วิธีการดึงความรู้มาใช้ประโยชน์


การนำความรู้มาใช้ประโยชน์นั้น เราจะต้องหาวิธีการในการดึงความรู้มาใช้
วิธีการดึงความรู้

                ในการดึงความรู้มาใช้นั้นมีหลายวิธีที่เราสามารถทำได้ เช่น การสัมภาษณ์ การระดมความคิด การอธิปราย เป็นต้น แต่ในวันนี้ดิฉันจะพูดถึงการดึงความรู้โดยใช้ แผนภาพสาเหตุและผล 

                แผนภาพสาเหตุและผล คือ แผนการที่แสดงสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง (ผล) กับองค์ประกอบหรือสาเหตุต่างๆ (เหตุ) ที่มีผลทำให้เกิดคุณลักษณะนั้นๆ ไว้อย่างเป็นระบบ โดยรวบรวมในแผนภาพที่มีลักษณะคล้ายก้างปลาจึงเรียกชื่อว่า “ผังก้างปลา” และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ผู้ที่คิดค้นขึ้นมาคือ ดร.อิชิกาวา บางทีจึงเรียกแผนภาพอิชิกาวา (Ishikawa Diagram)

แผนภาพแสดงสาเหตุต่างๆ ที่น่าจะทำให้เกิดข้อบกพร่องทางด้านขนาดของผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่ง


ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เกิดความบกพร่องทางด้านขนาด ได้ร่วมกันอภิปราย และระดมความคิดเห็นถึงสาเหตุต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาดังกล่าว แล้วเขียนเป็นแผนภาพสาเหตุและผล ดังแผนภาพข้างบน จากนั้นก็ช่วยกันพิจารณาความสำคัญของสาเหตุต่างๆ จนทราบว่าสาเหตุใหญ่เกิดจากปัญหาเรื่องการประกอบวัสดุไม่มีมาตรฐาน จึงได้กำหนดมาตรฐานวิธีประกอบวัสดุขึ้นทำให้ข้อบกพร่องด้านขนาดของผลิตภัณฑ์ลดลงจากเดิม แผนภาพดังกล่าวมีประโยชน์และใช้งานได้ดีต้องมีการเข้าร่วมของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถกเถียงกันถึงจุดมุ่งหมายให้แจ่มชัดก่อนแล้วจึงแสดงความคิดเห็นออกมา ในการแสดงความคิดเห็นห้ามมิให้มีการคัดค้านว่าไม่ถูกต้องหรือใช้ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าความคิดเห็นของสมาชิกจะเป็นอย่างไรให้ใส่ลงไปในแผนภาพสาเหตุและผลให้หมด บางครั้งความคิดที่ว่าไม่เข้าท่าอาจใช้เป็นสาเหตุสำคัญได้ ดังนั้นดิฉันคิดว่าวิธีการดังกล่าวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการดึงความรู้ของเราและของคนอื่นออกมาใช้ประโยชน์ได้

หมายเลขบันทึก: 891เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2005 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท