แผนสร้างโรงไฟฟ้ารวมไปถึงนิวเคลียร์


การสร้างฐานพลังงานในอนาคต

Solar photovoltaic panels

กพช. ไฟเขียวแผนกำลังผลิตไฟฟ้า มีทั้ง LNG ถ่านหิน และนิวเคลียร์

กพช.  เห็นชอบแผน PDP 2007 เน้นการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งเห็นชอบแผนจัดหาก๊าซของ ปตท.  เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตามแผน PDP ใหม่ นอกจากนี้ กพช.  อนุมัติให้มีการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วยวิธีให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)

 

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี
เป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2550  มีมติเห็นชอบในหลักการแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2007)  ในช่วงปี 2550-2564 แบ่งเป็นช่วงแรกหรือตั้งแต่ปี 2550-2553  จะมีโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างไว้แล้ว ส่วนในช่วงระหว่างปี 2554-2564 ที่จะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ จากแผนทางเลือกทั้งหมด 9 แผน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกำหนดให้แผน B2 ในกรณีฐาน เป็นแผนหลักของการจัดทำ PDP 2007 พิจารณาจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีความเป็นไปได้ จำนวน 2,800 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจำนวน 18,200 เมกะวัตต์ และการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 4,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2563-2564 นอกจากนี้ กำหนดให้แผน B3 ตามกรณีฐาน เป็นแผนทางเลือกของการจัดทำแผน PDP ที่จะมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จำนวน 10 ล้านตันต่อปี และรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น                การประชุม กพช. ยังได้เห็นชอบในหลักการแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ในช่วงปี 2550-2553 เป็นแผนจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากอ่าวไทยขนผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 ของการจัดหาทั้งหมด และอีกร้อยละ 20 เป็นการนำเข้าจากสหภาพพม่า ส่วนในช่วงที่สอง ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ปตท. มีแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ ในภูมิภาค ได้แก่ สหภาพพม่า อินโดนีเซีย และในอ่าวไทยจากแหล่งไพลินเพิ่มเติม ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ ปตท. ไปจัดทำรายละเอียดและนำกลับมาเสนอต่อ กพช. ครั้งต่อไป                นอกจากนี้ การประชุม กพช. เห็นชอบการกำหนดส่วนเพิ่ม (Adder) ราคารับซื้อไฟฟ้าให้ในอัตราคงที่เป็นระยะเวลา 7 ปี สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ เชื้อเพลิงขยะ และพลังงานลม จะได้ส่วนเพิ่ม 2.50 บาทต่อหน่วย และแสงอาทิตย์ได้รับส่วนเพิ่ม 8 บาทต่อหน่วย ส่วน SPP พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น แกลบ เศษไม้ ก๊าซชีวมวล จะใช้วิธีประมูลแข่งขัน โดยให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นผู้ประกาศและดำเนินการคัดเลือก จากผู้ที่ขอส่วนเพิ่มอัตราต่ำสุดไม่เกิน 0.30 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 7 ปีเช่นกัน                ทั้งนี้ ภาครัฐตั้งเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP  ที่ใช้พลังงานหมุนเวียน จำนวน 530  เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้าจากขยะ จำนวน 100 เมกะวัตต์ พลังงานลม จำนวน 115 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 15 เมกะวัตต์ และพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่นๆ เช่น แกลบ เศษไม้ ขยะ พลังน้ำ กำหนดปริมาณพลังไฟฟ้าที่จะรับซื้อ

 

--------------------------------------------------------------------------------
Blog ที่น่าสนใจอื่นๆๆ ติดตามได้จาก
http://gotoknow.org/blog/anat

หมายเลขบันทึก: 89729เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ตั้ง 6 กก. เร่งทำแผนรับมือสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

บอร์ดศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้ง 6 คณะทำงานย่อย
ร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์เสนอกระทรวงพลังงานภายในไตรมาส 3 นายกอปร กฤตยากีรณ
ประธานกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์
กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนัดแรกว่า
ที่ประชุมเห็นชอบแผนและแนวทางการทำงานเพื่อจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์ที่บรรจุไว้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือพีดีพี 2007
ซึ่งกำหนดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2563 จำนวน 2,000 เมกะวัตต์ และปี 2564 จำนวน
2,000 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ แนวทางการทำงานเรื่องโรงไฟฟ้านิเคลียร์มี 2 ส่วน คือ 1.
การเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งจะพิจารณาถึงความเหมาะสมของโครงการ
การวางแผนตลอดจนการก่อสร้าง โดยในส่วนนี้ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับส่วนที่ 2 การวางแผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐานของการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 6 ชุด เพื่อยกร่างแผนดังกล่าว
ซึ่งคณะอนุกรรมการทั้งหมดจะร่วมกันยกร่างแผนดำเนินงาน เพื่อเสนอร่างฉบับแรกภายในไตรมาส 3 ของปี 2550
และจะเสนอแผนงานฉบับสมบูรณ์ภายในรัฐบาล
ชุดนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ต่อไป

นายอภิชาต ดิลกโศภณ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.
ได้เตรียมความพร้อมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งในด้านบุคลากรและพื้นที่ในเบื้องต้นไว้แล้ว
ซึ่งพื้นที่นั้นจะพิจารณาจากพื้นที่ กฟผ. ก่อน

รมว.พลังงาน เผย 4 มาตรการช่วยแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนสำหรับภาคส่วนพลังงาน ตอกย้ำการใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า ช่วยได้ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มปริมาณก๊าซที่ใกล้หมดจนทำให้ราคาแพง ด้าน กฟผ. ระบุ ค่าไฟนิวเคลียร์สุดถูก เพียง 2.01 บาทต่อหน่วย พร้อมเตรียมการรองรับด้านบุคลากรและลงพื้นที่สำรวจแหล่งที่ตั้งแล้ว มั่นใจประชาชนจะมีความเข้าใจและให้การยอมรับในที่สุด        

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทำไมต้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ในงานสิ่งแวดล้อม กฟผ. ปี 2550
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ว่า ขณะนี้ ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 240 ล้านตันต่อปี มาจากภาคการผลิตไฟฟ้าถึง 88 ล้านตันต่อปี ถือว่าเป็นหนึ่งในภาคที่มีบทบาทสำคัญต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน โดย รมว.พลังงาน เสนอมาตรการที่ต้องดำเนินการในระยะยาว เพื่อลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน 4 มาตรการ อันประกอบไปด้วย มาตรการที่ 1 การประหยัดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีที่ทุกคนเห็นด้วย เพียงแต่ต้องยอมรับว่าประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ถึงจะมีการประหยัด แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้าก็ยังคงเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของ GDP ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 1.14 : 1 ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ๆ

มาตรการที่ 2 การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลให้การสนับสนุนและเพิ่มแรงจูงใจแก่เอกชนในการใช้พลังงานหมุนเวียนค่อนข้างมากกระนั้นก็ยังเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก เห็นได้จากเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 500-1,000 เมกะวัตต์ ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ต่อปี เราจึงไม่อาจพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียว

สำหรับมาตรการที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนอาจจะยังมีความเห็นไม่ตรงกัน โดยเฉพาะจากกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่คิดว่าจำเป็นต้องทำก็คือ การฟื้นฟูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC ที่ประเทศออสเตรเลียเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข้อตกลงชัดเจนว่า การแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน ประเทศสมาชิก APEC ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับพลังงานนิวเคลียร์ เพราะเป็นทางเลือกที่สำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศไทยเองก็ได้บรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในแผนพีดีพี 2007 จำนวน 4,000 เมกะวัตต์ และจะเริ่มเข้าสู่ระบบในอีก 13 ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าสู่ระบบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จะลดลงทันที

ส่วนมาตรการสุดท้ายคือ การนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาเก็บกักในหลุมใต้ดิน ทะเลลึก หรือหาวิธีกำจัดทันทีขณะปล่อย ซึ่งเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งเทคโนโลยีที่จะมารองรับก็ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นในช่วงที่เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ 3 มาตรการแรกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดทำแผนปฏิบัติการ คาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี หลังจากนั้นจะเป็นช่วงเตรียมการ 7 ปี ทั้งแก้ไขกฎหมาย ออกกฎระเบียบเรื่องความปลอดภัย การขอใบอนุญาต การเตรียมบุคลากร การหาสถานที่ตั้งที่เหมาะสม การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เป็นต้น หากทุกอย่างเรียบร้อยรัฐบาลก็สามารถนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาได้ว่าจะสร้างหรือไม่ ซึ่งเมื่อตัดสินใจสร้างแล้วคงต้องใช้เวลาอีก 6 ปี แต่ถ้ารัฐบาลชุดใหม่ตัดสินใจที่จะไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็จะต้องนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า เพราะนอกจากปัญหาสภาวะโลกร้อนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนอีกด้วย

มาตรการที่ 5 ก็คือ รีบสร้างได้แล้วอยากเห็นเต็มทีก่อนที่จะตาย อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท