เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (5)


เรื่องโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทอีก 7 มหาวิทยาลัยโดยการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการใช้แหล่งเรียนและฝึกระดับชั้นคลินิก 3 ปีหลังในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข

   เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (5)     

           เช้าวันเสาร์วันที่ 19พฤศจิกายนเป็นวันพักผ่อนให้เที่ยวชมเมืองซิดนีย์ นัดกันประมาณ3 โมงเช้ารับปรานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จก็มานั่งรอกันที่ล็อบบี้ปรากฏว่าไมได้ไปเที่ยวเพราะทีมได้มาพูดคุยกันแบบโต๊ะกลมแบบไม่เป็นทางการเกี่ยวกับทิศทางการผลิตแพทย์ชนบทการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรและแหล่งฝึกทางคลินิกมีการพูดคุยถึงแนวทางการสร้างเครือข่ายการผลิตแพทย์คุยกันจนเกือบเที่ยงวันจึงได้เดินไปรับประทานอาหารที่บริเวณไชน่าทาวน์พอทานเสร็จก็ไปดูร้านขายของคนไทยและทีมงานก็แยกย้ายกันเดินเที่ยวชมเมืองซิดนีย์เดินไปตามเข้าชมตลาดแพดดี้ (แบบสวนจตุจักรบ้านเรามีของขายหลายอย่างแต่พอดูแล้วจะพบว่าMade inChina เกือบทั้งนั้น ถ้าไปเดินแถวริมเมยที่แม่สอดก็จะมีบางอย่างคล้ายๆกันเท่าที่สัมผัสคุณภาพและความปราณีตน่าจะดีกว่าเรียกง่ายๆว่าเกรดดีกว่าที่ขายชายแดนบ้านเรา แต่ที่ต่างก็คือจะมีสินค้าที่เป็นสัญลักษณ์ของออสเตรเลียอยู่มีเวลาเดินดูแค่ 30 นาที จึงไม่ได้ซื้ออะไรแค่เดินดูก็ไม่ทันแล้วพี่เสรีบอกว่าจะผลิตที่ไหนไม่เป็นไรเพราะเราซื้อสัญลักษณ์ของออสเตรเลีย ผมว่าออสเตรเลียนี่ฉลาดส่งวัตถุดิบและรูปแบบต่างๆไปผลิตที่เมืองจีนเพื่อแรงงานราคาถูกแล้วค่อยนำสินค้ากลับเข้ามาที่สำคัญปัญหามลภาวะก็ไปตกอยู่ที่ประเทศจีนทั้งที่ออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างมากแต่เขาก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาก)  

         หลังจากนั้นก็เดินไปที่สวนสาธารณะผ่านไชนีสการ์เด้นก็มีนักท่องเที่ยวและชาวออสเตรเลียเดินไปพักผ่อนกันมาก มีศูนย์แสดงนิทรรศการ โรงหนัง  ริมทะเลอ่าวดาร์ลิ่งฮาเบอร์มีอันเดอร์วอเตอร์เวิลด์หรือเข้าไปดูปลาแบบที่บึงฉวากหรือที่พัทยาแต่ดูใหญ่กว่าเราไม่ได้เข้าไปดูเพราะมีเวลาน้อยและค่าเข้าชมก็แพงด้วยเดินเลาะริมทะเลไปจนถึงท่าเรือแต่ไม่ได้ลงเรือเพราะต้องเสียเวลาคอยเรือเทียบท่าเกือบอีก1 ชั่วโมง เราจึงตัดสินใจนั่งรถแท็กซี่ไปที่โอเปราเฮาส์ได้ถ่ายรูปไปเรื่อยๆ  มีทิวทัศน์ที่สวยงามอาคารรูปทรงแปลกเป็นเอกลักษณ์ มีการถ่ายทำคอนเสิร์ตเล็กๆด้วย ประมาณ5 โมงครึ่งก็เดินกลับมาที่โรงแรม

         

เรานัดจะไปกินข้าวกันหกโมงเย็นที่ร้านอาหารไทยร้านเดิม

แต่เดินไปที่ห้องอาจารย์หมอบุญชอบซึ่งกำลังคุยอยู่กับอาจารย์ประวิทย์

อาจารย์ศุภสิทธิ์และอาจารย์ไพจิตร

ก็ได้ร่วมวงสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกันเกี่ยวกับการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของคณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทราบความเป็นมาของโครงการ

ประวัติของคณะแพทยศาสตร์

ทิศทางความเป็นไปของการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ภายใต้การนำของคณบดีคนใหม่คืออาจารย์หมอศุภสิทธิ์

ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทางวิชาการ

มีผลงานวิจัยมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อระบบบริการสาธารณสุข 

อาจารย์ไพจิตรกล่าวว่าอาจารย์ศุภสิทธิ์เป็นผู้มีทุนทางสังคมสูง

จะสามารถแสวงหาความร่วมมือและนำคณะแพทย์พัฒนาไปได้  อาจารย์ไพจิตรได้เล่าให้ฟังเรื่องโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทอีก

7

มหาวิทยาลัยโดยการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการใช้แหล่งเรียนและฝึกระดับชั้นคลินิก

3 ปีหลังในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข

ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะทำในแนวทางของคณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ใช้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปเป็นแหล่งฝึกปี

4-6 และฝึกเวชศาสตร์ชุมชนในโรงพยาบาลชุมชน

แนวทางนี้ทางออสเตรเลียได้สนใจและเริ่มนำมาใช้

ส่วนการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดยใช้โรงพยาบาลขนาดเล็กในชนบทเป็นแหล่งฝึกนั้นทางออสเตรเลียเขาทำมานานแล้วโดยได้มีการประสานแนวทางการผลิตที่เรียกว่าVertical

Integration ซึ่งคนคิดระบบนี้เป็นศาสตราจารย์Roger Strasser ชาวออสเตรเลียเสนอในเวทีประชุมWONCA (การประชุมนี้เป็นการประชุมระดับนานาชาติในปี

2006

นี้จะจัดที่ประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน)

พอเริ่มทำที่ออสเตรเลียแล้ว

ศาสตราจารย์โรเจอร์ก็ถูกดึงตัวไปช่วยพัฒนาระบบนี้ในแคนาดา

ผมเองก็ยังมีรู้รายละเอียดมากนักแต่จะได้เรียนในช่วงที่มาศึกษาดูงานครั้งนี้

จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป

         นั่งคุยกันเพลินเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วจนประมาณสามทุ่มจึงเดินออกไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารไทยหรือThai Princessทานเสร็จประมาณสี่ทุ่ม(ร้านปิดสี่ทุ่มครึ่ง)แล้วก็กลับมาพักผ่อนที่โรงแรมกว่าจะได้นอนก็ประมาณเที่ยงคืนพอดี

 

Phichet

The Sydney Boulevard Hotel

Sydney, Australia

19 November 2005

หมายเลขบันทึก: 8960เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2005 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท