การประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข


การประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด

ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดและโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ณ   ห้องบงกชรัตน์โรงแรมทวินโลตัส ก่อนหน้านี้วันที่ 20 มีนาคม 2550 เวลา 13.30 น.ได้ไปช่วยจัดนิทรรศการด้านหน้าทางประตูทางเข้าก็ช่วยกันทั้งอำเภอปากพนัง จนกระทั้ง 19. 00น.เสร็จเรียบร้อย  เช้ามาท่านนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานเปิดงานการประชุมสัมมนา เดินทางมาถึงเวลา 10.30 น.ท่านได้ให้แนวคิดไว้ว่า     การสร้างความเข้มแข็งรัฐมีความมุ่งมั่น   ให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  และสร้างความสมดุลย์  โดยดูแลผู้ที่ไม่พร้อม หรือดูแลตัวเองไม่ได้  การเจริญทางเศรษฐกิจก็ต้องดูแลไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม  คณะกรรมการระดับชาติ เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการอยู่ดีมีสุข การเข้าใจ  เข้าถึง  ในการพัฒนามุ่งเน้นพัฒนาคน  ชุมชน  ฟื้นฟูธรรมชาติ  ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเชื่อมโยงให้สำเร็จรวดเร็ว

       ท่านโฆสิต  ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  พูดว่าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความยั่งยืน แต่ละภาคส่วนล้วนมีความสำคัญ

1. การพัฒนาที่ยั่งยืน  หลักคือการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีแกนความคิดที่ตรงกันว่า 

การพึ่งตนเอง   เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา

การสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นการสร้างตนเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ชาวบ้านเป็นหลัก

2.การบริหารจัดการ  หลักที่สำคัญคือความคิดที่มาจากชาวบ้านเป็นรากฐานสำคัญ  กระบวนการเชื่อมโยงการทำงานให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน   หลักคือผู้ว่าทั้งหลาย ให้ความคิดเชื่อมโยงให้การสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ  ตำบล

3. โครงการ เดิมชุมชนเรียก  SML จะได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมขึ้น  คนที่พร้อมแล้ว   ส่วนที่ยังไม่พร้อมหรือชุมชนที่เหลือจะเข้ามาอยู่ในยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เน้น  5  เรื๋องดังนี้

   3.1 อาชีพ เน้นที่เกษตรหรือนอกเกษตร  ทำได้ดีขึ้นเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  หรือการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน

  3.2 ผลิตภัณฑ์ชุมชน  เป็นการอำนวยรายได้ให้ประชาชน

  3.3 สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหญ่ในการดูแลชุมชน  เป็น ดิน  น้ำ  ต้นไม้  เป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของแผ่นดิน

  3.4 การให้ตรง เน้นการพอเพียง เป็นเรื่องที่มีการกลั่นกรอง

  3.5 รัฐ  เน้นการบริหารจัดการโดยตรงจากอำเภอ

      ท่านอารีย์  วงค์อารยะ   บทบาทของผู้ว่า  นายอำเภอ  ผู้บริหารท้องถิ่นมีโครงการดังนี้

1. การขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

2.การดำเนินตามนโยบายขจัดความยากจน

3.สวัสดิการชุมชนของกระทรวงพัฒนาเกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาส  คนชรา

4.พัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

5.โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข  อันนี้ต้องดูบทบาทของผู้นำให้ชุมชนเป็นผู้ทำโดย

   5.1 ดูความต้องการของประชาชน

  5.2 การมีส่วนร่วมของประชาชน

  5.3 การสร้างขีดความสามารถให้เกิดขึ้น

การรวมกลุมคนที่มีอาชีพเดียวกัน  ลักษณะเดียวกัน  อบต.ไม่ควรดูพื้นฐานอย่างเดียว   ให้ดูผูนำตามธรรมชาติ   กลุ่มสตรี  เยาวชน  นำโครงการไปปลุกให้เข้าใจ ให้เชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นมีประโยชน์     โดยการเขียนระเบียบ   ทำคู่มือ  งบประมาณต้องรวดเร็ว  โปร่งใส  ห้ามตุกติก  หากมีไว้ 1 บาทก็ไม่ได้

หมายเลขบันทึก: 85632เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท