ไมโครเดรดิต


คุณรู้จัก ดร.มูฮัมหมัด ยูนูส หรือเปล่า?

 สวัสดีครับ เมื่อคืนผมดูทีวีช่อง 9 อสมท.รายการชีพจรโลก ได้ฟังแนวคิดที่น่าสนใจดังนี้

ดร.มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้นำแนวคิดไมโครเครดิต ที่หวังเก็บความยากจนไว้ในพิพิธภัณฑ์ และธนาคารกรามีน ธนาคารคนยาก ที่ไม่ต้องการหลักค้ำประกัน หากเพียงความไว้วางใจ นี่คือโลกอุดมคติที่เป็นจริงมายาวนานกว่า 30 ปี กับบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จ จากรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปีล่าสุด พบกับบทสัมภาษณ์ ดร.มูฮัมหมัด ยูนูส แบบตัวต่อตัว จากบังคลาเทศ พร้อมติดตามความคิดเห็นของเยาวชนต่อปัญหาความยากจน

คล้ายกับความคิดของ คุณ ชบ ยอดแก้ว ที่สนับสนุนสัจจะสะสมทรัพย์ โดยในประชาชนในชุมชนนั้น นำเงินออกมารวมกับเพื่อใช้กู้ยืม โดยมีสัจจะว่าจะคืนเมื่อไหร่ ใครที่คืนทุกครั้งไม่บกพร่องก็จะได้รับสิทธิพิเศษ เช่น เงินปันผล สวัสดิการรักษาพยาบาล หากไม่ส่งตามกำหนด ก็ต้องไปเมื่อนับหนึ่งใหม่ การกู้ยืมก็เพียงลำดับตามความสำคัญของปัญหาที่ประชาชนนำไม่ใช้ ใครนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะถูกสังคมเพ่งเล็ง ใครไม่ส่งเงินที่ยืมก็จะทำให้ชุมชนเดือดร้อนเป็นลูกโซ่ได้ เป็นการดูแลในชุมชน ด้วยชุมชนจริงๆ

 ดร.มูฮัมหมัด ยูนูส ทำอย่างไร เค้าใช้หลักการทุนนิยมอีกรู้แบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่ทำธุรกิจเพื่อกำไรสูง แต่เป็นทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุด

นอกจากนั้นเค้ายังมีโครงการชักชวนบริษัทใหญ่ร่วมสนับสนุนการทำธุรกิจไม่หวังกำไร แต่หวังสนับสนุนให้ประชาชนมีความเป็นอยู้ดี สุขภาพดี เช่น ทำโยเกิร์ต เพื่อเด็กบังคลาเทศ เป็นต้น

นับว่าเป็นหลักการที่น่าสนใจและศึกษาต่อไปครับ

คำสำคัญ (Tags): #สัจจะออมทรัพย์
หมายเลขบันทึก: 88307เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

หวัดดีค่ะ : ) ไม่มีอะไรมา ลปรร.ค่ะ แค่อยากบอกว่า...

  • "สัจจะ" สำคัญไม่เพียงแต่สัจจะออมทรัพย์
  • "ความไว้วางใจ" ก็สำคัญมากในการอยู่ร่วมกันค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ต้อม

 สัจจะ หรือ สัญญาใจ น่าจะคล้ายกันเนาะ

 Passion Plan

           เข้ามาทักทาย ครับ           ......... และพอดี ได้ดูชีพจรโลกเมื่อคืนนี้ด้วย  ... จากที่  ดร. ยูนุส  บอกเล่าเมื่อคืนนั้น ....   มันเป็นความจริงที่ตอบต่อสังคมว่า......  จริงแล้วคนในชุมชนฐานรากนั้นสามารถทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง  ... แต่สิ่งที่ทำไม่ได้อย่างแพร่หลาย  เพราะยังขาดโอกาส   ที่จะมาช่วยต่อยอดและสนับสนุนให้สิ่งที่ชาวบ้านทำง่าย ๆ  เป็น เรื่องใหญ่ได้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

        โดยส่วนตัวแล้วซึ่งโอกาสที่ได้ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว   และ.....มีความเชื่อมั่นว่า  พี่น้องในชุมชนสามารถทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง  ... แต่สิ่งต้องไปเติมให้เต็ม  ณ  วันนี้  คือ  ความเชื่อมั่น  และ โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร   ทรัพยากรและเทคโนโลยี  ที่เหมือนกับผู้คนอื่น ๆ  ในสังคมนี้

       เรื่องไมโครเครดิต  ที่  ท่าน อ. ชบ หรือ ปราชญ์ชาวบ้านของไทยทำ  และ ดร. ยูนุส  ดำเนินการนั้น  ต่างจากประชานิยม  ( กองทุนหมู่บ้าน ) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนรู้สึกถึง  ความเป็นเจ้าของ  ฝึกวินัยการออม  และ เปลี่ยนความคิดจากผู้รับการช่วยเหลือ  เป็น ผู้ที่ต้องพึ่งตนเอง      .... ความต่อเนื่อง และความยั่งยืน

ขอบคุณครับ

กับข้อเสนอแนะดีๆที่เสนอมา

คนที่อยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนเท่านั้นที่จะได้เจอสิ่งเหล่านี้ เพราะคนที่ไม่ได้อยู่หมู่บ้าน ชุมชนหรือชุมชนแออัดแต่อยู่ในย่านทั่วๆไปหรืออะไรทำนองนั้นจึงไม่มีทั้งกองทุนหมู่บ้านและสัจจะออมทรัพย์แต่อย่างใด ทำให้ต้องไปธนาคารหรือไม่ก็กู้เงินนอกระบบ กล่าวคือทำให้คนในพื้นที่ลักษณะดังกล่าวไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ซึ่งเราเองก็เป็นคนหนึ่งในนั้นด้วย ถ้ามีกองทุนหรืออะไรทำนองนั้นเพื่อคนในย่านทั่วๆไปดังที่กล่าวมาคงดีไม่น้อย

อยากได้ประวัติการก่อตั้งของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของแนวคิดอ.ชบตั้งแต่ก่อตั้งใครรู้ช่วยบอกหน่อยนค่ะขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

ลองค้นหาคำว่า คุณ ชบ ยอดแก้ว ดูนะครับ

จะปรากฏหลายหัวข้อที่เกี่ยวกับท่าน อยู่ที่ว่าต้องการเรื่องของท่านส่วนใด ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท