การบริหารความขัดแย้ง (3)


                  ผมทึกทักเอาว่า Bloger สนใจเรื่องการบริหารความขัดแย้งมากที่สุด (สำหรับ Blog ของผม) ประกอบกับมีตัวอย่างความขัดแย้งที่น่าจะนำมาวิเคราะห์ดังนี้
                  มีสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น  เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550  เป็นความขัดแย้งลักษณะพิเศษ  ไม่ใช่การขัดแย้งปกติที่เกิดขึ้นภายในบุคคล  หรือระหว่างบุคคล  หรือภายในกลุ่ม  หรือระหว่างกลุ่ม  หรือระหว่างองค์กร  แต่เป็นความขัดแย้งของการบริหารบ้านเมืองที่มาจากเกือบทุกสาเหตุ  อาทิ
                  -  ประสบการณ์และข้อจำกัดต่างกัน  ทำให้มองโลกต่างกัน
                  -  ค่านิยมต่างกัน  จึงมีมุมมองต่างกัน
                  -  วิธีคิดต่างกัน  ตามลักษณะการเรียนรู้  จึงมีข้อสรุปต่างกัน
                  -  วัฒนธรรมประเพณีต่างกัน  ต่างระบบวัฒนธรรมองค์การ  จึงปฏิบัติต่างกัน
                  -  ความคลุมเครือ  ที่ทำให้ขาดความชัดเจน
                  (ยกเว้นสาเหตุของทรัพยากร  หรือตำแหน่งมีจำกัด  ที่มักเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้งปกติขององค์กร)
                  สถานการณ์ที่ผมกล่าวถึง  คือ  การตั้งเวทีปราศรัยของ พีทีวี  ในวันที่ 30 มีนาคม 2550
                  1.  รัฐบาล (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) และ คมช. (พลเอกสนธิ  บุญยรัตกลิน)  มีความเห็นร่วมกันไม่อนุญาตให้ พีทีวี ใช้สนามหลวง  โดยมีการสั่งการและเตรียมการ
                        1.1  กองทัพภาคที่ 1  สั่งงดใช้สนามหลวงถึงวันที่ 5 เม.ย. 50
                        1.2  เตรียมพร้อมตามแผนปฐพี 149
                        1.3  อาจใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต กทม. (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย)
                  2.  กทม. (นายอภิรักษ์  โกษะโยธิน)  ตำรวจ (พล.ต.ท.อดิศร  นนทรีย์) และทหาร (พล.ต.ดาว์พงษ์  เรืองสุวรรณ) เห็นชอบร่วมกันอนุญาตให้พีทีวีใช้ลานคนเมือง  ตั้งเวทีปราศรัย
                  น.ส.พ.มติชนรายวัน (31 มี.ค. 50)  ได้วิเคราะห์ผลดี  ผลเสีย  ดังนี้
                  ผลดี  (ของการอนุญาต)
                  1.  ชุมนุมในพื้นที่จำกัด
                  2.  สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
                  3.  กำหนดเงื่อนไข  อุปกรณ์  และเวลาได้
                  4.  (ผมขอแถม) แยกกลุ่มม็อบออกจากประชาชน
                  ผลเสีย (ของการไม่อนุญาต)
                  1.  อาจเกิดการปะทะกำลังระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับตำรวจและเทศกิจ  จนอาจจะเกิดเหตุร้ายแรงได้
                  2. (ผมขอแถม) ถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ  ลิดรอนสิทธิ์  และไม่ชอบธรรม
                  ผลสรุป  รัฐบาล (โดยรวม) ควบคุมสถานการณ์ได้  พีทีวี ได้มีเวทีปราศรัย
                  สถานการณ์อย่างนี้น่าจะเรียกว่า ชนะ-ชนะ (Win-Win)
                  อะไรคือการบริหารความขัดแย้ง?
                  แนวคิด  มอสคา (mosca)  นักสังคมวิทยาชาวอิตาลี  เชื่อว่า  ความขัดแย้งในสังคม  ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล  หรือระหว่างกลุ่มกับกลุ่มเป็นของปกติที่เกิดโดยธรรมชาติ  และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการดำรงชีวิตในสังคม
                  สรุป  ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในสังคม
                  รูปแบบ  การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) อาจจำแนกได้ 5 ประเภทใหญ่ๆ (M. Afzalur Rahim) ได้แก่
                  1.  เอาชนะโดยการบังคับหรือการใช้อำนาจ (Forcing Style) เป็นพฤติกรรมแบบ “ฉลาม” คือ เผชิญหน้า  ใช้กำลัง  อำนาจ
                  2.  เอาชนะโดยการหลีกเลี่ยงไม่ยอมเผชิญหน้า (Withdrawal หรือ Avoidance Style) เป็น พฤติกรรมแบบ “เต่า”  คือ หดหัวอยู่ในกระดอง
                  3.  เอาชนะโดยการปรองดอง  ยอมตาม (Smoothing Style) เป็นพฤติกรรมแบบ “ตุ๊กตาหมี” คือ  ตามใจ  ไม่ขัดขืน
                  4.  เอาชนะโดยการประนี  ประนอม (Compromising Style) เป็นพฤติกรรมแบบ “สุนัขจิ้งจอก” คือ  การมีผลประโยชน์ร่วมหรือการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่ผู้เกี่ยวข้องพอใจ
                  5.  เอาชนะโดยการตกลงกัน (Negotiating Style) เป็นพฤติกรรมแบบ “นกฮูก” คือ  ผสมผสาน  หรือหาข้อสรุปที่เหมาะสม
                  ผู้บริหารความขัดแย้ง คือ  นายกรัฐมนตรี  คมช.  หลีกเลี่ยงการแตกแยกในสังคม  และเลือกใช้รูปแบบการบริหารความขัดแย้ง  โดยการใช้อำนาจ (Forcing Style) กรณีสั่งงดใช้สนามหลวง  ส่วนกทม.  ตำรวจ  และทหาร  เลือกใช้รูปแบบการประนีประนอม (Compromising Style) ผสมกับรูปแบบการตกลงกัน (Negotiating Style) โดยทุกฝ่ายเห็นว่า “ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในสังคม”
                   ความขัดแย้งก่อให้เกิดประโยชน์  ดังนี้


                   การขัดแย้งทางความคิด  ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม  แต่อย่าให้ความขัดแย้งนำไปสู่ความแตกแยก  เพราะความขัดแย้งในทางลบจะนำไปสู่


                   การขัดแย้งมีผลทั้งบวกและลบ  มีทั้งคุณและโทษ  ผลจะเป็นอย่างไรอยู่ที่ผู้บริหารความขัดแย้ง 
                   การบริหารไม่ยากอย่างที่คิด  ใช่ไหมครับ?

หมายเลขบันทึก: 88628เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท