รายงานการพัฒนาการศึกษา


คุณภาพการศึกษา

โรงเรียนสามัคคีธรรมขอนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2549  ดังนี้

                                        ข้อมูลทั่วไป
    1. สภาพทั่วไป
โรงเรียนสามัคคีธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลพันชาลี อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65130 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    1. ประวัติของสถานศึกษา
โรงเรียนสามัคคีธรรมเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2514 โดยนายมนัส ไตยสุนันท์ นายอำเภอวังทอง เป็นผู้จัดตั้งขึ้นโดยทุนทรัพย์และแรงงานของประชาชน ซึ่งเสียสละร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวโดยมีนายฉลอง ไทยแป้น นายทองอินทร์ กลิ่นจันทร์ นายจอง ชาวเขา นายแม้น วงศ์เชียงเหม็ง และพระภิกษุบุญมา จิตตคุตโต(คงประกอบ) เป็นผู้ริเริ่มในการขอเรี่ยรายประชาชนซื้ออุปกรณ์ในการก่อสร้าง โดยอาคารเรียนชั่วคราวฝาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงสังกะสี โต๊ะและมานั่งใช้ไม้กระดานตียาว ทางราชการได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสามัคคีธรรม” พร้อมทั้งได้ส่งนายจินดา คำมา มาเป็นครูใหญ่คนแรก เปิดสอนครั้งแรก 2 ชั้น คือ ป.1 และ ป.2 มีนักเรียน 80 คน พื้นที่โดยประมาณ 12 ไร่ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลพันชาลี อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
โรงเรียนสามัคคีธรรม มีเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 5 และ 11 ตำบลพันชาลี มีพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา อาคารเรียน 2 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง อาคารประกอบ 2 หลัง ส้วม 2 หลัง จำนวนครู 8 คน ครูอัตราจ้างชั่วคราว 1 คน นักการ(อัตราจ้างชั่วคราว) 1 คน นักเรียนทั้งสิ้น 137 คน
บทที่ 2
สภาพการดำเนินการของสถานศึกษา
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
โรงเรียนสามัคคีธรรม มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี มี เจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รักษาสิ่งแวดล้อม มีความรู้ ความสามารถ คิดวิเคราะห์ตามศักยภาพ เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้เรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
พันธกิจ
    1. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี
    2. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
    3. จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้
    4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
    5. ส่งเสริมให้จัดกระบวนการเรียนรู้และใช้สื่อที่หลากหลาย
    6. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    7. พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ
    8. ส่งเสริมด้านกีฬาเพื่อสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง
เป้าหมาย
    1. ผู้เรียนมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี
    2. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
    3. ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน ก้าวทันเทคโนโลยี
    4. มีการใช้สื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
    5. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
    6. บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    7. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
    8. ผู้เรียนมีสุขภาพอนามัยทั้งกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
    1. มีระเบียบวินัย
    2. มีความรับผิดชอบ
    3. มีความประหยัด
    4. ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย
แนวคิดหลักของการพัฒนาสถานศึกษา
แนวคิดหลักที่สถานศึกษาใช้ในการการบริการจัดการ คือ
    1. บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการทำงาน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ
    2. มีการกำกับ ติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานเป็นระยะ
    3. รายงานผลการปฏิบัติงาน และปัญหาให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
4. ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานให้ชุมชน ต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นทราบเสมอลักษณะของการดำเนินการ
1. ด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ผู้เรียน) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมาย และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ นักเรียนมีนิสัยรักการเรียน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. ด้านการเรียนการสอน(ครูผู้สอน) ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาตนเองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด ครูผู้สอนมีคุณวุฒิความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ ตลอดตนจัดหาครูให้เพียงพอต่อการเรียนการสอน
3. ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา(ผู้บริหาร)
3.1 ด้านกระบวนการ มีการจัดโครงสร้างและการบริหารงานอย่างมีระบบ ครบวงจร ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3.2 ด้านผู้บริหาร มีสภาวะเป็นผู้นำ มีคุณธรรม จริยธรรม บริหารจัดการ โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย เสริมสร้างขวัญและกำลังให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความรู้ความสามารถในการบริหารและการจัดการศึกษา
4. ด้านพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้(ชุมชน)
4.1 ชุมชนให้ความร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสถานศึกษา สภาพแวดล้อม อาคาร สิ่งก่อสร้างต่าง ร่วมกิจกรรม/โครงการ/งาน และพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4.2 ชุมชนให้ความร่วมมือในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีต่ออาชีพในท้องถิ่นของตนเอง และปลูกฝังให้ผู้เรียนสำนึกและรักถิ่นของตนเองวิธีดำเนินการ
1. การวางแผนงานของสถานศึกษา ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ประชาชน และนักเรียน ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินงาน ระบบการติดตามประเมินผล
2. การจัดจัดทำแผนปฏิบัติงาน กำหนดกิจกรรม ปฏิทินการปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ กิจกรรมการดำเนินงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน และตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยผู้บริหาร
3. การตรวจสอบติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการประเมินการปฏิบัติงานด้วยตนเอง ผู้รับผิดชอบรายงานแบบไม่เป็นทางการ รายงานด้วยวาจา ถ้าปัญหาหรือกิจกรรมนั้นไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อราชการ รายงานต่อที่ประชุมหรือผู้บริหารสถานศึกษา และแจ้งให้ชุมชนทราบเมื่อมีการประชุมผู้ปกครองนักเรียน และรายงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ
4. การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน นำเอาผลการประเมินการปฏิบัติงาน จัดทำรายงานการประเมินตนเอง แผนใดที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ร่วมกันดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบทที่ 3
การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา
การพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาและระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนสามัคคีธรรม มีผลการพัฒนาสรุปได้ดังนี้
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่นในการจัดการศึกษา ดังนี้
1. ด้านผู้เรียน นักเรียนมีความรู้ความสามารถ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนรวมเฉลี่ยทุกรายชั้นรายวิชา ร้อยละ 71.62 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนทั้งระดับชาติและระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นที่น่าพอใจ นักเรียนมีความสามารถด้านกีฬา สร้างชื่อเสียงให้สถานศึกษา ได้รับรางวัลทั้งระดับกลุ่มเครือข่ายตำบล นักเรียนมีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมอันพึงประสงค์
2. ด้านบุคลากรในสถานศึกษา ผู้บริหาร และครูผู้สอนมีความเข้าใจในการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น มีความรู้ความเข้าใจในการบริการการศึกษาแก่ชุมชน มีการจัดบริหารการศึกษาอย่างมีระบบและครบวงจร
3. ด้านชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาดีเยี่ยม ให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็นต่างๆ บริจาคทุนทรัพย์เพื้อจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา เช่น จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 2ไร่เศษ จำนวนเงิน 70,000 บาท เป็นต้น การบริจาคงบประมาณในการสนับสนุนและจัดการแข่งขันกีฬาทั้งในและนอกสถานศึกษา การร่วมกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ บริจาคสิ่งของและเลี้ยงอาหารนักเรียน กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กิจกรรมทอดผ้าป่าเพื่อพัฒนาการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา สรุปได้ดังนี้1. ด้านผู้เรียน ควรพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ผลรวมเฉลี่ย ร้อยละ 68.44 สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ผลรวมเฉลี่ย ร้อยละ 67.10 และสารการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ผลรวมเฉลี่ย ร้อยละ 69.53 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไปสูงขึ้น
2. ด้านบุคลากรในสถานศึกษา ผู้บริหารและครูผู้สอนควรใฝ่หาความรู้ในกระบวนการพัฒนาการจัดการศึกษาตลอดเวลา ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ก้าวหน้าทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่นักเรียน 3. ด้านชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการจัดการศึกษา อบรม สัมมนาให้ความรู้แก่กรรมการสถานศึกษาฯ รณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา แผนกลยุทธ์ ให้มากกว่านี้ และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนต่อไป
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
จากผลการดำเนินงานทั้งหมด ระบุข้อค้นพบที่จะต้องพัฒนาต่อไปดังนี้
    1. ด้านกระบวนการจัดการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และกระบวนการเรียนรู้
      1. พัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
      2. พัฒนาห้องสมุดให้เป็นเอกเทศในสถานศึกษา
      3. พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูให้ก้าวหน้า
      4. พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลโครงการ/กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ
    2. ด้านนักเรียน
      1. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
      2. ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ตามศักยภาพ
      3. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพของครอบครัวและชุมชน
    3. ด้านชุมชน
      1. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
      2. พัฒนาให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการศึกษา
      3. รณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
ความต้องการความช่วยเหลือ
โรงเรียนสามัคคีธรรมมีความต้องการ ดังนี้
1. ด้านบุคลากร โรงเรียนสามัคคีธรรมปัจจุบันมีครู 8 อัตรา ต่ำกว่าเกณฑ์ 2 อัตรา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการจัดอัตรากำลังให้ครบ สาขาวิชาเอกที่มีความต้องการมาก คือ เอกภาษาอังกฤษ เอกวิทยาศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์
2. ด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนมีอาคารเรียน 2 หลัง 7 ห้อง จัดการเรียนการสอน 8 ชั้นเรียน 2 ห้องพิเศษ ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีห้องเรียน 3 ชั้น คือ ชั้นอนุบาล 1 อนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องสมุดไม่มีห้องหรืออาคารเอกเทศ ไม่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงต้องการให้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้เพื่อจะได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนครบชั้นเรียนได้
3. ด้านการพัฒนาบุคลากร ต้องการให้สพฐ.หรือสพท.พล.2 จัดการประชุม อบรม สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่บุคลากรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งกระบวนการเรียนจัดการเรียนรู้ การบริการจัดการศึกษา การบริหารการศึกษา การวัด และประเมินผลการศึกษา
    ท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสามัคคีธรรม  เพื่อเป็นวิทยาทาน  ทางโรงเรียนยินดีรับข้อเสนอแนะ และจะนำไปสร้างสรรค์งานต่อไป  ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
หมายเลขบันทึก: 89799เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท