ตัวอย่างชีวิตประจำวันของทูตไทยในต่างประเทศ


ชีวิตนักการทูตไม่ได้มีเฉพาะการกิน ดื่มในงานเลี้ยงแต่คือทั้งชีวิต

ตัวอย่างชีวิตประจำวันของนักการทูต มีดังนี้

เช้า-มาทำงานแปดโมงครึ่งเช่นเดียวกับข้าราชการที่อยู่ในเมืองไทย

ต้องอ่านหนังสือพิมพ์สำคัญทุกฉบับในประเทศนั้น และข่าวจากทั่วโลก

รวมทั้งรายงานโทรเลขจากกระทรวง

เก้าโมงครึ่ง-ดูเรื่องที่เข้ามาทั้งหมดและเตรียมมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไป

สิบโมง-ประชุมเจ้าหน้าที่สถานทูต

สิบโมงครึ่ง-ให้บุคคลต่างๆ มาพบปะหารือ

สิบเอ็ดโมง-ให้คนไทยเข้าพบเรื่องงานคนไทย

สิบเอ็ดโมงครึ่ง-ให้ทูตต่างประเทศเข้าพบ

เที่ยง-ไปพบรัฐมนตรีต่างประเทศ

เที่ยงครึ่ง-ไปงานเลี้ยงรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศหรือสถานทูตอื่นๆ ในงานวันชาติ

บ่ายโมงครึ่ง-ไปพบเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศในประเทศนั้น

บ่ายสามโมง-ไปร่วมประชุมทูตต่างประเทศ

สี่โมงครึ่ง-ไปพบนักธุรกิจใหญ่เพื่อหาตลาดให้สินค้าไทย

ห้าโมง-ไปเยี่ยมคนงานไทย

ห้าโมงครึ่ง-ไปเยี่ยมนักโทษไทยหรือเรือประมงไทย

หกโมง-ไปร่วมงานของชุมชนคนไทยหนึ่งทุ่ม-ไปงานเลี้ยงวันชาติ

สองทุ่ม-ไปสนามบินรับคณะราชการมาเยือนจากประเทศไทย

สองทุ่มครึ่ง-ประชุมกับคณะราชการที่โรงแรมสามทุ่ม-เลี้ยงอาหารค่ำที่โรงแรม

ห้าทุ่ม-ดูโทรเลขและเรื่องด่วนที่เข้ามาในช่วงเย็น รวมทั้งเซ็นงานที่ค้าง

ห้าทุ่มครึ่ง-กลับทำเนียบเพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวสำหรับการทำงานในวันต่อไป 

การทำงานแบบนี้เป็นงานที่เกิดขึ้นเป็นปรกติวิสัยของชีวิตนักการทูตไม่ว่าจะอยู่ที่สถานทูตไหนในโลกก็ตาม บางครั้งก็หนักกว่านี้หากมีการเยือนของคณะทางการของไทยในระดับสูงหรือมีการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในประเทศนั้นที่มีคณะผู้แทนไทยร่วมประชุมด้วย

นักการทูตจึงต้องเป็นผู้ที่นอกจากจะชำนาญในงานที่รับผิดชอบแล้วยังต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจและร่างกายแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าสังคมที่จำเจและบ่อยครั้งด้วย ลองนึกดูนะครับว่าถ้าในประเทศนั้นมีคณะทูตประเทศต่างๆ อยู่ 180 ประเทศ ก็หมายความว่าเฉพาะเรื่องงานเลี้ยง นักการทูตต้องไปงานเลี้ยงงานวันชาติของทั้ง 180 ประเทศ.....ถือเป็นงานในหน้าที่ ในอดีตจึงมีให้เห็นเป็นบทเรียนว่าทูตต้องเสียชีวิตจากปัญหาสุขภาพในขณะปฏิบัติหน้าที่ในงานเลี้ยง.....ก็มี

ด้วยความปรารถนาดี

 

หมายเลขบันทึก: 87192เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

สวัสดีครับ

มาติดตามครับผม ดูแล้วการเป็นทูตนี่งานหนักมากเลยนะครับ แต่ก็ดูน่าสนุกมากนะครับ

มีคำถามนิดหนึ่งครับ (อีกแล้ว) ในสถานเอกอัครราชทูตทุกที่นี่ จะต้องมีทูตทหารและทูตพาณิชย์ด้วยหรือเปล่าครับ แล้วก็ตารางนี้นี่ ทูตทหารกับทูตพาณิชย์มีทำคล้ายๆแบบนี้หรือเปล่าครับ 

ขอบพระคุณมากครับสำหรับความรู้

 

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม

เอกอัครราชทูตคือผู้แทนประเทศ ในกรณีของประเทศไทยถือเป็นผู้แทนขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดูแลความสัมพันธ์ทุกด้านของประเทศ องค์ประกอบของคณะทูตคือเจ้าหน้าที่การทูตที่มาจากกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

เอกอัครราชทุต ซี 10 หรือ 11

อัครราชทูต ซี 9 หรือหากเป็นสถานกงสุลใหญ่ ก็จะเป็นกงสุลใหญ่ ซี 9

อัครราชทุตที่ปรึกษา ซี 8 (หรือระดับ ผอ.กอง)

ที่ปรึกษา ซี 7

เลขานุการเอก ซี 6

เลขานุการโท ซี 5

เลขานุการตรี ซี 4

นายเวร ซี 3

นอกจจากนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่ธุรการ

ในอดีตนั้นจะมีแต่ทูตและเจ้าหน้าที่การทูตที่มาจากกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนาและขยายตัวตามโลกที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป้นต้องมีเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านมาช่วยงาน จึงเกิดการแต่งตั้งผู้ช่วยทูตฝ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นไปประจำที่สถานทูตเพื่อดูแลงานเฉพาะด้าน ได้แก่ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ ........ซึ่งก็มีเฉพาะในประเทศที่สำคัญและจำเป็นต้องมีเท่านั้น

ด้งนั้นงานของผู้ช่วยทูตฝ่ายต่างๆ เหล่านี้ก็มีตามงานเฉพาะส่วนของตนที่ต้องดูแลซึ่งก็คงลดหลั่นกันไปครับซึ่งงานต่างๆ เหล่านี้จะมีทูตดูแลเป็นศูนย์กลางหรือเป็นหัวหน้าคณะทูต

ด้วยความปรารถนาดี

 

 

 

เรียน ท่านพลเดช

อยากจะรบกวนสอบถามท่าน เรื่องการจะเข้าไปทำงานที่สถานทูตได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง 

ขอบพระคุณมากๆค่ะ 

 

คุณฟ้ากว้างครับ

นอกจากข้าราชการที่ทำงานในสถานทูต/สถานกงสุลแล้ว ก็ยังมีเจ้าหน้าที่ ที่เรียกว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำงานด้วยจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็จะเป็นคนพื้นเมืองหรือคนไทยที่อยู่ในประเทศนั้นที่มีความเหมาะสม(ก็คือมีประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศนั้น) ตำแหน่งทั่วๆ ไปก็คือเจ้าหน้าที่ธุรการนั่นเอง ดังนั้นคงต้องตามดูครับว่ามีการรับสมัครกันเมื่อไหร่และอย่างไร

สถานทูตต่างประเทศในประเทศไทยก็มีลักษณะแบบนี้เช่นเดียวกันครับ การทำงานกับสถานทูตก็ต้องมีความสามารถในทางภาษาในระดับที่ดีครับโดยเฉพาะภาษาอังกฤษและหรือภาษาท้องถิ่น

ด้วยความปรารถนาดี

เรียนท่าน พลเดช วรฉัตร

   ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ ที่คณะรัฐศาสตร์(ความสัมพันระหว่างประเทศ)ป.ตรี - ผมมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการเป็นนักการทูตไทย และได้ทำเพื่อประเทศของเรา แต่ผมมีข้อสงสัยนิดนึงครับท่าน คือ ว่า ผมเป็นลูกครึ้งระหว่าง ไทย-ฝรั่งเศส  แต่ ผมถือ สัญชาติไทยแต่กำเนิดและเกิดในประเทศไทย ไม่ทราบว่าผมจะมีสิทในการสอบเป็นนักการทูตหรือไมครับและหากได้ไม่ทราบว่าผมจะได้รับสิทที่เท่าเทียบกับคนอื่นหรือปล่าวครับท่าน ผมเรียนจะใกล้จบแล้วครับถ้า เกิด ผมเป็นลูกครึ้งไทย-ฝรั่งเศสและถือ สัญชาติไทย แต่ไม่มีสิท สอบ ชีวิจผมคงจบสิ้น ไม่ทราบว่าเคยมีนักการทูตไทยเป้นลูกครึ้งหรือปล่าวครับแล้วผมจะมีสิทและเท่าเทียมหรือไม่ครับ  และถ้าได้เป็นนักการทูตระดับ3 จะได้ไปประจำการต่างประเทศหรือปล่าวครับ

                                           ขอบพระคุณท่าน พลเดช เป็นอย่างสูงครับ

คุณแอนโทนีครับ

ตอบอย่างไม่เป็นทางการนะครับ

ไม่มีปัญหาครับ ถ้าสอบเข้าได้ (ข้อเขียนและสัมภาษณ์) มีสิทธิเท่าเทียมกันครับ

โชคดีครับ

ขอบพระคุณมากครับท่านสำหรับคำตอบ

 ผมจะได้ความเท่าเทียม ทั้ง ภาค.ก/ ภาค.ข / ภาค.ค  ใช้ไมครับผม?

ขอบพระคุณครับท่าน เคยมีนักการทูตไทยเป็นลูกครึ้งหรือปล่าวครับ?

ถ้าผมได้เป็นนักการมูตระดับ 3 ตอนอายุแค่ 21 ผมจะได้ไปประจำการต่างประเทศหรือปล่าวครับหรือต้องประจำกระทรวงสักกี่เดือนครับท่าน?

                                      ช่วยกรุณาที่น่ะครับท่านขอบพระคุณมากครับ

 

เรื่องเคยมีนักการทูตไทยที่เป็นลูกครึ่งหรือไม่นั้น ไม่มีข้อมูลครับ 

ส่วนเรื่องการออกประจำการนั้น ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสายการทูตต้องออกประจำการครับ ถือเป็นงานในหน้าที่  ส่วนระยะเวลานั้นต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงครับ

 

ขอบพระคุณมากครับท่าน

  ท่านเป็นนักการทูตที่เป็นแบบอย่างให้ผมเลยน่ะครับ ขอบพระคุณท่านมากครับ

       ท่านครับการสอบนักการทูต3 กับ 4 ต่างกันยังไงหรอครับ?สอบพุดเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษครับ?

    - ท่านคิดว่าผลควรเรียน ป.ตรี จบแล้วสอบเป็นนักการทูตระดับ3เลย หรือ ควร เรียน ป.โท แล้วค่อยสอบระดับ4 หรือ ว่า พอจบ ป.ตรีแล้วลองสอบดูก่อน? (สามารถสอบได้มากกว่า 1รอบใช้หรือปล่าวครับ)  ท่านช่วยแนะนำผมที่น่ะครับคำแนะนำของท่านมีผลต่ออนาคตของผมมากจริงๆครับ

   -   ไม่ทราบว่าตอนไปสอบ ภาค.ก / ภาค.ข / ภาค.ค - ผมควรใส่ชุดยังไงไปดีครับใส่ สูทผูกไท หรือ ปล่าว?

  ขอบพระคุณมากครับ   ด้วยความเคราพอย่างสูง

การสอบ 3 กับ 4 ผมว่าคงไม่ต่างกันนะครับและต้องสอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ

เรื่องการสอบหลังจากเรียนจบหรือรอจนปริญญาโทนั้น เป็นเรื่องที่ได้ทั้งสองทางเลือกครับ

(ความเห็นส่วนตัวนะครับ) แต่ชีวิตคนเรานั้น บางครั้งเรียนจบแล้วหากเริ่มทำงานเลยก็อาจจะอยู่ในระบบเลย ถ้าชอบก็ดีไป แต่หากไม่ชอบวิถีงาน ก็ต้องเสียเวลาไปบ้าง

ที่ผ่านมามีผู้ที่สอบเข้าได้บางคนที่พอเข้าไปทำงานแล้ว ทำไปซักพักหนึ่ง อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เคยคิด ก็โอนไปที่หน่วยงานอื่นหรือออกไปทำเอกชนก็มีครับ

ผมคิดว่าถ้าชอบงานการทูตจริงๆ การสอบเข้าตอนปริญญาโทก็ไม่ได้เสียหายอะไร

อย่างไรก็ดี หากสอบเข้าได้ตั้งแต่เรียนจบ ก็จะทำให้ได้เริ่มเรียนรู้ได้ตั้งแต่ต้นครับ

โชคดีนะครับ

 

ขอบพระคุณมากครับท่าน

 ท่าน ครับตอนไปสอบ ภาค.ก - ภาค.ค นั้นจะ สอบในวันเดียวกันหรือปล่าวครับ แล้ว ผมควรใส่ชุดอะไรไปดีครับท่าน ใส่ ชุด สูทผูกเน็กไท  หรือปล่าวครับ

                                                ขอบพระคุณครับ

เรื่อวสอบวันเดียวหรือเปล่าต้องดูประกาศสอบแต่ละครั้งไปครับ การแต่งกายเน้นเรียบร้อย สุภาพไว้ก่อนครับ

ส่วนเรื่องการจะใส่สูทผูกเนคไทหรือไ่ม่นั้น

ขอตอบว่าได้ทั้งนั้นครับ ขอให้เรียบร้อยและสุภาพ เป็มาตรฐานสากลครับ

 

 ท่าน ครับ ตอน สัมภาษ ผลต้องเตรียมแฟ้ม ประวัติ กับ ใบประกาศ ที่เคยได้ อะไรพวก นี้ ไปด้วยหรือปล่าวครับ

 

    ขอบพระคุณครับ

                ท่าน ครับ ตอนช่วง สัมภาษณ์ นี้จะเป็นการถามอะไรบางหรอครับท่านช่วยยกตัวอย่างให้ผมที่ได้หรือปล่าวครับ ถ้าเกิดมีถามเป้น ภาษาอังกฤษจะเป้นการแถมแนวไหนหรอ ครับ ในสมัยที่ท่านสอบเป้น เลขานุการทูตตรี ท่านโดนสัมภาษณ์ว่าอะไรหรอครับ ผมอยากรู้ว่า       เป้นแนวไหนอะครับท่านเพื่อจะได้เตรียมและเก้บเป็นความรู้ครับ

                                                       ขอบพระคุณมากครับท่าน

การจะเป็นนีกการทูต เริ่มแรกจะต้องผ่านการเผชิญหน้ากับการทดสอบครับ

เคยแนะนำไป แต่สอบคัดเลือกไม่ผ่านเลยสักคนครับ

แม้ในปัจจจุบันนี้ จะมีมหาวิทยาลัยสอนวิชาการด้านการทูตแต่ก็ไม่มีที่ไหนสอนการเป็นนักการทูตครับ ต้องเรียนรู้เอง

โชคดีนะครับ

 

ขอบพระคุณครับท่าน

    ท่าน ครับผมขอถามถามนอกเรื่อง นิดนึงน่ะครับ

     ตอนที่ ท่านสมัครเป็นนักการทูตท่านคิดยังไงถึงเลือกทางเดินนี้ครับ?

  แล้ว หน้าที่ของนักการทูตจะต้องนอกจากสร้างสัมพันกับต่างประเทศหรือปล่าวครับ?

     สำหรับเหตุผลของผมคือ อยากทำเพื่อประเทศอยากทำเพื่อในหลวง ถึงผมจะเป้นลูกครึ้งแต่ผมมีเลือกรักชาติเต้มร้อยครับ

 

                                   ด้วยความ เคราพครับ

ทำไม ท่านถึงว่าเป้น กรรมเก่า ละ ครับ มันไม่ดี หรอ ครับ

กรรม เป็นคำกลางๆ ครับ ส่วนเก่านั้นคืออดีตกาล ซึ่งแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป และไม่ใช่ประเด็นสำคัญในที่นี้

ขอให้ทำให้ดีที่สุดในแต่ละวันก็เพียงพอแล้ว

ขอบพระคุณมากครับท่าน
ท่าน ครับตอนนี้ ท่านยังประจำอยู่ที่ กระทรวงใช้หรือปล่าวครับแล้วท่านจะได้ไปกระจำการต่างประเทศอีก หรือ ปล่าว ครับ

เรียนท่าน พลเดช วรฉัตร

อยากทราบว่าเป็นผู้หญิงจะเป็นทูตได้หรือเปล่า แต่ส่วนมากจะเป็นผู้ชายเยอะ แล้วถ้าสมมุติว่าเราเก่งภาษาฝรั่งเศสเราจะไปประจำตำแหน่งของในประเทศนั้นได้หรือเปล่าคะ แล้วถ้าเป็นทูตอย่างน้อยต้องได้ประมาณกี่ภาษาคะ 5 หรือเปล่า?? เเล้วถ้าเป็นทูตไม่ได้เเล้วเราเรียนทางด้านนั้นมาแล้วจะทำอย่างไรดีคะ? แล้วทูตสามารถมีครอบครัวได้มั้ยคะเห็นทำงานยุ่งทั้งวันเลย ช่วยตอบด้วยค่ะ

คุณแอนโทนี

ขออภัยจริงๆ ที่ไม่ได้เข้ามาดุ

ขณะนี้ผมประจำการอยุ่ที่อินเดียครับ จึงได้เกิดบล๊อค เรียน ดู รู้เล่นนี้ เพื่อการนี้ครับ

คุณธนยธรครับ

การเป็นทูตก็คือเป็นข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศครับ เป็นทูตได้ทุกคน ถ้ามีความสามารถเหมาะสม

ภาษาต่างประเทศนั้นต้องรุ้ภาษาอังกฤษให้ดีถึงดีมาก ภาษาต่างประเทศอื่นถ้ารู้ด้วยก็จะช่วยงานราชการได้มากขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ถึง 5 ภาษาขนาดนั้นครับ

เป็นนักการทูตถือว่าดีมากแล้วครับ ใช่ว่าจะต้องเป็นทูตเสมอไป ก็ช่วยงานประเทศชาติได้แล้ว คือการทำหน้าที่ข้าราชการให้ดีที่สุด

ครอบครัวนักการทุตมีความสำคัญไม่แพ้ตัวทุตครับเพราะสมาชิกครอบครัวก็จะมีส่วนในการช่วยงานการและเป็นผู้แทนประเทศเผยแพร่ความเป้นไทยในต่างแดนได้เหมือนกันครับ

ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำ

สวัสดีค่ะ ท่านพลเดช วรฉัตร

       ดิฉันมีความสนใจในด้านอาชีพนักการทูตมาเป็นเวลานาน และได้หาข้อมูลเกียวกับอาชีพนี้มาพอสมควรค่ะ ตอนนี้ดิฉันเรียนกำลังจะจบคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มีความรู้ภาษาฝรั่งเศส และกำลังศึกษาภาษาอื่นอยู่ค่ะ พร้อมทั้งลงเรียนปริญญาตรีรัฐศาสตร์อีกตัวเพื่อเข้าสอบกระทรวงการต่างประเทศ พอมาพบข้อมูลที่ท่านให้คำแนะนำ ทำให้รู้สึกว่าน่าสนใจยิ่งขึ้น ดิฉันจึงอยากทราบว่า ดิฉันจะสามารถติดตามข้อมูล ประกาศรับสมัครของกระทรวงการต่างประเทศจากเว็บไซใดและทางใดที่จะได้ข้อมูลที่แน่ชัดค่ะ และการสอบเป็นนักการทูตแต่ละครั้งมีการกำหนดอายุหรือเปล่าค่ะ

                                        ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

คุณรัชนิยา

ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซด์กระทรวงการต่างประเทศครับ www.mfa.go.th ซึ่งจะประกาศรับสมัครสอบในแต่ละครั้ง

ผมไม่แน่ใจเรื่องกำหนดอายุ แต่คิดว่าน่าจะกำหนด เพราะรับผู้ที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ก็น่าจะอายุระหว่าง 20-30 ปี

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณสมบัติครบ ก็น่าจะไปลองสมัครสอบดูครับ

จบศิลปศาสตร์และจะจบรัฐศาสตร์ถือว่า ตรงแล้วครับ

ก็อยุ่ที่ว่าจะสอบเข้าได้หรือไม่

ขอให้โชคดีครับ

เรียน พลเดช วรฉัตร

คืออยากทราบว่าการเป็นทูตนั้นกำจัดความสูงหรือเปล่าคะ? ถ้าจำกัดๆตั้งแต่กี่เซนขึ้นไป เเล้วถ้าเราไม่มีความสูงตามเกณฑ์ก็ไม่สามารถได้เป็นทูตใช่มั้ยคะ คือพอดีว่าตัวดิฉันเองก็ไม่ค่อยสูงสักเท่าไหร่

การเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศได้ ก็คือต้องสอบคัดเลือกให้ได้ครับ

ความรู้สำคัญกว่าหน้าตาหรือรูปร่างครับ

โชคดีครับ

สวัสดีครับ

อยากทราบว่า

ความประทับเมื่อเป็นทูติคืออะไรครับ...รับใช้ชาติ? (อย่างเดียว?)

มีคนเป็นทูติมากขึ้นๆ แล้วเขาอยู่กันยังไงครับ...คัดคนเก่ง?

ขอโทษหากไร้สาระนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ (- -)(_ _)(- -)

คุณ Pongsapat
การเป็นนักการทูตคือการเป็นข้าราชการรับใช้ประเทศชาติ

ความประทับใจจึงอยู่ที่การได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถและงานนั้นเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ดังที่เรียนไว้ก่อนหน้านี้ การจะเป็นนักการทูตต้องสอบคัดเลือกเข้ากระทรวงการต่างประเทศให้ได้ครับ

ประกันตัวนักโทษไทยในต่างประเทศทำไงค่ะ

น้าหนูโดนติดคุกในประเทศบังกลาเทศ

แต่ไม่รู้จะสืบยังไงว่าที่ไหน

หนูจะต้องติดต่อที่ไหนค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท