เรื่องเล่า.. จากการเดินทาง ๒


ทำเพื่อพออยู่พอกิน และรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ .... มิใช่ทำเพื่อล้างผลาญทรัพยากรแลกมาเป็นเงินให้มากที่สุด แล้วก็จากไปทำที่อื่น ๆ เรื่อย ๆ ไป

            คราวก่อนได้เล่าไว้ถึงที่บ้านร่าหมาด และทีมชุมพรที่เดินทางไปพักค้างที่เขตห้ามล่าทุ่งทะเล  ต.เกาะกลาง  อ.เกาะลันตา  จ.กระบี่  ทางเจ้าหน้าและ บังหยัด  เล้าให้พวกเราฟังว่า " เดิมเขตห้ามล่า หรือเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า และ พันธ์พืช ... เกือบจะเป็นของนายทุนและนักการเมืองที่ละโมบโลบมากกับทรัพยากรของชาติแล้ว  หากพี่น้องชาวบ้านร่าหมาด / บ้านขุนสมุทร และชาวกาะกลางไม่รวมตัวอย่างเอาจริงเอาจังในการคัดค้าน และต่อสู้เพื่อปกปักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติผืนนี้ไว้ให้เป็นแหล่งเพาะและขยายพันธ์ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก  รวมทั้งพันธ์ท้องถิ่น    .... การต่อสู้สักระยะหนึ่ง  จนกระทั่งเมื่อคราวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต ( พระราชินี )  เสด็จประภาสทางใต้   ตัวแทนชุมชนได้ถวายฏีกา  ....  จนพระองค์ท่าน  มีรับสั่งให้ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์  พร้อมกับการจัดตั้งหน่วบงานดูแลรักษาพื้นที่ประมาณเกือบ  7,000  ไร่  เป็นทั้งป่าพรุชายเลน  ป่าบกเนินทราย  และเนินเขาชาบฝั่ง     .... จึงทำให้นายทุนไม่กล้าเข้ามาบุกรุก  "  

           พี่น้องชาวร่าหมาดและคนในท้องถิ่นแถบนี้ได้พึ่งพาอาศัยผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งอาหาร และสร้างรายได้  ยกตัวอย่าง  เช่น  การเก็บเห็ดเหม็ด  ปี ๆ หนึ่งมีมูลค่าหลายแสนบาท    ( เห็ดเหม็ด เป็นเห็ดที่ขึ้นแถบต้นเสม็ด  เป็นที่นิยมของคนปักษ์ใต้  โดยการลวกแล้วจิ้มกับน้ำพริก  และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานทั้งตากแห้งหรือลวกน้ำเก็บไว้   / เห็ดที่ลวกแล้วราคาขายขีดละประมาณ  20 - 30  บาท )  ...... และยังมีพันธ์และพันธ์สัตว์อีกหลายชนิดที่มีคุณค่าเอนกอนันต์  ...... สังเกตเห็นบริเวณถนนเข้าไปเขตห้ามล่า ฯ  มีการปลูกต้นเตยไว้หลายไร่ ......แฟนบังหยัดว่า... แม่บ้านที่เขาทำเตยปาหนันเขาตคิดเห็นว่าหากเราสานเตยโดยการตัดอย่างเดียวสักวันหนึ่งคงจะหมด   ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านร่าหมาด  จึงกลับมาปลูกต้นเตยไว้    โดยจะรักษาไว้สำหรับตัดมาทำสื่อ  สาดในอนาคตสักสิบปี  ไม่ต้องเข้าไปตัดในป่าอนุรักษ์.................... ผมและคณะฟังแล้วอึ้ง ๆๆๆ .... ช่างเป็นผู้มีวิสัยทัศน์  เสียยิ่งกว่าผู้มีอำนาจบางคน    ....จึงเป็นข้อสรุปว่า  ชาวบ้านตาดำ ๆ  นั้นเขาไม่ใช่ผู้กอบโกยทรัพยากร  แต่เขาทำเพียงเพื่อพออยู่พอกินเท่านั้น  และยังรักษาไว้ใช้ในอนาคต  เพราะเขาคิดว่า     นั่นคือ    ทรัพยากรของพวกเขาทุกคน

           พวกเราออกเดินทางจากร่าหมาดเพื่อไปข้ามฟากไปเกาะลันตาน้อยที่  ท่าหัวหิน  โดยการใช้แพขนานยนต์ .... ประมาณ  20  นาที  ก็ไปที่ท่าหัวแหลม  แล้วลงจากแพขี่รถยนต์ไปบนถนนลาดยางในเกาะลันตาน้อย  มีบ้านเรือนของพี่น้องมุสลิมอยู่เป็นหย่อม ๆ   สลับกับป่าที่ร่มรื่นและเนินเขา  มองไกล ๆ จะเห็นผืนทะเลสีฟ้าใส  สลับกับหมู่เกาะน้อยใหญ่  พวกเราเพลิดเพลินกับการฟากฟ้าและผืนน้ำแห่งอันดามัน  สักพักหนึ่งก็ไปข้ามแพขนานยนต์อีกครั้งเพื่อไปที่ท่าศาลาดาน  เกาะลันตาใหญ่  อันเป็นตัวอำเภอลันตา 

           เมื่อขี่รถขึ้นฝั่งศาลาดาน  จะมีสามแยก  พวกเราเลี้ยวขวาเข้าไปยังตลาด ( หากเลี้ยวซ้ายจะเป็นฝั่งที่มีชุมชนอาศัย  ซึ่งเป็นด้านตะวันออกของเกาะ) ทางด้านซ้ายมือจะมีสำนักปฏิบัติธรรม    เลยไปนิดหนึ่งก็ถึงทางแยกตรงหน้าโรงเรียนศาลาดาน  เราเลี้ยวซ้ายอีกครั้ง  ซึ่งเป็นเส้นทางรอบเกาะด้านฝั่งตะวันตก  สองฟากฝั่งถนนเต็มไปด้วยรีสอร์ทและบังกะโล  ร้านอาหาร  ร้านค้า  บาร์เบียร์  ตลอดระยะทางสิบกว่ากิโลเมตรที่ทอดขนานไปกับชายหาด  สังเกต  เห็นพี่น้องชาวไทยทั้งมุสลิมและพุทธบ้างบางส่วน  อยู่แทรกเป็นจุด  ๆ  กับร้านรวงที่รับแขกชาวฝรั่ง  ( เหมือนสีขาวแทรกในสีดำ  หรือ สีดำแทรกในสีขาว )  ช่างเป็นความแตกต่าง ๆ  ที่อยู่ร่วมกัน.....................  อย่างไรไม่รู้

         สักพักหนึ่งก่อนข้ามภูเขาไปฝั่งตะวันออกของเกาะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวอำเภอ  และ ชุมชนเก่าแก่ พร้อมด้วยพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นที่หมายของพวกเรา  ...... ก็แวะเดินชมตลาดนัดเปิดท้ายขายของ  ซึ่งพ่อค้า  แม่ค้าส่วนใหญ่เป็นคนจากแผ่นดินใหญ่  นำพืชผัก  ผลไม้  อาหาร  เสื้อผ้า   ฯลฯ   จากแผ่นดินใหญ่ไปขาย  ( ราคานั้นไม่ต้องพูดถึง  บวกค่าข้ามน้ำข้ามทะเลไว้เรียบร้อยแล้ว  )  พี่น้องจากชุมพรก็ไช่ย่อยสำหรับการเป็นนักช๊อป   สักพักหนึ่งก็เดินหิ้วของมาเป็นทิวแถวขึ้นรถกะบะ...   " ใหน ๆ  มาถึงเกาะลันตาที่แล้วไม่ได้ซื้อ   ก็ไม่มาถึงเกาะ  "  ( เป็นอาการปกติสำหรับนักศึกษาดูงานบ้านเรา )  ..... และแล้วพวกเราก็ข้ามมาอีกฝั่งของเกาะ  ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ชายไทยจีนที่นับถือพุทธ ที่อยู่ร่วมกับไทยมุสลิมอย่าง  อยู่เย็นเป็นสุข อย่างไร ?

    แล้วค่อยมาเล่าตอนต่อไป.....

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 86877เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท