Liver function test


การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test)
                ในผู้ป่วยที่ติดสุรานั้น   หลายคนคงเคยเห็นแพทย์สั่งตรวจ Liver function test    แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ค่าที่ตรวจได้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร      ได้ไปอ่านพบใน websites  เห็นว่าอ่านเข้าใจง่าย  เลยขอเอามาทบทวนให้ทราบดังนี้
                           
                การตรวจ Liver function test (LFT)  เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติของทำงานของตับ   เนื่องจากตับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายมากมาย   การตรวจดู LFT จึงต้องดูจากผล Lab หลายค่าดังนี้

                                                                ค่าปกติของผลเลือด
                         Total protein                     6.0  -   8.0 g/dl
                         Albumin                             3.5  -  5.0 g/dL
                         Globulin                             1.5  -  3.2 g/dL
                         Total bilirubin                    0.1  -  1.0 mg%
                         Direct Bilirubin                  0.1  -  0.3 mg %
                         AST (SGOT)                        8   -   50 U/L
                         ALT (SGPT)                         8   -   50 U/L
                         ALP (Alk. Phosphatase)   35  -  110 U/L

                     ค่าต่างๆ เหล่านี้   สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้
          1.  กลุ่ม Enzyme ตับ บ่งบอกถึงสภาวะของเซลล์ตับในขณะนั้น 
          2.  กลุ่มผล Lab ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์น้ำดี 
          3.  กลุ่มผล Lab ที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน 
          4. กลุ่มผล Lab ที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว (การตรวจสุขภาพทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยได้ตรวจตัวนี้กัน  แต่จะตรวจในคนป่วยโรคตับที่เป็นมากแล้ว)
 
                 เรามาดูรายละเอียดกันทีละกลุ่มเลยดีกว่า

1. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกถึงสภาวะเซลล์ตับ หรือเอนไซม์ (enzyme)ตับ  ที่นิยมตรวจ ได้แก่
                 - AST  หรือเรียกอีกชื่อว่า SGOT
                 - ALT  หรือเรียกอีกชื่อว่า SGPT
                 - Alkaline phosphatase  หรือมักจะเขียนย่อๆ ว่า ALP

                 การที่มีค่าเอนไซม์เหล่านี้ โดยเฉพาะค่า SGOT และ SGPT ที่สูงขึ้นมากนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เซลล์ตับกำลังมีการอักเสบหรือแตกสลายอยู่ จึงทำให้เอนไซม์ตับซึ่งปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ตับเท่านั้นหลุดลอดออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นให้เราตรวจเจอได้      ค่าเอนไซม์ ALP สูงขึ้นผิดปกติก็สามารถพบได้ในกรณีที่มีก้อนแอบแฝงเบียดในตับได้  จำเป็นจะต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวน์ (Ultrasound) เป็นต้น

2. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการสังเคราะห์และขับน้ำดี   ค่าที่ใช้ตรวจ  ได้แก่ 
                  - Total Bilirubin มักถูกเขียนย่อๆ ว่า T. Bilirubin
                  - Direct  Bilirubin เขียนย่อๆ ว่า D. Bilirubin 
                  - Indirect Bilirubin (ปกติจะไม่มีการเขียนแสดงค่าในใบรายงานผล  แต่สามารถคำนวณได้ โดยใช้สูตร Indirect bilirubin = Total bilirubin – direct bilirubin)
           
              การแปลผลจะเน้นที่ค่าของ  Direct (Conjugated) Bilirubin และ Indirect (Uncojugated) bilirubin      โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย   Hemoglobin จะเกิดการสลายตัว ได้เป็น Uncojugated  Bilirubin (Indirect bilirubin)  ดังนั้น ค่าของ Indirect bilirubin มากกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึงสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายมากผิดปกติจนเกิดภาวะดีซ่าน  ตัวเหลืองตาเหลืองตามมา   มากกว่าที่จะเป็นปัญหาโดยตรงของตับ         

            จากนั้นUnconjugated bilirubinจะถูกส่งไปที่ตับ  ผ่านกระบวนการกำจัดทิ้งโดยการ conjugate ทำให้กลายสภาพเป็น Conjugated bilirubin ซึ่งละลายน้ำได้ดีขึ้นเพื่อส่งต่อไปขจัดทิ้งทางท่อน้ำดีออกไปรวมกับอุจจาระ   ทำให้อุจจาระมีสีเหลืองอย่างเช่นที่มองเห็นนั่นเอง  การที่เซลล์ตับมีการอักเสบซึ่งทำให้ไม่สามารถเอา Unconjugate bilirubin เข้าไปในเซลล์เพื่อ Conjugateได้     ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจาะเลือดเจอค่า Indirect bilirubin ในเลือดสูงผิดปกติได้เช่นกัน
              ในทางตรงกันข้าม ถ้ากระบวนการทำงานของตับเป็นไปโดยปกติสามารถเปลี่ยนจาก Unconjugate bilirubin ให้กลายเป็น Conjugated bilirubin ได้ (Direct  bilirubin)  แต่กลับเกิดปัญหาอุดกั้นของท่อน้ำดี  จนไม่สามารถขับน้ำดีทิ้งไปได้ ก็จะมีผลทำให้ Conjugated bilirubin ล้นกลับไปในกระแสเลือดได้    ถ้าไปตรวจเลือดคนไข้ในกลุ่มนี้ ก็จะพบว่าค่า Direct  Bilirubin ขึ้นสูงกว่าปกติ

3. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน  ค่าที่นิยมตรวจได้แก่
                 - Albumin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Alb
                 - Globulin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Glob
                 - Protein หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Prot

              การแปลผลในกลุ่มนี้ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่  เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของตับคือการสร้างโปรตีนหลายๆ ชนิด ถ้าตับทำงานแย่ลงหรือเสื่อมสภาพ เช่น ตับอักเสบ, ตับแข็ง   ก็จะทำให้มีความสามารถในการสร้างโปรตีนลดลง ถ้าตรวจเลือดก็จะพบว่าค่าของ Albumin, Globulin, Protein ต่ำลงเช่นเดียวกัน

4. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกถึงความสามารถในการสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
                จริงๆ แล้ว สารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวก็คือโปรตีนชนิดหนึ่ง ถ้าความสามารถในการสร้างสารต่างๆ ของตับลดลงมากจนไม่สามารถสร้างโปรตีนในกลุ่มนี้ได้มากพอ ก็จะมีปัญหาเลือดออกง่ายในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามมา

                  เนื่องจากสุราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบหรือโรคตับแข็ง      ผู้ป่วยที่ติดสุรามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง     เมื่อแรกรับเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จึงมักถูกส่งตรวจหาความผิดปกติของการทำงานของตับ (LFT)   และถ้าพบความผิดปกติ  จะได้รับยาในการรักษาและมีการติดตามค่า LFT อย่างต่อเนื่อง       

เอกสารอ้างอิง
1.  http://www.wedding.co.th/wartc_idea033.html
2. http://www.knc.ac.th/somchit/blood1.html      

 3.คัดลอกมาจากบันทึกของกลุ่มงานเภสัชอีกทีครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #สุรา
หมายเลขบันทึก: 88463เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท