใจในศิลปะของละตินมากกว่าของเยอรมัน ข้าพเจ้าจึงเริ่มการสนใจการพัฒนาการศิลปะในอิตาลีก่อน ของฝรั่งเศสต่อมา โดยสนใจเป็นพิเศษกับหนังสือที่มีปกประดับด้วยทองหรือปนด้วยเงินในยุคเรอเนสซองส์ ซึ่งเมื่อเริ่มสนใจจากปกหนังสืออิตาเลียนในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ประดับด้วยทอง ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า การทำปกหนังสือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเช่นเดียวกับศิลปะตกแต่งอื่น ๆ คือจิตรกรรม และปฏิมากรรมเช่นกัน และน่าจะเปรียบเทียบได้กับสถาปัตยกรรมด้วยซ้ำไป                               ด้วยความคิดเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงได้สนใจการทำปกหนังสือฝรั่งเศสในยุค Haute Renaissance ซึ่งมีการประดับปกหนังสือและตกแต่งอย่างงดงามทำให้สามารถจินตนาการได้ถึงสภาพความเป็นอยู่ ความคิดความอ่านของเหล่าผู้คนในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นปกครองพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี ขุนนาง ชาวนา ทหาร เจ้าหน้าที่ และแม้กระทั่งนักศึกษา ปัญญาชน

                               หลักจากได้ค้นพบรูปแบบที่แสดงถึงศิลปะการทำปกหนังสือของฝรั่งเศสใน   ช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ข้าพเจ้าเริ่มความสนใจไปในแนวใหม่คือการทำปกหนังสือร่วมสมัย….หากทุกๆ ท่านทราบดีว่า ห้องสมุดนี้แสดงถึงรสนิยมส่วนตัวของข้าพเจ้า ก็คงจะไม่แปลกใจที่อาจจะพบว่าห้องสมุดส่วนตัวนี้ ไม่ได้เป็นเฉพาะห้องสมุดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทำปกหนังสือเก่าในอดีตเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว...”

 ระหว่าง วันที่ 12 มีนาคม ถึง 17 เมษายน 1999 ที่ผ่านมา พิพิธภัณท์ Wittockania ได้จัดการแสดงนิทรรศการปกหนังสือ L’Infinito ของนักประพันธ์อิตาเลี่ยน ที่ชื่อว่า Giacome Leopardi เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 200 ปีของการเกิดของ Leopardi คณะกรรมการจัดงานมหกรรมระหว่างประเทศในการทำปกหนังสือครั้งที่ 1 ในอิตาลีได้จัดพิมพ์หนังสือกวีนิพนธ์ L’Infinito ซึ่งมีบทกวี 74 บท วัตถุประสงค์ของคณะกรรมการก็เพื่อที่จะให้มีการออกแบบปกหนังสือกวีนิพนธ์ดังกล่าวจากนักสร้างสรรค์ปกหนังสือจากทวีปต่างๆ ทั่วโลก  ปรากฎว่ามีนักสร้างสรรค์ปกหนังสือทั้งระดับฝีมืออาชีพและฝีมือสมัครเล่นกว่า 700 คน จาก 38 ประเทศส่งผลงานเข้าประกวด คณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานที่ถือว่าปราณีตและเยี่ยมยอดเพียง 125 รายมาจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งผลงานทั้งหมดนี้จะจัดเป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ไปแสดงตามเมืองสำคัญต่างๆ ทั่วโลก เช่นปารีส นิวยอร์ค ปักกิ่ง ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้านี้ด้วย                 ที่ต้องกล่าวถึงก็คือในวันเปิดนิทรรศการดังกล่าว มีบุคคลสำคัญของท่านหรือ สองพระองค์มาทำพิธีเปิด คือควีนส์ฟาบิโอลา ราชินีในกษัตริย์โบดวงแห่งเบลเยี่ยมและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามมกุฎราชกุมารีของไทย ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการเสด็จเยือนเบลเยี่ยมในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของควีนส์ฟาบิโอลาพอดี  ศิลปปกหนังสือ 125 เล่มนี้ มีความงดงาม หลากหลายในรูปแบบ แสดงถึงจินตนาการที่ไร้ขอบเขตของผู้สร้างสรรค์ ล้วนแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงจินตนาการที่ลึกซึ้งของผู้สร้างสรรค์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการและรสนิยมที่หลากหลาย แสดงถึงทั้งความปราณีตและความงดงาม รวมทั้งการใช้วัสดุและเทคนิคที่หลากหลาย ทำให้เห็นว่าการทำปกหนังสือเป็นเรื่องของศิลปะโดยแท้และมิได้ด้อยไปกว่างานศิลปะแขนงอื่นเลย………………………………. 

 

หมายเลขบันทึก: 90596เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มัทเคยทำเป็นงานอดิเรก ซื้อหนังสือ book binding มา แล้วก็ใช้มือเย็บไปได้ ห้า หกเล่มเล็กๆ  ใช้กระดาษเปล่าเป็นไส้ ทำเป็นโน๊ตบุ๊คค่ะ

ใช้แต่เชือกกับเข็มใหญ่ๆนี่แหละค่ะ ยังไม่มีเงินซื้อเครื่องมือ ออกมากเบี้ยวๆบูดๆ คงใช้ได้คนเดียว ๕๕๕๕๕๕

นี่เลิกทำไปปีสองปีแล้ว แต่ก็ยังใช้สมุดทำเองอยู่ 

มัทเลยชื่นชมช่างทำปกหนังสือที่ทำเองด้วยมือมากๆ

ขอบคุณท่านพลเดชมากๆนะคะ ที่นำเรื่องราวน่าสนใจมาฝาก 

เรียนอาจารย์มัทนาครับ

คนทำปกหนังสือระดับโลกบอกว่าการทำปกหนังสือเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเช่นกัน..........ซึ่งผมไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์มาแล้วก็เห็นจริงครับ ความจริงแล้ว คนไทยก็น่าจะทำปกหนังสือได้ดีนะครับ เพราะคนไทยเป็นคนช่างประดิษฐ์ มีฝีมือทางด้านหัตถกรรม....สิ่งที่สังคมไทยขาดคือการมีพิพิธภัณฑ์ที่กระตุ้นจินตนาการในเรื่องต่างๆ

ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็นครับ

ด้วยความปรารถนาดี

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าจะมีพิพิธภัณฑ์ปกหนังสือด้วย สักวันหนึ่งคงได้มีโอกาสไปชมของจริง รบกวนถามเล็กน้อยเกี่ยวกับปกหนังสือค่ะ ว่าจุดเด่นของปกหนังสือแต่ละสมัยเป็นอย่างไรคะ "ปกหนังสืออิตาเลียนในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ประดับด้วยทอง" ไม่ทราบว่าแล้วในช่วงศตวรรษที่ 17-18 มีวิวัฒนาการของปกหนังสืออย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

เท่าที่ผมเคยไปชมมานะครับ ปกหนังสือในสมัยเก่านิยมประดับด้วยทองทั้งนั้นเพราะถือว่ามีคุณค่าต่อหนังสือ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของศาสนา ปรัชญาหรือสถาบันชั้นสูง

และที่เคยไปดูหนังสือเก่าตามตลาดหนังสือเก่าในยุโรปก็จะพบแต่หนังสือประเภทนี้ ปกส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายทางศิลปะซะมากกว่า คงจะเป็นยุคหลังนะครับที่ปกหนังสือเริ่มเปลี่ยนไป กลายเป็นการนำเอาศิลปะร่วมสมัยมาออกแบบบนปกหนังสือ

ความเห็นส่วนตัวก็คือการพัฒนาของศิลปะ น่าจะมีผลโดยตรงกับศิลปะบนปกหนังสือ ศิลปะร่วมสมัยนั้นก็ราวศตวรรษที่ 18-19 แล้ว ศิลปะบนปกหนังสือก้น่าจะตามนั้นด้วย

ที่ผมเคยเห็นที่พิพิธภัณฑ์นั้น ปกหนังสือที่นำเอาศิลปะร่วมสมัยมาออกแบบก็เป็นหนังสือที่มีสาระที่หลากหลายครับ ขยายออกไปในวิถีชีวิตของคนในสังคมและในวงกว้างแทนที่จะอยู่เฉพาะเรื่องศาสนาและคนชั้นสูง

ปกหนังสือร่วมสมัยนั้น น่าดุมากครับ เหมือนนำเอาปิกัสโซมาไว้บนปกหนังสือ จึงมีสีสันน่าดูมาก

มีเว้บที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์นี้ครับ http://www.brusselslife.be/F/article.php?serial=458

ลองดูนะครับ

 

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ความเห็นของคุณพลเดชเป็นเหตุเป็นผลมากเลยค่ะ

ถ้าไม่รังเกียจอยากจะขอความรู้เพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยค่ะ ปกหนังสือในช่วงศตวรรษที่ 16 มีการประดับด้วยทอง เป็นหนังสือของชนชั้นสูง แสดงว่าคนทั่วไปไม่มีโอกาสอ่านหนังสือใช่หรือไม่คะ แล้วในช่วงประมาณปี 1788-89 ช่วงก่อนปฏิวัติในฝรั่งเศส มีนักเขียนที่เขียนหนังสือเสียดสีสังคม ไม่ทราบว่าปกหนังสือในสมัยนั้นยังมีการใช้ทองด้วยหรือเปล่าคะ

ขอบคุณสำหรับ website เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ค่ะ (แต่ว่าไม่ใช่ภาษาอังกฤษเลยอ่านไม่ออกค่ะ เสียใจจัง) เห็นในภาพปกหนังสือส่วนมากเป็นสีดำและแดง 2 สีนี้มีความหมายพิเศษอย่างไรคะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับ

ผมขอตอบเฉพาะจากประสบการณ์ของผมนะครับ

เนื่องจากเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศส จึงพอจะทราบเรื่องหนังสือพอสมควร

คนทั่วไปก็มีโอกาสอ่านหนังสือครับและเป็นที่นิยมมากด้วย คนฝรั่งเศสนั้นเป็นคนที่ชอบหาความรู้ครับ บอกกันว่าฝรั่งเศสมีประชากร 60 ล้านคน ก็มี 60 ล้านความคิดนะครับ

หนังสือพิมพ์กันมานานแล้ว ที่ผมเคยเห็นคือใช้กระดาษธรรมดา หยาบๆ ปกก็จะธรรมดา มีแต่ชื่อเรื่องและผู้แต่งไม่มีลวดลายอะไรเลย

ในสมัยก่อน การมีภาพประกอบยังไม่สามารถใช้ภาพพิมพ์เข้าไป ต้องใช้การแปะภาพประกอบในหน้าหนังสือแต่ละเล่ม บังเอิญผมเป็นคนที่ชอบสะสมหนังสือเก่าด้วย จึงมีหนังสือในยุค ศต. ที่ 17 อยู่บ้าง

หนังสือที่มีปกสวยงามก็คือหนังสือเกี่ยวกับศาสนา ไบเบิ้ล แผนที่ จดหมายเหตุ หนังสือรวมรายปี หนังสือเรียน ฯลฯ

ส่วนคนชั้นสูงก็จะนิยมนำไปทำปกและตกแต่งให้สวยงามครับ ถ้าสังเกตุ คนรวยในยุโรปจะมีปราสาท ซึ่งมักจะมีห้องสมุดที่มีแต่หนังสือที่ทำปกแล้วทั้งนั้น

จึงคาดว่า การทำปกหนังสือนั้น นอกจากสถานที่ราชการเช่นโบสถ์ ศาลากลาง ห้องสมุดกลางแล้ว คนชั้นสูงก็นิยมนำหนังสือที่ตนชอบไปทำปกเพื่อเอาไปใว้ในห้องสมุดส่วนตัวครับ แน่นอนว่าการใช้ทองทำลวดลายบนปกนั้นแสดงถึงความมีฐานะด้วยครับเพราะมีราคาแพง

ในยุโรปการทำปกหนังสือจึงเป็นอาชีพเก่าแก่เหมือนกันครับ

ได้มีโอกาสไปเดินตลาดหนังสือเก่า จะเห็นหนังสือพวกนี้ปะปนกันมากมาย

อีกประเด็นหนึ่งก็คือหนังสือสมัยเก่ามักจะพิมพ์จำนวนจำกัด ส่วนใหญ่จะมีตัวเลขบอกระบุหมายเลขหนังสือในปกหลังหรือปกในด้วยซ้ำไป (ผมเคยมีหนังสือลำดีบพิมพ์ที่ 012 จากจำนวน 2000 เล่ม)

ในตลาดหนังสือเก่า จะมีหนังสือจำนวนมากที่หลุดมาจากห้องสมุดสาธารณะ ทำให้พอจะเห็นภาพว่าหนังสือสมัย1789 เป็นอย่างไร

ยุโรปมีวัฒนธรรมสะสมหนังสือเก่าที่น่าชื่นชมครับ ทำให้คนเก็บรักษาหนังสือไว้หลายชั่วอายุคนและเป็นการสืบต่อประวัติศาสตร์ได้อย่างดี

หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลได้บ้างนะครับ

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ ได้รับความรู้มากเลยค่ะ กลับมาอีกครั้งพร้อมคำถามอีกแล้วค่ะ ปกหนังสือสมัยเก่าจะบอกแต่ชื่อเรื่องและผู้แต่งหรือคะ แล้วสำหรับปีที่เขียน หรือว่าพิมพ์ไม่มีการบอกหรือคะ แล้วในสมัยนั้น (ประมาณ คศ 1700s) มีเรื่องของลิขสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องกันหรือยังคะ

ขอบคุณค่ะ

นันท์ชนก 

 

คุณนันท์ชนกครับ

มีบอกหมดครับ แล้วแต่ว่าจะอยุ่ตรงไหน

เท่าที่เคยเห็น ส่วนใหญ่ปีจะอยุ่ที่สันปกครับและชื่อผู้พิมพ์และโรงพิมพ์มักจะอยู่ที่ปกด้านในหรือหน้าสุดท้ายพร้อมกับปีที่พิมพ์ด้วย

ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ ถ้าจำไม่ผิด ไม่ค่อยเห็นครับ หรืออาจเป็นเพราะหนังสือที่ผมสะสมจะเป็นหนังสือวิชาการ หนังสือพิมพ์รายปีหรือนิตยสาร จึงไม่มีการระบุเรื่องลิขสิทธิ์เอาไว้ ก็เป็นได้ครับ

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท