คลินิกเบาหวาน รพ. 10 เตียง แห่งหนึ่ง เมื่อ 17 ปีก่อน


คิดอยู่ว่าจะเล่าเรื่อง  วิวัฒนาการ การบริการ สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด  เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ในบริบท ของโรงพยาบาลชุมชนที่ผมอยู่ แถวอีสาน อย่างไรดี   ก็คงเล่าไปเรื่อย ๆ ตามสไตล์ คิดว่าจะดีกว่า

ทุกวันนี้มีเรื่องราวในอดีต ที่ต้องมาทบทวนบ่อย ๆ  รู้สึกว่าเรื่องอดีตมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่าผ่านประสพการณ์มานานพอสมควร ( คล้าย ๆ กับแก่ลงทุกวันนั่นแหละครับ แต่ ฟังดูดีกว่า )   

ตอนผมอยู่ รพ.บุณฑริกเมื่อ ปี 2533 เป็น  โรงพยาบาลขนาด 10 เตียง อยู่ชายแดนลาวเลยครับ ช่วงนั้น ผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยัง  รักษารวม ๆ กับคนไข้ธรรมดา  เราไม่มีหลักการ แนวปฏิบัติอย่างไรเลย เจาะเลือดตรวจ FBS  จากเส้นเลือดใหญ่ ( ไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลเหมือนทุกวันนี้ )    ยาที่รักษา คือ chlopropamide , glibenclamide  แม้แต่ metformin ก็ไม่ได้ใช้ครับ  อย่าไปพูดถึง insulin เลย ครับ  ยาความดันมีแต่ Hctz  propanolol  methyldopa  เท่านั้น ACEI ยังใหม่มาก ๆ เลยครับ  หรือว่ายังไม่มีก็ไม่รู้   ไม่มีการตรวจ creatinine lipidprofile เพราะ lab เราตรวจได้เท่านั้น จริง ๆ  เป็น dibetic nephropathy เมื่อไหร่ก็ไม่รู้เลย กิน glibenclamide ไปเรื่อย ๆ

 ไม่มี   cvd screening    อย่าง การตรวจเท้า ตรวจไต ตรวจตา แต่ก็น่าสังเกตุว่าผมไม่เคยเห็นแผลที่เท้าที่รุนแรง   ของ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่บุณฑริกเลย  คงเป็นเพราะ เราไม่ได้สนใจหรือ focus มากกว่า  หรือไม่ก็คงมีน้อยจริง ๆด้วย    โรคเบาหวานจึงดูเป็นโรค ธรรมดา ๆ โรคหนึ่ง  เหมือนโรคกระเพาะ ไข้หวัด   มีแต่ต้องมา บ่อยกว่า โรคกระเพาะ ( เอแต่ก็ไม่แน่  โรคกระเพาะบางทีก็มาบ่อยกว่าเบาหวานนะครับ ) และต้องเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุกครั้ง  โรคมาเลเรีย พยาธิใบไม้ในตับ อุจจาระร่วง ดูจะเป็นปัญหาของที่นี่มากกว่าเสียด้วยซ้ำ  เพราะเท่าที่ผมจำได้ เราไม่เคยต้องรายงาน หรือถกปัญหา  โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในระดับอำเภอ ระดับจังหวัดเลย มีแต่ มาเลเรีย อุจจาระร่วง พยาธิใบไม้ในตับ

การบันทึกข้อมูลก็บันทึกใน OPD card   ไม่มี personal book ไม่มีการเก็บข้อมูลพิเศษ ใด ๆ เลยครับ 

ฟังดูแล้ว ทำไม่มันช่างล้าหลังสิ้นดี  นะครับ

  ขณะเดียวกัน  ปี 2534 เป็นปีแรกที่มี ผู้ป่วย Aids คนแรกที่ผมได้เจอ  ผมทำอะไรไม่ถูกเลย เพราะไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร เราความรู้เราช่าง น้อยจริง ๆ AIDS เป็นเรื่องใหม่มาก

เครื่อง computer เครื่องแรกที่ผมใช้เขียนโปรแกรม basic เป็น จอเขียว ๆ  ไม่มีความสามารถทาง graphic ใด ๆ  เลย internet เป็นเหมือนเพียงความฝัน ( นี่พูดจริง ๆ ไม่ได้พูดเล่นนะครับ ) 

นี่คือ สภาพ โรงพยาบาล 10 เตียง บริบทตอนนั้นเป็นอย่างนั้นจริง ๆ  ผมพยายามนึกว่า เอ เราทำไมไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา และก็บอกได้เต็มปากเลยว่า โรงพยาบาลชุมชนสมัยนั้น ( แถว ๆนี้ ) ก็แบบนี้ทั้งนั้นแหละครับ

ผมเลยต้องมาทบทวนว่าทำไม ตอนนี้เราต้องทำงานหนักกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ มากขึ้นทุกวัน  และมากขึ้นเรื่อย ๆ  ซับซ้อน ขึ้นเรื่อย ๆ  ต่างกับสมัยก่อนมาก ๆๆๆ


 

1. คงเป็นเพราะ สภาพสังคม เทคโนโลยี่  ที่เปลี่ยนไป  ครับ ตอนนี้เราคงเดือดร้อน ถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือ  แต่ตอนนั้น ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็ไม่เห็นเป็นไร ไม่รู้จักเลย   โลกเปลี่ยนไปเร็วจริง ๆ ( จนเหมียวน้องเภสัชห้องยา บอกว่า มีแต่เด็กแรกเกิดเท่านั้นแหละค่ะ  ที่ไม่มีมือถือ ดูพูดเข้า )

2. และก็คงเหมือน AIDS นั่นและครับ มันยืนยันนะครับว่า สมัยก่อนและสังคมชนบท เราไม่คุ้นเคยกับโรค เหล่านี้จริง ๆ เราป่วย ตายจากโรคติดเชื้อ มากกว่า   ผมอยู่บุณฑริก มีเด็กมาด้วยอาการมีน้ำมูก ไม่มีไข้ ดูดี ๆ นีแหละครับ  เจาะเจอ ,มาเลเรีย PF เฉยเลยเสียดายไม่สามารถเก็บข้อมูลใด ๆ ไว้ได้เลย  

วันนี้ สังคม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ที่บุณฑริก และของเราเองเปลี่ยนไปมากครับ  น่าจะจริงโรคเหล่านี้ก็คืบคลานมาพร้อมกับความเจริญทางวัตถุ     การรักษา เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด   โรคเอดส์  ก็ไปไกลมาก ๆ  ค่าใช้จ่ายก็ไปไกลมาก ๆ เหมือนกัน การฟ้องร้อง ก็เกิดขึ้นมาก  การเอื้ออาทรกันน้อยลงด้วยครับ

3. วันนี้ เราสามารถจัดระบบบริการ มีเครือข่ายใน pcu ที่เข้มแข็งขึ้น เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลบุณฑริกสมัยที่ผมอยู่แล้ว  pcu ปัจจุบันยังดีกว่าโรงพยาบาลสมัยก่อนมากครับ   ( ในอนาคต pcu ทั่วประเทศก็คงก้าวหน้าไปมากครับ เมื่อเทียบกับบุณฑริกเมื่อ 17 ปีก่อน )

เราสามารถ ทำเกือบทุกอย่างที่เราอยากทำได้ ,มียาใช้ที่เหมาะสม มี lab ที่จะสามารถสนับสนุนการดูแลได้   มีมาตรฐานอ้างอิงที่ดี   เทคโนโลยี่ และมาตรฐาน   ไม่ใช่ข้อจำกัดของเราอีกต่อไป    เรา สามารถ screen  cvd  เท้า ไต( microalbuminuria ) แม้กระทั่ง diabetic retinopathy ที่ผมจนปัญญามานาน วันนี้ เราสามารถตวจ screenได้ ทั้งจังหวัดอุบล เลยด้วยซ้ำ ( เรามี digital fundoscopy ใช้เอง ตรวจทั้งจังหวัด ในรูปเครือข่าย ตอนนี้ screen ได้สัก 30 % เห็นจะได้ บางที่เราตรวจ ที่ pcu ด้วย เหลือแต่ปัญหาเรื่องการรักษา ก็คงค่อย ๆ ทำกันไป )

( คำว่าเรา น่าจะเป็นทั่วประเทศนะครับ ไม่ใช่เฉพาะที่วาริน ฯ หรืออุบลฯ   ผมว่าสักวันก็จะเหมือน computer โทรศัพท์มือถือ  นั่นแหละครับ มีใช้กันทุกบ้าน ทุกโรงพยาบาล จนเป็นเรื่องธรรมดา ) 

สิ่งที่ต้อง ขบคิด เพียงแต่  เราอาจต้องพัฒนา  ระบบบริการให้ดี  และเหมาะสม  ตามบริบท  จริง ๆ  ทั้งของคนไข้ และครอบครัว ระบบบริการที่สามารถงอกเงยต่อได้  รวมทั้งมีการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มากกว่า 

 อาจารย์ วัลลา ตันตโยทัย เล่าไว้ ถูกใจผมมาก ใน นวตกรรการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ว่า 
" ควรคิดนวัตกรรมการ   จัดบริการเพื่อการดูแลที่ดีกว่าและ  สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากกว่า เพราะผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาที่ใช้ต่อผู้ป่วยแต่ละรายจะยิ่งน้อยลง
 และควรนึกถึงการเอื้ออำนาจให้ผู้ป่วยสามารถทำได้ “มากกว่าการดูแลตนเอง” ให้ผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวมีปากมีเสียงไม่ใช่เพียงเพื่อสุขภาพของตนเอง แต่ เพื่อสุขภาพของชุมชนของเขาด้วย"

ที่น่าสนใจ คือ 
เราเดินทางจากจุดที่ผมเล่า เมื่อ 17 ปีก่อน มาถึงวันนี้ ได้อย่างไร   มีอะไรเปลี่ยนแปลง สำเร็จ ล้มเหลว  เกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างทาง  มันเปลี่ยนไปขนาดนี้ได้อย่างไร  
 เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเก็บรวบรวมไว้มาก
    

บังเอิญโชคดีมาก ๆ ครับที่   ผม คือหนึ่งในไม่กี่คน ที่ได้อยู่ร่วมเดิน

ทาง ในช่วงรอยต่อวิวัฒนาการ  ได้รู้ได้เห็น เรื่องราวมาตลอด จนถึงนาทีนี้ ก็ยังทำงาน เรื่องนี้ ดูแลระบบบริการด้านนี้  

พออ่านเรื่อง การจัดการความรู้ ของอาจารย์ประพนธ์  ผมเลยอยากพยายาม แคะ คุ้ย tacid knowledge  เรื่องนี้ ออกมา  น่าจะมีประโยชน์อะไรขึ้นมาบ้าง ก็เลยถือโอกาส คอย ๆ บันทึกใน blog นี้ ครับ

4. การเรียนรู้ที่สำคัญ ของผม  สำหรับเรื่องนี้ คือ  Succes not destination but journey .  ครับ วันนี้ไม่ว่าเราจะพัฒนาระบบบริการได้ดีแค่ไหน  เราก็ยังมีระยะเดินทางอีกไกล ไกลไปเรื่อย ๆ  มีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก ต้องเรียนรู้อีกมาก  อีก 17 ปีข้างหน้า  เราไม่ได้รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตแบบทุกวันนี้ แน่ ๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 86447เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท