ภูมิปัญญาไทย


ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย เครื่องประดับ
ทับทิมสยาม ( KING RUBY                
วัสดุ อัญมณี "พลอยแดง" จากอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดวิธีการทำ ก่อนทำพลอยจะต้องมีการสำรวจแหล่งพลอยก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากก็จทำเป็นอุตสาหกรรม คือ ทำด้วยเครื่องจักร หรือทำเหมืองแร่ ถ้ามีน้อยก็จะทำแบบชาวบ้าน คือ ทำด้วยมือ ปัจจุบัน การทำพลอยมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบทำด้วยมือ และแบบทำด้วยเครื่องจักร หรือเครื่องทำเหมืองแร่ การทำพลอยด้วยมือ ใช้อุปกรณ์ ดังนี้ คือ 1. ตะแกรง สำหรับร่อนพลอย 2. กระป๋องน้ำ หรือถังสำหรับใส่แร่ 3. ชะแลง สำหรับขุดดิน 4. อีเตอร์ สำหรับขุดดินที่มีความแข็งมาก   ขั้นตอนการทำพลอยด้วยมือ ขั้นตอนที่ 1 ขุดหาแร่โดยทำเป็นหลุมขนาดเล็ก เมื่อพบแร่จะขุดใส่กระป๋อง เพื่อนำมาร่อนที่แหล่งน้ำ ขั้นตอนที่ 2 นำแร่ที่ขุดได้มาทำการร่อน เรียกว่า การร่อนแร่ ขั้นตอนที่ 3 ล้างแร่ให้สะอาดด้วยการนำตะแกรงผ่านน้ำ เรียกว่า "การติ๊ดแร่" ขั้นตอนที่ 4 การหาพลอยในตะแกรง ต้องค่อย ๆ กวาดด้วยมือครั้งละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า "การเขี่ยพลอย" ขั้นตอนที่ 5 นำพลอยที่ได้มา ซึ่งเรียกว่า "พลอยดิบ" มาคัดเลือกเกรดดีและชั้นเลว เรียกว่า "การคัด พลอย" ขั้นตอนที่ 6 เป็นขั้นสุดท้าย คือ การนำพลอยที่หามาได้ไปจำหน่ายยังตลาดพลอย ขั้นตอนการทำพลอยด้วยเครื่องจักร 1. ขั้นแรกเป็นการหาแหล่งแร่ โดยสำรวจสถานที่ และหาแหล่งน้ำที่มีอยู่ในบริเวณ แหล่งแร่มากที่สุด ใช้รถแม็คโคร ขุดหน้าดินออกเพื่อที่จะเอาส่วนที่มีแร่ ขุดดินให้เป็นบ่อ เตรียมฉีดหาแร่ 2. ติดตั้งเครื่องดูดแร่ จะมีการขุดบ่อที่จะทำแร่ และบ่อน้ำที่จะใช้ฉีดแร่ โดยจะตั้งเครื่องดูดแร่ไว้รวม 3 ขา มีรอกขนาดใหญ่เอาไว้สำหรับชักขึ้นลง และต่อท่อ ดูดแร่ขึ้นไปบริเวณราง 3. ทำการฉีดแร่ในบ่อที่ขุดไว้ และดูดน้ำจากบ่อน้ำมาฉีดในบ่อนั้น 4. หลังจากฉีดแร่แล้วก็กวนให้ดินและแร่แยกออกจากกัน 5. ใช้เครื่องดูดแร่ให้ไหลมาตามท่อ โดยใช้หัวดูด 6. บริเวณรางแย็คจะมีตะแกรงที่มีรูขนาดเท่ากัน สำหรับรับพลอยและแร่บางส่วนพลอยซึ่งมีความหนาแน่น และมีน้ำหนักมากกว่า หินก็จะตกอยู่ข้างใต้ 7. ขั้นตอนสุดท้าย เรียกว่า "ซาวแร่" เป็นการเตรียมหาพลอยที่สวยงามออกจากกากพลอย เพื่อเตรียมจำหน่ายในรูปของวัตถุดิบ พลอยที่ได้เรียกว่า "พลอยดิบ" หรือ "พลอยก้อน"การประยุกต์ใช้ มีผู้นิยมนำไปออกแบบเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน กำไล ต่างหู จี้ เข็มกลัด ฯลฯ ดังมีตัวอย่างให้พบเห็นกันโดยทั่วไป ตามกำลังซื้อ ของผู้บริโภคที่จะจัดหามาเป็นเครื่องประดับ หรือของขวัญของกำนัลแด่ญาติมิตรที่เคารพ คือ ทับทิมสยาม หรือพลอยแดง มีลักษระของพลอยที่มีสีเข้ม เป็นประกายสดใสสีชมพู เป็นรัตนชาติสูงค่าระดับเดียวกับเพชร ชนิดที่มีน้ำงามและขนาดใหญ่ อาจมีราคาสูงกว่า เพชร เพราะหายากมีกำเหนิดมาจากแร่เหล็ก ต่างประเทศรู้จักดีในนาม ..ทับทิมสยาม ขุดพบที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เอกสารอ้างอิง "การทำเหมืองแร่ โดยนายสมยศ ฤทัยมณีเกษม โรงเรียนปะอา และนางสาววนาลักษณ์ พุ่มน้ำเงิน โรงเรียนบ้านจัดสรร   
คำสำคัญ (Tags): #ภูมิปัญญาไทย
หมายเลขบันทึก: 86097เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2007 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท