BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๑๐ : เตรียมตัวเองเพื่อครองเรือน (จบ)


ปรัชญามงคลสูตร

สุภาสิตา จ ยา วาจา และวาจาที่เป็นสุภาษิต

ข้อนี้เป็นมงคลสุดท้ายในคาถานี้ ซึ่งว่าด้วยการเตรียมตัวเองเพื่อครองเรือน...โดยผู้เขียนมีความเห็นว่า มงคลข้อนี้ก็คือหลักมนุษย์สัมพันธ์พื้นฐานนั้นเอง ซึ่งจะต้องนำไปเป็นหลักในการเข้าสู่สังคม หรือเป็นพื้นฐานของการติตต่อเพื่อผูกมิตรไมตรีต่อบุคลทั่วๆ ไป นั่นเอง...

คำว่า วาจา นี้ ตามคัมภีร์ท่านอธิบายว่า มี ๒ นัย คือ เป็นเจตนาหรือความจงใจ และเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากปาก.. ตัวอย่างของวาจาที่เป็นความจงใจหรือเจตนาก็เช่น

ปิสุณวาจา คือ คำพูดส่อเสียด เกิดขึ้นจากความจงใจของคน... เมื่ออธิบายทำนองนี้ ปิสุณวาจา จึงมิใช่เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก แต่เป็นความจงใจที่สร้างขึ้นมาด้วยเจตนา ...

วิรัติวาจา คือ ถ้อยคำที่งดเว้นจากวจีทุจริต เกิดขึ้นจากความจงใจของคน เมื่ออธิบายทำนองนี้ วิรัติวาจา จึงมิใช่เสียงออกจากปาก แต่เป็นความจงใจที่สร้างขึ้นมาด้วยเจตนา ...

ซึ่ง วาจา ที่หมายถึง ความจงใจที่เกิดจากเจตนาของผู้พูด ท่านไม่ได้หมายถึง วาจา ในมงคลข้อนี้... แต่ วาจา ในมงคลข้อนี้หมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาจากปากเท่านั้น...นั่นคือ ในมงคลข้อนี้ ประสงค์เอาเสียงที่เปล่งออกจากปากเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงความจงใจในการพูด ....

....

วาจาที่เป็นสุภาษิต มีองค์ประกอบหลายนัย ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าเพียงนัยที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเดียวเท่านั้น คือ

  • กล่าววาจาตามกาล
  • กล่าวแต่วาจาสัตย์
  • กล่าววาจาอ่อนหวาน
  • กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์
  • กล่าววาจาด้วยเมตตาจิต

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบ ๕ ประการเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า คือ หลักมนุษย์สัมพันธ์เบื้องต้น นั้นเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังคำว่า ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี...

....

ดังนั้น การเตรียมตัวเองเพื่อครองเรือน จึงต้องประกอบด้วย มงคล ๔ ประการ คือ พหุสัจจะ ศิลปะ วินัยที่ตัวเองศึกษาดีแล้ว และวาจาที่เป็นสุภาษิต...ซึ่งผู้เขียนจะประมวลอีกครั้งก่อนจบคาถานี้

พหุสัจจะ คือ ต้องเป็นผู้ศึกษามาก เรียนรู้มาก เพื่อเป็นต้นทุนในการนำไปใช้ หรือช่วยแก้ปัญหาในภายภาคหน้า...

ศิลปะ คือ ต้องมีความสามารถกระทำสิ่งนั้นๆ ให้สำเร็จได้จริงๆ นั่นคือ ต้องปฏิบัติได้ มิใช่ว่ารู้แต่เพียงทฤษฎี

วินัยที่ตัวเองศึกษาดีแล้ว คือ ต้องเรียนรู้ตัวเองแล้วสร้างระเบียบแบบแผนให้แก่ตัวเอง โดยที่ระเบียบแบบแผนนั้นต้องไม่กระทบกระทั้งต่อสังคม (ศีล ๕)

วาจาที่เป็นสุภาษิต คือ ต้องรู้จักพูดให้เหมาะสมตามกาลเวลา พูดคำจริงไม่โปปด มีถ้อยคำอ่อนหวานชวนฟัง ใครฟังแล้วรู้สึกมีสาระได้ประโยชน์ และผู้ฟังก็รับรู้ได้ว่าผู้พูดมีน้ำใจต่อผู้ฟังจริงๆ...ประมาณนี้

....เมื่อประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ก็จัดว่ามี มงคลชีวิต ในการเตรียมตัวเองเพื่อจะครองเรือนได้แล้ว ...

.. และเมื่อต้องประกอบอาชีพ มีครอบครัว สังคมก็กว้างยิ่งขึ้น ดังนั้น คาถาต่อไปในมงคลสูตรจึงได้ขยายความว่า จะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะต้องทำและควรทำอย่างไร ?

ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป  

คำสำคัญ (Tags): #มงคลสูตร
หมายเลขบันทึก: 86630เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบนมัสการ หลวงพี่ที่เคารพ

  • ธรรมะที่ได้ในวันนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการครองเรือน
  • ต่อไปคงเรียกว่า"ธรรมะblogger" แล้วละครับ
  • ขออนุโมทนากับธรรมะดีๆอย่างนี้ด้วยครับ
กราบนมัสการและสาธุแด่พระคุณเจ้าด้วยครับ ของดีๆ ในพุทธศาสนามีมากมาย สมควรที่เราชาวพุทธจะได้นำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นครับ
P

ก็ขยายความย่อๆ พอเข้าใจ....

แต่บางอย่าง ผู้อธิบายก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง...

ที่เห็นเด่นชัดก็คือ ข้อวาจาเป็นสุภาษิต อาตมาค่อนข้างจะบกพร่องข้อนี้ หรือไม่ค่อยมีมนุษย์สัมพันธ์...

วิถีชีวิตจึงไม่ก้าวหน้าในแวดวงคณะสงฆ์ (.........)

ก็ลองตรวจสอบย้อนไปยังข้อก่อนๆ อาตมาคงจะขาด บารมีธรรมด้านนี้ (...............)

ครูเสือเห็นด้วยมั้ย ?

การศึกษาธรรมะ ก็คือการตรวจสอบข้อบกพร่องของตนเองประการหนึ่ง

เจริญพร  

ไม่มีรูป
พลเดช

แม้จะเป็นของดี แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยกินใจคน...

เดียวนี้ เราไปหลงสิ่งอื่นๆ ซึ่งมีปัญหาอีกเยอะ...

ว่างๆ อาตมาค่อยบ่นให้อ่านเล่นๆ..

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท