ไม้กฤษณา พิษณุโลก
สมพงษ์ เนียมเปีย น้ำมัน กลั่นจากไม้กฤษณา ไม้กฤษณา สารใส่ต้นไม้กฤษณา

การเล่นมังคละ


มังคละ
  มังคละ หมายถึง มงคล หรืองานที่เจริญก้าวหน้า มังคละจึงเป็นดนตรีที่เป็นมงคล ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ว่า "ท้าวหัวราน คำบง คำกลอง ด้วยเสียงพาทย์เสียงพิณ เลื่อนขับ" คำว่า คำบง คำกลอง เป็นคำโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแปลว่า การประโคม ดังนั้นคำว่า คำบง คำกลอง จึงหมายถึงการตีกลองหรือประโคมกลองที่ขึงด้วยหนัง กลองมังคละเป็นดนตรีในลังกา ที่ใช้แสดงในพิธีมงคลทุกอย่าง เชื่อว่ากลองมังคละนี้เข้ามาพร้อมๆ กับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในสมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระยาลิไท ดังนั้นมังคละจึงมิใช่เป็นของใหม่ที่ชาวบ้านคิดขึ้นเอง แต่เป็นดนตรีหลักที่กลับกลายมาเป็นดนตรีพื้นบ้านของสุโขทัย เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมังคละนั้นมี กลองมังคละ ชาวบ้านเรียกว่า "โจ๊กโกร๊ด" ลักษณะเหมือนกลองยาวแต่มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 6 นิ้ว ไม่เกิน 7 นิ้ว สูงประมาณ 1 ฟุตเศษ หน้ากลองขึงด้วยหนังลักษณะเหมือนกลองยาวเด็ก แต่การเจาะขุดในตัวกลองนั้นทำเล็กกว่ากลองยาว เสียงจะดังแหลม และเป็นตัวสำคัญในการเล่นมังคละ นอกจากกลองมังคละแล้วก็มีกลองสองหน้าอยู่ 2 ใบ ใบที่หนึ่งเป็นกลองที่ใช้ตียืน อีกตัวหนึ่งเป็นกลองที่ตีหลอน ชาวบ้านเรียกว่าจังหวะขัด นอกจากนี้ก็มีโหม่ง 3 ใบ ฉาบเล็ก หรือฉาบกรอ และฉาบใหญ่ เป็นเครื่องให้จังหวะในการเล่นมังคละ มังคละพื้นบ้านนั้นใช้ผู้บรรเลง 7 คน ส่วนผู้แสดงทั้งชายและหญิงไม่ต่ำกว่า 5 คนรวมแล้วประมาณ 20 คน การแต่งกายฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม คาดเอวด้วยผ้าสีสันสดใส บางรายก็ประแป้ง แต่งหน้า ส่วนฝ่ายหญิงนั้นนิยมนุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าแถบ แต่งหน้าแต่งผมให้สวยงาม เวลาที่ใช้ในการแสดงประมาณ 1 ชั่วโมง เพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายเพลง มีท่ารำที่สวยงามและแปลกประหลาด เช่น ท่ากวางเหลียวหลัง ท่าแม่หม้ายทิ้งแป้ง ท่าลิงอุ้มแตง ฯลฯ คนดูเห็นแล้วก็ชอบใจ เพราะเป็นท่าที่พ่อครู แม่ครูได้ประดิษฐ์ท่ารำมาจนชำนิชำนาญสืบทอดมาถึงลูกหลาน ปัจจุบันได้มีหน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญของการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดสุโขทัย โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆได้มาถ่ายทำวิดีทัศน์ นำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทั่วประเทศ
คำสำคัญ (Tags): #ประวัติมังคละ
หมายเลขบันทึก: 86311เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หนุกดีเปนของไทยอย่างแท้จริง

เราต้องการประวัติเฟ๋ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท