การเพาะเห็ด สร้างงาน สร้างอาชีพ สู่เศรษฐกิจพอเพียง


สู่เศรษฐกิจพอเพียง
เพาะเห็ด สร้างงาน สร้างชีวิตสู่ ..เศรษฐกิจพอเพียง

 

 

เห็ดฟาง เป็นเห็ดพื้นบ้าน ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ มักมีคำกล่าวติดปากชาวบ้านอยู่ทั่วไปอยู่เสมอ ๆ ว่า อุดม ไปด้วย  หมู เห็ด เป็ด ไก่  ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของเห็ด กับชีวิตและความเป็นอยู่ ของชาวไทยชนบทของเรา  เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติ ในอดีตชาวชนบท มีอาชีพหลักในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา หลังจากเกี่ยวข้าว เก็บผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือจากการทำนา ก็คือฟางข้าว ซึ่งเราจะเก็บฟางเหล่านี้ ไว้เป็นอาหารสำหรับ โค กระบือ โดยกองฟางไว้รอบ ๆ บ้าน  เมื่อมีฝนตกมา เกิดความชื้น มีอาหารสมบูรณ์ ก็มักจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นมา รอบ ๆ กองฟาง และเมื่อนำมาประกอบอาหาร ก็จะมีรสชาติอร่อยมาก ชาวบ้านจึงมักเรียกกันติดปากกันว่า เห็ดฟาง

          เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่เราสามารถเพาะเลียนแบบธรรมชาติได้ และวิธีการก็ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถ เพาะเพื่อจำหน่ายหารายได้หลัก  หรือเสริมอาชีพประจำก็ได้ รวมทั้งยังสามารถประกอบ เป็นอาหารในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง  ลดภาระค่าใช้จ่าย หารายได้เสริม ใช้สิ่งที่หาได้ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ นั่นคือแนวทางหนึ่ง ของหลักเศรษฐกิจ ชีวิตพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ เกษตรกรรม  ซึ่งนำโดย ครูสมปอง  นิตสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาระ  และครูพงษ์ระพี   ศรีคำทา  ครูผู้สอน ได้ฝึกอบรม ให้นักเรียน ได้มีความรู้ และทักษะในการเพาะเห็ดฟาง ให้นักเรียนมีความมั่นใจ มีทักษะและสนุกกับการเรียนรู้ จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หรือสามารถ พัฒนาเป็นอาชีพได้ จากสถานศึกษา สู่ชมชน มีนักเรียนหลายสิบคน สามารถนำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ กลับไปสานต่อที่บ้านของนักเรียนเอง ทั้งสามารถ ให้ความรู้กับผู้ปกครอง และเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี

วันนี้ ขอยกตัวอย่าง นายบุญสม  นาคทองอินทร์

 

 

อยู่หมู่บ้าน นาลาว  ศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์ การเพาะเห็ด ไปจากโรงเรียนอู่ทอง  จบการศึกษาไปหลายปีแล้ว ไปประกอบอาชีพอย่างอื่น อยู่หลายปี เห็นพื้นที่ข้างบ้าน ที่ยังว่างอยู่ คิดว่า น่าจะทำให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าปล่อยทิ้งจึงได้ติดต่อ ประสานงานมายัง ครูพงษ์ระพี  ขอคำปรึกษา และขอคำแนะนำ  เริ่มจัดหาอุปกรณ์ ทั้งอาหารเสริม ก้อนเห็ดเก่า และฟาง    เตรียมพื้นที่   18  มีนาคม  50 เริ่ม ภารกิจ ชีวิตพอเพียง  โดยมี อา  ต่อ  โต้ง   แม่  ยาย  และหลานตัวน้อย   เริ่มผสมฟาง กับก้อนเป็น มีหลาน ๆ คอยแกะให้ สนุกสนาน มอมแมมที่เดียว  เพราะนี่เป็นครั้งแรกกับการปฏิบัติ เมื่อนำทักษะสมัยเรียน มารวมกัน ทำให้วันนั้นได้เห็ดฟาง ถึง  29 กอง  วันที่  21 เริ่มเปิดกอง โดยมีครูให้คำแนะนำ  วันที่ 23 เริ่มมีดอกเห็ดเล็ก กระจายอยู่ตามกองเห็ดและพื้นดิน  วันที่ 25   เห็ดดอกใหญ่ขึ้น เริ่มเก็บจำหน่ายได้  วันที่  26  เห็ดออกดอกพรึบทั้งกอง สร้างความตื่นเต้นให้กับลุงป้า น้า อา และหลาน ๆ ซึ่งสนุกกับการเก็บดอกเห็ด  นอกจากจะจำหน่ายได้แล้ว ยังเป็นอาหารที่อร่อยอีกด้วยและนี่คงเป็นอีกส่วนหนึ่ง ของผล จากการเรียนรู้นั่นเอง คุณอยากลองทำบ้างหรือเปล่าครับ 

 

 
หมายเลขบันทึก: 87305เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท