การจัดการความรู้กับโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข (ตอน 3)


                 เมื่อจบจากการเล่าเรื่องและนำเสนอในกลุ่มใหญ่ ก็เป็นการช่วยกันคิด แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นสุขของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ อาจารย์ 1 กลุ่ม นิสิต 1 กลุ่มเพื่อให้นิสิตกล้าแสดงความคิดเห็น โดยให้แต่ละกลุ่มไประดมความคิดเห็นเพื่อมานำเสนอในที่ประชุมในวันรุ่งขึ้น

                กระบวนการในขั้นตอนนี้เริ่มจากให้ทุกคนเขียนสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เกิดการเรียนการสอน การเรียนรู้ที่เป็นสุข ลงในกระดาษที่เป็นแบบบัตรคำ และสามารถเขียนได้อย่างอิสระ ทั้งที่ดำเนินการได้และดำเนินการไม่ได้ ทั้งที่เป็นงานประจำที่ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม แก้ไข ส่งเสริม สนับสนุน หรือ โครงการใหม่ รวมทั้งสิ่งที่ตนตั้งใจจะทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โดยเขียนได้ไม่จำกัดจำนวนข้อ แล้วนำบัตรคำเหล่านั้นมาแปะที่บอร์ด แยกตามกลุ่ม แล้วมาอภิปราย ความคิดข้อเสนอของตนเองรวมในกลุ่มใหญ่ของอาจารย์ หรือ นิสิตอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปเพื่อใช้ในการนำเสนอในวันรุ่งขึ้น

               ทพ.พิชิตเล่าว่า เป็นกิจกรรมที่ทั้ง อาจารย์และนิสิต ตั้งใจทำมาก โดยทำกันแบบไม่ยอมหลับ ไม่ยอมนอน Power Point ของนิสิตนั้น อาจารย์พิชิตบอกว่า เสร็จประมาณ ตีสาม แสดงให้เห็นว่ามีความทุ่มเทและตั้งใจเต็มที่
 
                ในความคิดของผมเห็นว่า กระบวนการนี้เป็นจุดวิกฤติเหมือนกัน เนื่องจากหากไม่มีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อทำให้เปิดใจ ไม่มีการเล่าเรื่องดีๆที่ออกมาจากใจแต่ละคน การระดมสมองก็จะกลับไปเหมือนเดิม คือ จะพูดแต่ปัญหาและเอาประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง แต่กระบวนการนี้ก็เอาตนเป็นที่ตั้งเหมือนกัน คือ ตนจะเปลี่ยนอะไรเพื่อทำให้ทั้งตนเองและส่วนร่วมดีขึ้น ผมว่าเป็นผลมาจากการเปิดใจ และได้เรียนรู้ร่วมกันจากเรื่องดีๆ ทำให้ได้ข้อสรุปที่ทรงพลังมากเลยทีเดียว....

หมายเลขบันทึก: 89761เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท