การตีพิมพ์ผลงาน


ผลงานวิจัย/วิชาการ

ประสบการณ์คนทำวารสาร  ที่พบปัญหาของบรรดาผู้สร้างผลงานวิจัย/งานวิชาการ ที่ต้องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ

บ่อยครั้งที่พบว่า  นักวิจัย นักวิชาการทั้งหลาย  เมื่อได้ทำงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้แล้ว  มีปัญหาในการที่จะนำผลงานวิจัย/องค์ความรู้นั้นไปเผยแพร่  โดยเฉพาะการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร  ซึ่งมักจะมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับวารสารนั้น ๆ เช่น กำหนดจำนวนหน้า  กำหนดรูปแบบ องค์ประกอบ การอ้างอิง  ซึ่งหลายคนเกิดการตกม้าตาย ตอนนี้เอง   เพราะบางที่การจะย่อยเรื่องราวลงให้ได้ตามจำนวนหน้าที่จำกัด เป็นเรื่องยาก  หรือการปรับวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง  ซึ่งค่อนข้างจุกจิก  หรือบางคนเจอ comment ของ Peer review แล้วรับไม่ได้  เพราะคิดว่าเรื่องของตูนี้ดีแล้ว ทำไมต้องแก้อีก..
ข้อแนะนำขั้นต้น ที่บรรดาท่านทั้งหลายอาจจะลืมไปคือ ก่อนจะตีพิมพ์ต้องศึกษารูปแบบ ข้อบังคับของวารสารที่จะส่งไปลงตีพิมพ์ให้ละเอียดถี่ถ้วน  และพยายามปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดนั้น  อีกเรื่องทีสำคัญและพบบ่อยคือ  การส่งผลงานหว่านแห  ไปหลาย ๆ แหล่ง เผื่ออย่างน้อยต้องฟลุคได้ลงซักแห่ง หรือส่งหลายแห่ง เพราะกลัวต้องรอนาน ก็เลยส่งไปว่าต้องมีซักแห่งลงให้ก่อน  และพอได้ลงก็ไม่ได้แจ้งยกเลิกแห่งอื่น  ทำให้มีการตีพิมพ์เรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหลายแห่ง  ซึ่งเป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ไม่ควรกระทำ  และในแวดวงกองบรรณาธิการ อาจจะ backlist ชื่อไว้  ทำให้การตีพิมพ์ผลงานต่อไปยุ่งยากขึ้น  เพราะต้องเสียเวลาตรวจสอบว่าได้ส่งไปที่อื่นด้วยหรือไม่ หรือบางทีหากมีเรื่องรอลงมาก ก็อาจถูกจัดไปไว้เป็นตัวเลือกท้าย ๆ เนื่องจากประวัติที่ไม่ค่อยขาวสะอาดนัก

หมายเลขบันทึก: 88926เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท