ระบบความรู้ขององค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง


ระบบย่อยเกี่ยวกับความรู้ขององค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการความรู้ อันได้แก่ การได้มาหรือการหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บรักษาและพัฒนาความรู้ การใช้และการถ่ายทอดความรู้ขององค์การ

ข้อคำถามนี้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์การตามแนวคิดของ ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย ครับ 

คำถามที่ 8.   ระบบความรู้ขององค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ระบบย่อยเกี่ยวกับความรู้ขององค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการความรู้ อันได้แก่ การได้มาหรือการหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บรักษาและพัฒนาความรู้ การใช้และการถ่ายทอดความรู้ขององค์การ
  8.1  การได้มาหรือการหาความรู้ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลและข่าวสารต่างๆ แล้วนำมาจัดระบบเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเป็นความรู้ ข้อมูลและข่าวสารที่จำเป็นแก่องค์การทั้งภายในและภายนอกที่คิดว่าเป็นประโยชน์ ควรจะมีวิธีการจัดเก็บที่เป็นระบบและมีเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้และเที่ยงตรง
  8.2  การสร้างความรู้ หมายถึง การก่อเกิดความรู้ใหม่ที่วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูลดิบหรือผ่านกระบวนการแก้ปัญหา และการคิด กลั่นกรองมาแล้วอย่างดี มีเหตุผลสนับสนุนที่เพียงพอที่ทำให้เชื่อว่าเป็นความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์แก่องค์การที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลผลิตและกิจการขององค์การ
  8.3  การเก็บรักษาความรู้ ก็คือการทำรหัสเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาความรู้ที่มีคุณค่าต่อองค์การ เพื่อสะดวกในการเข้าถึงและนำมาใช้ประโยชน์ โดยทุกๆ คนในองค์การสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
  8.4  การถ่ายทอดและการใช้ความรู้ หมายถึง การเคลื่อนไหวหรือการเลื่อนไหลของความรู้ โดยวิธีการต่างๆ จะโดยกลไกลการสื่อสารหรือผ่านสื่อทุกรูปแบบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือจากการสนทนา สื่อสิ่งพิมพ์ การพูด สัมมนา บรรยาย ฝึกอบรม เพื่อให้ทุกคนในองค์การได้เรียนรู้ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งทางตรงและ/หรือทางอ้อมตลอดการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนางานของคนองค์การนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 88669เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ

ผมสนใจด้านการจัดการความรู้ เพราะอยู่ในองค์กรณ์ที่ทำงานด้านการสอนด้านศิลปะและการออกแบบที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ปัญหาของการจัดการองค์ความรู้ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการและยุคสมัยของสังคมที่ให้ทันกับกระแสความต้องการ ทำให้เรา ปรับตัวหลักสูตร กิจกรรม และวิธีการเรียนการสอน อย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวมาตลอดและสม่ำเสมอ

ตราบเมื่อเอกสารหลักฐานในการชี้วัดมามีความสำคัญต่อเมื่องการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามามีบทบาท ต่อระดับความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ กระทั่งเกิดการจัดอันดับในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ดังที่ปรากฏผลและการตอบโต้ทุ่มเถียงกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน

ผมเริ่มไม่แน่ใจกับความเข้าใจในภารกิจการจัดระบบความรู้ที่เป็นสากลของคณาจารย์โดยหน้าที่ กับภารกิจการปรับปรุงองค์ความรู้ให้สอดคล้องทันกับยุคสมัย ที่มีรากฐานอยู่บนระบบความคิดและการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยทั้งสองอย่างนี้ ต่างก็ต้องอาศัยทั้งความพากเพียรและเวลาอย่างมากมาย โดยสองประการนี้ ยังมิได้หมายรวมถึงองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอีกหลายประการ ที่คณาจารย์แต่ละท่านกำลังประสบและเผชิญอยู่ ความพยายามในการที่จะจัดการทุกอย่าง บ่อยครั้งที่มันไปทำลายความสามารถที่โดดเด่นบางประการในเชิงการสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาสาระใหม่ๆให้ดำเนินได้อย่างที่เคยมีประสิทธิภาพสูงดังในอดีต

โดยความสัตย์จริง ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องนี้ ผมรับทราบ รับรู้และพอเข้าใจ การจัดการความรู้ในรูปแบบที่ค่อนข้างเฉพาะตัว โดยยังมิอาจชี้ชัดลงไปให้แน่นอนว่าความพยายามที่ดำเนินการไปนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นการจัดการความรู้ที่เหมาะสมและยั่งยืนหรือไม่

 น่าที่จะได้มีกรณีศึกษตัวอย่างมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันให้บ่อยครั้งและมากขึ้นกว่านี้ และทำให้เกิดเป็นรูปธรรมกว่านี้จะดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท